ภาวนามยปัญญา
3) ภาวนามยปัญญา หมายถึง ปัญญาอันเกิดจากการฝึกอบรมตนด้วยการฝึกทำใจให้หยุดนิ่ง
ไม่คิดฟุ้งซ่าน ซัดส่ายไปในเรื่องต่างๆ อย่างไร้ประโยชน์ การฝึกอบรมใจโดยวิธีนี้มักนิยมเรียกกันว่า การเจริญภาวนา หรือ การทำสมาธิ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญญารอบรู้อย่างกว้างขวาง และมีคุณค่าต่อชีวิตมากยิ่งกว่าปัญญา 2 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว
การเจริญภาวนามีคุณค่าต่อชีวิตคนเราอย่างไร
คุณค่าของการเจริญภาวนา อาจกล่าวโดยเรียงลำดับจากน้อยไปหามากได้ดังนี้ คือ
3.1) ทำให้ใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน จึงทำให้ใจมีสมาธิเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องเป็น
ประโยชน์ต่อการทำกิจการงานทุกประเภท
3.2) ทำให้มีความสุข ณ ที่ตั้งถาวรของใจ ซึ่งอยู่ตรงสุดลมหายใจเข้าและเรียกว่า
"ศูนย์กลางกาย" เมื่อใจหยุดนิ่งไม่คิดฟุ้งซ่านอยู่ตรงศูนย์กลางกายนั้น ใจก็จะมีลักษณะประภัสร คือใสสว่างอันเป็นธรรมชาติของใจที่บริสุทธิ์ เมื่อใจ สงบ บริสุทธิ์ คนเราก็มีความสุข มองโลกอย่างมีความหวัง เปียมด้วยความรู้สึกปรารถนาดีต่อผู้คนโดยทั่วไป และมีกำลังใจที่จะสร้างคุณความดีให้ยิ่งๆ ขึ้น
3.3) ชำแรกกิเลสได้ ถ้าสามารถประคองใจให้ สงบนิ่ง ณ ศูนย์กลางกาย อย่างต่อเนื่องยาวนาน ใจก็จะ สว่างโพลงขึ้น ใจยิ่งหยุด สนิทอย่างต่อเนื่องได้นานเท่าใด ความสว่างโพลงก็จะทวีมากขึ้นเท่านั้น ความ สว่างโพลงนี้เองจะสามารถชำแรกและครอบงำกิเลสในกมลสันดานมิให้ออกฤทธิ์ หรือแม้กระทั่งทำให้หมดฤทธิ์หมดอำนาจได้ ทำนองเดียวกับเมื่อเราอยู่ในห้องมืด สนิท มองไม่เห็นสิ่งใดๆ ที่อยู่ในห้องนั้นเลย ครั้นเมื่อโคมไฟในห้อง สว่างขึ้น ความมืดย่อมอันตรธานหายไปทันที เราจึงสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในห้องนั้นได้ชัดเจน เมื่อมีสิ่งที่ไม่ดีอยู่ในห้อง เราก็สามารถจัดการแก้ปัญหาให้เรียบร้อยได้ด้วยดีข้อนี้ฉันใดความสว่างที่ศูนย์กลางกายก็ฉันนั้น คือจะเอื้ออำนวยให้เรารู้เห็นสัจธรรมต่างๆ ในชีวิตมีอริยสัจ 4 เป็นสำคัญ ทำให้เกิดปัญญารู้ และเข้าใจถูกเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิต ด้วยใจของตนเอง รู้ชัดถึงเหตุแห่งสุขและทุกข์ จึงเกิดความเข้าใจถูก จึงคิดจะทำแต่กรรมดี ละกรรมชั่วทุกอย่างแล้วตั้งใจเจริญภาวนาเพื่อให้ใจสว่างโพลงยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา เพื่อไม่ให้กิเลสได้โอกาสออกฤทธิ์เลย นี้คือความหมายของ "ปัญญาสัมปทา" ซึ่งมุ่งชำแรกกิเล เพื่อให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบอย่างไรก็ตาม การเจริญภาวนาเพื่อบรรลุผลในลำดับที่ 3 (3.3) อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฆราวา ซึ่งยังต้องมีภาระหนักอยู่กับการทำมาหากิน และการดูแลรับผิดชอบครอบครัว แต่ประสบการณ์ในการเจริญภาวนา แม้เพียงในลำดับที่ 2 (3.2) เมื่อผู้ปฏิบัติมีใจประภัสร ใสสว่าง ก็จะเกิดปัญญาสามารถตรอง เห็นถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของการมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา มองเห็นคุณค่าของการสร้างกรรมดีอันประกอบด้วย การทำทาน การรักษาศีล และการทำภาวนา เมื่อปฏิบัติกิจกรรม เหล่านี้จนเป็นนิสัย แม้ยังไม่สามารถบรรลุประสบการณ์ในลำดับที่ 3 ได้ ก็เกิดปัญญาฝึกอบรมตนให้สร้างแต่กรรมดีได้อย่างมั่นคงมีใจผ่องใสอยู่เป็นนิจ ซึ่งจะเป็นหลักประกันมั่นคงว่า จะได้ไปสู่สุคติในปรโลกอย่างแน่นอน
ทั้งหมดนี้ คือหลักการโดยย่อของการเตรียมความพร้อม อย่างถูกต้องเพื่อไปสู่โลกหน้า ที่มี
ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศา นา หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า "การเตรียมตัวตายให้ถูก" ก็ได้ เป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะต้องเตรียมให้พร้อมไว้ เพราะแท้ที่จริงนั้นอายุขัยของคนเราจะยืนยาวอยู่เพียงแค่ช่วงลมหายใจเข้า ออก เท่านั้น ถ้าหายใจเข้าแล้วไม่ออก หรือหายใจออกแล้วไม่เข้า ก็ตายทันที ถ้าไม่เตรียมให้พร้อมไว้โอกาสที่จะไปสู่ทุคติย่อมมีมากในคัมภีร์พระพุทธศา นากล่าวว่า มีผู้คนจำนวนมากที่มีปัญญามืดบอดด้วยอำนาจกิเลสในกมลสันดาน เห็นว่า "โลกหน้า ไม่มี" คือตายแล้วสูญ ชีวิตของคนเราสุดสิ้นที่เชิงตะกอน หรือ หลุมฝังศพเท่านั้น ความเห็นผิดเช่นนี้ จัดเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" ในทางกลับกัน กลุ่มบัณฑิตมีใจผ่องใสเห็นด้วยปัญญาของตนว่า "โลกหน้ามี" คือมีโลกหน้าจริง ตายแล้วไม่สูญ และมีความไม่แน่นอน คืออาจไปสู่ทุคติหรือสุคติก็ได้ ความเห็นถูกเช่นนี้จัดเป็น "สัมมาทิฏฐิ"
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก