สาระสำคัญเกี่ยวกับการสงเคราะห์หรือยัญที่บูชาแล้ว
ก็คือ ความเห็นที่ว่า "การสงเคราะห์มี ผลดี" (ยัญที่บูชาแล้วมีผล) เป็นเรื่องสภาพของใจคนที่กอปรด้วย "กรุณาจิต" คือเมื่อเห็นใครตกทุกข์ได้ยากแล้วทนนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ มีใจปรารถนาอยากจะช่วยเขาให้พ้นทุกข์ ถ้าอยู่ในสภาวะที่ตนทำได้ จะต้องขวนขวายยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือด้วยน้ำใจที่เอื้ออาทรเป็นอย่างยิ่ง และด้วยตระหนักในวิบากของกรรมดี เป็น ภาพใจที่พัฒนาความรับผิดชอบต่อผู้อื่นขึ้นมาอีกระดับหนึ่งของมนุษยชาติ บุคคลที่มี ภาพจิตใจกอปรด้วย
"กรุณาจิต" เช่นนี้ ชื่อว่ามีความเห็นถูก เป็น "สัมมาทิฏฐิ"
ในทางกลับกัน บุคคลที่มีจิตใจมืดมนด้วยอำนาจกิเลสจิตใจยังไม่พัฒนาเพราะขาดธรรมะ ห่างไกลบัณฑิต มีจิตใจเป็นพาล คบหาสมาคมอยู่กับคนพาล ภาพจิตใจขาดกรุณาธรรม จึงเห็นว่า "การ สงเคราะห์ไม่มีผลดีอะไร" จึงไม่คิด งเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ในบางครั้งยังฉวยโอกาสเบียดบังทรัพย์สินสิ่งของที่มีผู้บริจาคให้ผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยากมาเป็นของตนด้วยซ้ำ บุคคลที่จิตใจขาดกรุณาธรรม และความรับผิดชอบต่อผู้อื่นเช่นนี้ ชื่อว่ามีความเห็นผิดเป็น "มิจฉาทิฏฐิ"
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก