ทำไมบางคนจึงไม่ทำทาน

วันที่ 16 มิย. พ.ศ.2557

 

ทำไมบางคนจึงไม่ทำทาน

 


             เหตุปัจจัยพื้นฐานรากเหง้าที่ทำให้คนเรานิ่งดูดายไม่คิดช่วยใคร หรือเห็นแก่ตัว ก็คือการที่
 ต่างคนต่างมีความคิดว่า ความมั่งคั่งร่ำรวย การมีทรัพย์สินสิ่งของมากๆ เท่านั้นจึงจะทำให้ชีวิตมีความสุขการแบ่งปันทรัพย์สินสิ่งของที่ตนมีไปให้แก่ผู้อื่น ย่อมเสียผลประโยชน์ตนเอง ย่อมยากที่จะประสบความ มั่งคั่งร่ำรวย คนเราจึงไม่คิดแบ่งปันอะไรให้ใคร แต่จะตั้งหน้าตั้งตากอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันมีอยู่อย่างจำกัด มาเป็นของตนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่รู้ว่าต้องมีเท่าไรจึงจะรู้จักพอผู้คนที่เห็นแก่ตัวมุ่งหน้ากอบโกย ไม่เห็นแก่ผู้ใด นานไปก็ จะเกิดความคุ้นเคยจนเป็นนิสัย ครั้นมาประกอบกับสันดานเดิม อันเนื่องมาจากกิเล 3 ตระกูล ที่นอนเนื่องอยู่ในใจมาแต่กำเนิด ก็จะทำให้คนเราเกิดความโลภยิ่งขึ้น เข้าทำนองยิ่งมียิ่งอยากได้อีกมากๆ ผู้คนที่มีนิสัยและสันดานเช่นนี้ ย่อมไม่สนใจเรื่องความเป็นธรรมในสังคม ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อย่าว่าแต่ความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมเลยแม้แต่ความรับผิดชอบ ต่อศักดิ์และศรีของตนก็ไม่มี

 

           ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังจะค้นพบทฤษฎีชีวิตใหม่ แต่ผิดอีกว่า ความมั่งคั่งร่ำรวยจะเป็นบันไดไต่
 ขึ้นไปสู่อำนาจ และอิทธิพล ถ้ายิ่งมีอำนาจและอิทธิพลมากเท่าใด ความมั่งคั่งร่ำรวยก็จะหลั่งไหลมาสู่ตนมากขึ้นเท่านั้น นี่คือที่มาของบรรดาผู้มีอิทธิพล และเจ้าพ่อมาเฟียทั้งหลายในสังคมทุกระดับ บรรดาผู้มีอิทธิพลและเจ้าพ่อทั้งหลายย่อมไม่คำนึงถึงศีลธรรม กฎหมาย และความถูกต้อง พวกเขาจึงมีความคิดทุจริต มีวาจาทุจริต มีการกระทำ ทุจริต มีอาชีพทุจริต ถ้าสังคมมีผู้คนทุจริต อย่าว่าเป็นจำนวนมากเลย แม้มีเพียงคนเดียว ถ้าเขามีอำนาจและอิทธิพลมาก เขาก็สามารถสร้างความปันป่วน และความเดือดร้อนให้

  

           "ทานไม่มีผล" ใครก็ตามที่มีความเห็นเช่นนี้ ความเห็นผิดของเขาชื่อว่า "มิจฉาทิฏฐิ"
บรรดามิจฉาทิฏฐิชน ย่อมไม่ทำทานแม้กับพระภิกษุสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เพราะมีความเห็นว่าพระภิกษุเป็นผู้เอาเปรียบเบียดเบียนสังคม ตั้งตนเป็นผู้รับฝ่ายเดียว มิได้เป็นผู้ให้ ความเห็นมิจฉาทิฏฐิของเขา ทำให้จิตใจของเขามืดมัวจนตรองไม่ออกว่า พระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย คือครูผู้สอนวิชาควา
     แก่ผู้คน ทั้งสังคมได้ นี่คือโทษภัยร้ายแรงของการที่คนเรามองไม่เห็นคุณค่าของการทำทาน หรือการแบ่งปันกันความเห็นที่ว่า การทำทานไม่เกิดประโยชน์อะไร หรือไม่มีผลดีแก่ตัวผู้ให้ ในทางธรรมมีสำนวนว่าสมเป็นมนุษย์ให้แก่ศาสนิก การให้ธรรมะของพระภิกษุนั้น มีคุณค่ายิ่งใหญ่กว่าจตุปัจจัยไทยธรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ศาสนิกแต่ละคนถวายให้ท่านอย่างเทียบกันไม่ได้เลย แต่การที่มิจฉาทิฏฐิชนไม่ได้รับรสพระธรรมจากสงฆ์โดยตรงเอง ก็เพราะตนไม่รู้จักแสวงหาใช่หรือไม่ กรณีเช่นนี้จะโยนความผิดไปให้สงฆ์ย่อมไม่ถูกต้อง

 


           ในทางกลับกัน ใครก็ตามที่เห็นว่า "ทานมีผล" คือมีผลดีจริง มีประโยชน์จริงทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ
 ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน ในลักษณะแบ่งปัน คือ ปันกันกิน ปันกันใช้ ปันกันอยู่ (ไม่พยายาม หาทางครอบ ครองที่ดินไว้เป็นสมบัติของตนอย่างมากมายแต่ผู้เดียว โดยไม่คำนึงถึงผู้ขัดสนยากไร้ ที่ไม่มีที่ดินทำมาหากินหรืออยู่อาศัย) หรือการทำทานในพระพุทธศา นาก็ตาม แล้วตั้งใจทำทานเป็นนิสัย ตลอดจนชักชวนชี้แนะผู้อื่น ให้เห็นคุณค่าของการทำทาน ความเห็นถูกเช่นนี้ชื่อว่า "สัมมาทิฏฐิ"

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.00097861687342326 Mins