พระสูตร อะนัตตะลักขะณะสูตร

วันที่ 02 มีค. พ.ศ.2557

บทสวดมนต์
พระสูตร อะนัตตะลักขะณะสูตร

 

บทขัดอะนัตตะลักขะณะสูตร

    ยันตัง สัตเตหิ ทุกเขนะ
เญยฺยัง อะนัตตะลักฺขะณัง
อัตตะวาทาตฺตะสัญฺญานัง   
สัมมะ เทวะ วิโมจะนัง
สัมพุทโธ ตัง ปะกาเสสิ  
ทิฏฐะสัจจานะ โยคินัง
อุตตะรึง ปะฏิเวธายะ 
ภาเวตุง ญาณะมุตตะมัง
ยันเตสัง ทิฏฺฐะธัมมานัง 
ญาเณนุปะปะริกขะตัง
สัพพาสะเวหิ จิตฺตานิ  
วิมุจจึงสุ อะเสสะโต
ตะถา ญาณานุสาเรนะ
สาสะนัง กาตุมิจฉะตัง
สาธูนัง อัตถะสิทธัตถัง
ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส ฯ

 

อะนัตตะลักขะณะสุตตัง

      เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯตัตระโข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

      รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ฯ รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา ตัสมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะตินะ จะ ลัพภะติ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุเอวัง เม รูปัง มาอะโหสีติ ฯ

      เวทะนา อะนัตตา ฯ เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ เวทะนายะเอวัง เม เวทะนา โหตุเอวัง เม เวทะนา มาอะโหสีติ ฯ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา ตัสมา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุเอวัง เม เวทะนา มาอะโหสีติฯ

      สัญญาอะนัตตาฯ สัญญาจะ หิทัง ภิกขะเวอัตตาอะภะวิสสะ นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุเอวัง เม สัญญา มาอะโหสีติฯยัสมา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา ตัสมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มาอะโหสีติ ฯ

      สังขารา อะนัตตา ฯ สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติฯ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันตินะ จะ ลัพภะติ สังขาเร สุเอวัง เม สังขารา โหนตุเอวัง เม สังขารา มาอะเหสุนติ ฯ

     วิญญาณัง อะนัตตา ฯ วิญญาณัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติฯ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา ตัสมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุเอวัง เม วิญญาณัง มาอะโหสีติ

      ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

      ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

      ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

      ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

      ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

      ตัสมาติหะ ภิกขะเวยังกิญจิรูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตังวา พะหิทธาวาโอฬาริกังวา สุขุมังวาหีนังวา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพังฯ

      ยา กาจิเวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วาปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติฯเอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพังฯ

      ยา กาจิสัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ

      เย เกจิสังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา เย ทูเร สันติเก วา สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโสอัตตาติฯเอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ

      ยังกิญจิวิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วาปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติฯเอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง

      เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตวา อะริยะสาวะโก รูปัสมิงปิ นิพพินทะติเวทะนายะปินิพพินทะติสัญญายะปินิพพินทะติ สังขาเรสุปินิพพินทะติวิญญาณัสมิงปินิพพินทะติฯ นิพพินทังวิรัชชะติฯ วิราคา วิมุจจะติฯ วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติญาณัง โหติ ขีณา ชาติวุสิตัง พรัหมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติปะชานาตีติฯ

      อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตังอะภินันทุง ฯ

      อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ

 

*************************************************************

บทสวดอนัตตลักขณสูตรแปล

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

             [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

         เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

        สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

        สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.

       วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดวิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดวิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์      

       [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น

ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.


ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

       [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

       เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอกหยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

       สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

       สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอกหยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

      วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอกหยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

       [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้นเมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

     [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.อนัตตลักขณสูตร


             ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ
*********************************************************

 

บทสวดมนต์ พระสูตร อะนัตตะลักขะณะสูตร , บทสวดอนัตตลักขณสูตร

อะนัตตะลักขะณะสูตร : Anattalakkhaṇa Sutta

      คือ พระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่ง เนื่องจากหลังจากที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ได้บังเกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา 5 องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น 6 องค์ ซึ่งพระสูตรนี้ มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป คือ ร่างกาย เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ สังขาร คือ ความคิดหรือเจตนา วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น หรือเรียกอีกประการหนึ่งว่า อายตนะทั้ง 6 อันได้แก่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ 

ประวัติของบทสวดอะนัตตะลักขะณะสูตร

     อนัตตลักขณสูตร เป็นพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี หรือในเขตเมืองสารนาถ ประเทศอินเดียในปัจจุบันเมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา

     ธัมเมกขสถูป บริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองสารนาถ คือสังเวชนียสถานแห่งการประกาศธรรมยุคแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงสถานที่พระประกาศอนัตตลักขณสูตร พระสูตรนี้ โดยทรงแสดงต่อปัญจวัคคีย์ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 หลังจากที่ พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จนพระอัญญาโกณฑัญญะบรรลุโสดาบัน และในวันต่อ ๆ มา คือในวันแรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ 3 ค่ำ และ 4 ค่ำเดือน 8 ทรงแสดง “ปกิณณกเทศนา” ยังผลให้พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ บรรลุโสดาบันตามลำดับ และได้รับเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
     ในระหว่างที่ทรงแสดงปกิณณกเทศนา เพื่ออบรมพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิอยู่นั้น พระอริยเจ้าทั้งหลายมิได้บิณฑบาตยังชีพ ต่างเร่งกระทำความเพียร เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มิได้ทรงบิณฑบาตรเช่นกัน เพื่อทรงสั่งสอนอบรมพระอริยเจ้าจนกระทั่งแต่ละองค์สำเร็จมรรคผลขั้นต้นในที่สุด 
     ครั้นเมื่อถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 หลังจากสดับพระธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตรพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป นับเป็นพระอรหันต์กลุ่มแรกในพระบวรพุทธศาสนา ดังปรากฏในเนื้อความของพระสูตรดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ หรือพระอาจารย์ผู้ทำสังคายนาร้อยกรองตั้งเป็นพระบาลีไว้ ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายพระสูตรไว้ ดังนี้ 

 

       " อิทมโวจ ภควา. อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ. อิมสฺมึ จ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ปญฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ. เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ."

ความว่า

      " พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 องค์ " 

 


- อ้างอิงจากหนังสือ มนต์วิธานและศาสนพิธี  (เหมาะสําหรับภิกษุผู้นวกะพระเถระและพุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป)
- อ้างอิงคำแปลจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
- อ้างอิงประวัติอะนัตตะลักขะณะสูตร จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.045932682355245 Mins