คำอาราธนาศีล 8 ,คำสมาทานศีล 8 , อุโบสถศีล

วันที่ 02 พย. พ.ศ.2556

           

 

คำกล่าวนำก่อนอาราธนาศีล

คำกล่าวนำก่อนอาราธนาศีล

         บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง บุคคลใด ชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้ว จะเป็นเหตุให้เว้นจากความทุจริต จิตจะร่าเริงแจ่มใส และเป็นท่าหยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพาน
           ดังนั้นขอเรียนเชิญทุกท่าน พึงตั้งใจ กล่าวคำอาราธนาศีล โดยพร้อมเพรียงกันนะครับ


คำอาราธนาศีล 8

มะยัง ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ ฯ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ ฯ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ ฯ

 

คำอาราธนาอุโบสถศีล

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนา คะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ
   ทุติยัมปิ ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนา คะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ
     ตะติยัมปิ ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนา คะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ

 

คำให้ศีล

เมื่อคฤหัสถ์อาราธนาศีลแล้ว พระพึงให้ศีล ดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ  (3 ครั้ง)


บทไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ

พระว่า  "ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง"

โยมรับ  "อามะ ภันเตฯ"

(ส่วนมากตรงนี้ งานบุญทั่วไปไม่ต้องใช้ แต่ถ้าเป็นการสมาทานตนเป็นพุทธมามกะ หรืออุโบสถศีลต้องใช้)

 

   1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

   2. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

   3. อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

   4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

   5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

   6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

   7. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนามาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี   สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

   8. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


(พระสวดรับรองว่า)    อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ  สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ

(รับพร้อมกันว่า)        " สาธุ " 
 

ถ้าให้อุโบสถศีล พึงว่าตามพระผู้ให้ศีลทีละท่อนดังต่อไปนี้
         อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ ฯ

หยุด ส่วนพระว่าต่อ
         อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะสีละวะเสนะ สาธุกัง กัตวา อัปมาเทนะ รักขิตัพพานิ ฯ

ผู้รับศีลพังตอบรับว่า "อามะ ภันเต ฯ"

พระผู้ให้ศีล พึงสรุปศีลต่อไปว่า
         สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุตัง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ


117770658.jpg

คำแปล ความหมายของคำอาราธนาศีล 8 

        ศีล 8 มีความหมาย  คือ สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล 5 แต่เปลี่ยนข้อ 3 และเติมข้อ 6 - 7 - 8 คือ

      1.  เว้นจากทำลายชีวิต

      2.  เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้

      3.  เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี

      4.  เว้นจากพูดเท็จ

      5.  เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

      6.  เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป

      7.  เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง

      8.  เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย


คำอาราธนาศีล 8

มะยัง ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
   ( ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3 )

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
   ( ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3 )

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ 
   ( ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3 )

 

บทไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ   (ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ   (ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ   (ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ   (แม้วาระที่สอง ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ   (แม้วาระที่สอง ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ   (แม้วาระที่สอง ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ   (แม้วาระที่สาม ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก) 

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ   (แม้วาระที่สาม ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ   (แม้วาระที่สาม ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

 

คำสมาทานศีล 8 หมายถึง คำรับศีลจากพระภิกษุ

1.  ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ฆ่า

2.  อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ลัก

3.  อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์

4.  มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ

5.  สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

6.  วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วจนอรุณขึ้นมาใหม่

 7.  นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนามาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่าง ๆ อันเป็นข้าศึกแก่กุศล ตลอดจนการลูบไล้ทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา

8.  อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการนอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี


( พระสวดรับรองว่า )      

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
   (ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ 8 ประการ)

สีเลนะสุขคติงยันติ        
   (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข)

สีเลนะโภคะสัมปะทา     
   (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์)

สีเลนะนิพพุติงยันติ        
   (และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลศ เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง)

ตัสมา ศีลัง วิโสทะเย   
   (เพราะฉะนั้น จงทำจิตใจให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ)


( รับพร้อมกันว่า )       " สาธุ "      (แปลว่าดีแล้ว ชอบแล้ว)

      

117770658.jpg

 

เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีล

     เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีลนั้น ก็เพื่อทำให้จิตใจสงบ ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามารมณ์แต่ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถือ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ผู้ที่ยังไม่ปรารถนาออกบวชโดยปกติวันพระ พุทธศาสนิกชน ที่สะดวกก็จะพากันแต่งชุดขาวไปสมาทานอุโบสถศีล และฟังธรรมที่วัด แล้วพักอาศัยอยู่ที่วัดจนกว่าจะครบกำหนด ถ้าไม่ได้ไปวัด ก็จะตั้งใจสมาทานศีล ด้วยตนเอง จะเปล่งวาจาสมาทานหรือเพียงแต่ตั้งเจตนาไว้ก็ได้ทั้งนั้น

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส อุปมาถึงอานิสงส์ ของการรักษาอุโบสถศีลไว้ว่า ถ้าจะนำมาเปรียบกับสมบัติของพระราชา ที่แม้จะครองความเป็นใหญ่ถึง 16 แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวของผลบุญอันเกิดจากการ รักษาอุโบสถเลย เพราะสมบัติมนุษย์เป็นสมบัติ หยาบเหมือนสมบัติของคนกำพร้า มีความสุขได้ไม่กี่ร้อยปีก็ต้องพลัดพรากซึ่งเทียบไม่ได้กับการได้เสวยทิพยสมบัติอันยาวนานในสวรรค์ที่เกิดจากอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ


อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล

      จะเห็นได้ว่า เพียงการรักษาอุโบสถครึ่งวันและทำด้วยความเต็มใจ ยังได้อานิสงส์ขนาดนี้ แล้วถ้าหากใครได้รักษาอยู่เนืองนิตย์อานิสงส์นั้นพรรณนา อย่างไรก็ไม่หมด เป็นบุญใหญ่ที่จะนำพาให้ได้สวรรค์สมบัติ เวียนวนอยู่แต่ในสุคติภูมิเท่านั้น เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ในที่สุดจะได้นิพพานสมบัติ เข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจะได้รับอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาด อย่างน้อยๆ ก็สามารถแบ่งออกเป็น 5 ข้อ คือ

1. ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ

2. เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปไกล

3. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน

4. ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ คือ ไม่หลงเผลอสติในเวลาตาย

5. ผู้มีศีล ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพ


       นอกจากนี้ ศีล ยังเป็นบาทเบื้องต้นแห่งสมาธิ ทำให้ใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ดังนั้นคนที่ตั้งใจรักษาศีลได้บริสุทธิ์ก็จะมีผลต่อการนั่งสมาธิไปด้วย ดังนั้น พุทธศาสนิกชนที่ดีก็ควรที่จะตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ทั้งยังต้องเป็นกัลยาณมิตรชักชวนคนรอบข้างมาสั่งสมบุญใหญ่ ที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้แข็งแรงยิ่งขึ้นไป

     บุคคลแม้จะงดงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่า ก็ยังไม่งามเท่าผู้มีศีลเป็นอาภรณ์ ผู้มีศีลย่อมติเตียนตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงศีลที่บริสุทธิ์ ย่อมเกิดปีติทุกเมื่อ  ศีลจึงเป็นรากฐานแห่งความดีทุกอย่างและกำจัดความชั่วทั้งปวง

                                

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001104215780894 Mins