อบายมุข ๖
อริยสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดีบุตร
๑. การเสพน้ำเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
๒. การเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
๓. การเที่ยวดูมหรสพ เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
๔. การเล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
๕. การคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
๖. ความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเสพน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ
๑. ความเสื่อมทรัพย์ อันผู้เสพจึงเห็นเอง ๑
๒. ก่อการทะเลาะวิวาท ๑
๓. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑
๔. เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ๑
๕. เป็นเหตุไม่รู้จักอาย ๑
๖. เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเสพน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ๖ ประการ คือ
๑. เชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว ๑
๒. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา ๑
๓. เชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ ๑
๔. เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑
๕. คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้น ๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น ๑
๖. ทําให้เกิดความลำาบากมาก ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืนเหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการ คือ
๑. รำที่ไหนไปที่นั้น ๑
๒. ขับร้องที่ไหนไปที่นั้น ๑
๓. ประโคมที่ไหนไปที่นั้น ๑
๔. เสภาที่ไหนไปที่นั้น ๑
๕. เพลงที่ไหนไปที่นั้น ๑
๖. เถิดเทิงทีไหนไปที่นั้น ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพเหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ
๑. ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑
๒. ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑
๓. ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑
๔. ถ้อยคำของคนเล่นการพนัน ซึ่งไปพูดที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑
๕. ถูกมิตรอำมาตย์หมิ่นประมาท ๑
๖. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายนักเลงเล่นการพนันไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยา ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖ ประการ คือ
๑. นําให้เป็นนักเลงการพนัน ๑
๒. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ ๑
๓. นำาให้เป็นนักเลงเหล้า ๑
๔. นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ๑
๕. นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า ๑
๖. นำาให้เป็นคนหัวไม้ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการคบคนชั่วเป็นมิตรเหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเกียจคร้าน 5 ประการ คือ
๑. มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑
๒. มักให้อ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑
๓. มักให้อ้างว่าเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑
๔. มักให้อ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน ๑
๕. มักให้อ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑
๖. มักให้อ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑
เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผลัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเกียจคร้านเหล่านี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนกล่าวแต่ปากว่าเพื่อน ๆ ก็มี ส่วนผู้ใดเป็นสหายเมื่อความ ต้องการเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อนแท้
เหตุ ๖ ประการเหล่านี้คือ การนอนสาย ๑ การเสพภรรยาผู้อื่น ๑ การผูกเวร ๑ ความเป็นผู้ทำแต่สิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ มิตรชั่ว ๑ ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ๑ ย่อมกำจัด บุรุษเสียจากประโยชน์สุขที่จะพึงได้พึงถึง
คนมีมิตรชั่ว มีมารยาทและโคจรชั่ว ย่อมเสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ จากโลกนี้และจากโลกหน้า
เหตุ ๖ ประการ คือ การพนันและหญิง ๑ สุรา ๑ ฟ้อนรำขับร้อง ๑ นอนหลับในกลางวันบ้าเรอตนในสมัยมิใช่กาล ๑ มิตรชั่ว ๑ ความตระหนี่เหนียวแน่น ๑ เหล่านี้ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึงชนเหล่าใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพหญิง ภรรยาที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น คบแต่คนต่ำช้าและไม่คบหาคนที่มีความเจริญ ย่อมเสื่อมดุจดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดดื่มสุรา ไม่มีทรัพย์หาการงานทำเลี้ยงชีวิตมิได้ เป็นคนขี้เมา ปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์ เขาจักจมลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำ ฉะนั้น จักทำความอากูลแก่ตนทันที
คนที่ปรกตินอนหลับในกลางวัน เกลียดชังการลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาเป็นนิจ ไม่อาจครอบครองเรือนให้ดีได้ ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยชายหนุ่มที่ละทิ้งการงานด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เวลานี้เย็นเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาว ความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า ทำกิจของบุรุษอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข ดังนี้
กถาว่าด้วยมิตรเทียม
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ คนปอกลอก ๑ คนดีแต่พูด ๑ คนหัวประจบ ๑ คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร (เป็นแต่คนเทียมมิตร)
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ
๑. เป็นคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑
๒. เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๑
๓.ไม่รับทํากิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑
๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร แต่เป็นคนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ
๑. เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑
๒. อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึงมาปราศรัย ๑
๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑
๔. เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง (ออกปากจึงมิได้) ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ
๑. ตามใจเพื่อน ให้ทำความชั่ว (จะทำชั่วก็คล้อยตาม) 9
๒. ตามใจเพื่อนให้ทำความดี (จะทำดี ก็คล้อยตาม) ๑
๓. ต่อหน้าก็สรรเสริญ ๑
๔. ลับหลังนินทา ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ
๑. ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
๒. ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ๑
๓. ชักชวนให้ดูการมหรสพ ๑
๔. ชักชวนให้เล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บัณฑิตผู้รู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรปอกลอก ๑ มิตรดีแต่พูดมิตรหัวประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑ ว่าไม่ใช่มิตรแท้พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทาง เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ฉะนั้น
กถาว่าด้วยมิตรแท้
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี (เป็นมิตรแท้)
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
๑. รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑
๒. รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑
๓. เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑
๔. เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า (เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก) ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
๑. บอกความลับ (ของตน) แก่เพื่อน ๑
๒. ปิดความลับของเพื่อน ๑
๓. ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑
๔. แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
๑. ห้ามจากความชั่ว ๑
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
๓. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑
๔. บอกทางสวรรค์ให้ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
๑. ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑
๒. ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ๑
๓. ห้ามคนทีกล่าวโทษเพื่อน ๑
๔. สรรเสริญคนที่ สรรเสริญเพื่อน ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุดตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวก เหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว จึงเข้าไปคบหาโดยเคารพเหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติอยู่ เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึงความเพิ่มพูนดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว จึงแบ่งโภคสมบัติออกเป็น 4 ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ จึงใช้สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง จึงประกอบการงานด้วยสองส่วน จึงเก็บส่วนที่สีไว้ด้วยหมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้
กถาว่าด้วยทิศ ๖
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖ อย่างไร ท่านพึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้ คือ พึงทราบ มารดาบิดาว่าเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้อง หลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑
๒. จักรับทำกิจของท่าน ๑
๓. จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑
๔. จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ห้ามจากความชั่ว ๑
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑
๔. หาภรรยาที่สมควรให้ ๑
๕. มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหน้านั้น ชื่อว่าอันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑
๒. ด้วยเข้าไปยืนคอยต้อนรับ ๑
๓. ด้วยการเชื่อฟัง
๔. ด้วยการปรนนิบัติ ๑
๕. ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ
๑. แนะนํา ๑
๒. ให้เรียนดี ๑
๓. บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑
๔. ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๑
๕. ทําความป้องกันในทิศทั้งหลาย ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องขวานั้น ชื่อว่าอันศิษย์ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑
๒. ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑
๓. ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๑
๔. ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑
๕. ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ
๑. จัดการงานดี ๑
๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี ๑
๓. ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑
๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาให้ ๑
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น ชื่อว่าอันสามีปกปิดให้เกษมสําราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรจึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ด้วยการให้ปัน ๑
๒. ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑
๓. ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑
๔. ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑
๕. ด้วยไม่แกล้งกล่าว ให้คลาดจากความเป็นจริง ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ
๑. รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
๒. รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
๓. เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพานักได้ ๑
๔. ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูลของมิตร ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้น ชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายพึงบำรุงด้วยสถาน๕ คือ
๑. ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑
๒. ด้วยให้อาหารและรางวัล ๑
๓. ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ ๑
๔. ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน ๑
๕. ด้วยปล่อยให้ในสมัย ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย ๑
๒. เลิกการงานทีหลังนาย ๑
๓. ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑
๔. ทำการงานให้ดีขึ้น ๑
๕. นำคุณของนายไปสรรเสริญ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องต่ำนั้น ชื่อว่าอันนายปกปิดให้เกษมสำราญ ไม่ให้มีภัยด้วยประการฉะนี้
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรจึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
๒. ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
๓. ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
๔. ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑
๕. ด้วยให้อามิสทานเนือง ๆ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๖ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ คือ
๑. ห้ามจากความชั่ว ๑
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยใจงาม ๑
๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑
๖. บอกทางสวรรค์ให้ ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงแล้วด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ ทิศเบื้องบนนั้น ชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสําราญให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลังมิตรอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบนคฤหัสถ์ในตระกูล ผู้สามารถพึงนอบน้อมทิศเหล่านี้ บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ มีความประพฤติเจียมตน ไม่ดื้อกระด้าง ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนหมั่นไม่เกียจคร้าน ย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย คนมีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา ผู้เช่นนั้น ย่อมได้ยศ คนผู้สงเคราะห์ แสวงหามิตรที่ดี รู้เท่าถ้อยคำที่เขากล่าว ปราศจากตระหนี่ เป็นผู้แนะนำ ชี้แจง ตามแนะนำ ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ
การให้ ๑ เจรจาไพเราะ ๑ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ ๑ ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายในคนนั้น ๆ ตามควร ๑ ธรรมเครื่องยืดเหยี่ยวน้ำใจในโลกเหล่านี้แล เป็นเหมือนเพลารถอันแล่นไปอยู่ หากธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาบิดาไม่จึงได้ความนับถือหรือความบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้โดยชอบ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้น จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็นผู้อันหมู่ชนสรรเสริญทั่วหน้าดังนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สิงคาลกคฤหบดีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล