เรื่องที่ 2 วิบากกรรมของการตัดสินโดยอยุติธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภผลแห่งการ
รักษาอุโบสถเพียงครึ่งวันของปุโรหิตคนหนึ่ง จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาแสดง 1 ว่าในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองพระนครพาราณสีโดยธรรม ทรงบำเพ็ญทานและศีลอย่างเคร่งครัด ทรงรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระ พร้อมทั้งทรงชักชวนชาวเมือง และข้าราชบริพารให้รักษาอุโบสถศีลด้วย แต่ปุโรหิตของพระองค์เป็นผู้ชอบกินสินบน รีดไถประชาชน วินิจฉัยคดีอย่างไม่เป็นธรรม และไม่ยอม มาทานอุโบสถศีลในวันอุโบสถวันหนึ่ง พระราชาตรัสั่งให้อำมาตย์ข้าราชบริพารมาเฝ้า แล้วตรัสถามถึงการมาทานอุโบสถศีล ทุกคนก็ทูลตอบว่า สมาทานอุโบสถศีลกันถ้วนหน้า แม้แต่ปุโรหิตผู้นั้นซึ่งไม่เคย สมาทานเลยก็ทูลคำเท็จว่า สมาทานแล้วพะย่ะค่ะ แล้วหลบหน้าลจากปราสาทไป
ภายหลังต่อมา ได้มีอำมาตย์ผู้หนึ่งเข้าไปทักท้วงปุโรหิตว่า เหตุใดเขาจึงทูลคำเท็จ พราหมณ์ปุโรหิตนั้นจึงแก้ตัวว่า เมื่อเขากลับบ้านในตอนเย็นวันนั้นเขาก็จะไม่บริโภคอาหารเย็น คือจะรักษาอุโบสถศีลในเวลากลางคืน การปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเขารักษาอุโบสถศีลได้ครึ่งวัน เมื่อปุโรหิตกลับถึงบ้านแล้วเขาก็ปฏิบัติดังเช่นที่กล่าวไว้ นี่คือความดีประการแรกของปุโรหิต ผู้มีนิสัยชอบทุจริตอยู่มาวันหนึ่ง มี สตรีผู้หนึ่งมายื่นฟ้องคดีกับปุโรหิต เมื่อยังไม่ได้โอกาสที่จะกลับบ้าน เธอก็ไม่ละเลยที่จะ สมาทานอุโบสถศีล เมื่อใกล้เวลา นางจึงเริ่มบ้วนปาก เพื่อจะสมาทานอุโบสถศีล ขณะนั้นบังเอิญมีผู้นำมะม่วงสุกมาให้พราหมณ์ผู้ชอบกินสินบนพวงหนึ่ง พราหมณ์ปุโรหิตรู้ว่า หญิงนั้นเตรียมจะมาทานอุโบสถ เขาจึงส่งมะม่วงให้หญิงนั้น พร้อมกับพูดว่า เจ้าจงรับประทานมะม่วงนี้ก่อน แล้วค่อยมาทานอุโบสถ หญิงนั้นจึงรับมะม่วงจากปุโรหิตมารับประทาน นี้คือความดีประการที่ องของพราหมณ์ปุโรหิต
ครั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว พราหมณ์ปุโรหิตนั้นได้ไปเกิดในวิมานทองอันงามเรืองรอง เป็นเทพบุตรงามสง่าแวดล้อมด้วยเทพกัญญาหมื่นหกพันเป็นบริวารเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม 2 ประการ ที่ทำไว้ แต่เพราะวิบากกรรมที่สั่งสมไว้ ในเวลารุ่งอรุณ เทพบุตรนั้นก็จะกลาย ภาพเป็นเปรตเข้าไปสู่ สวนอัมพวัน มีรูปร่างสูงผอมขนาดต้นตาล มีไฟติดทั่วร่าง เสมือนดอกทองกวาวที่บานสะพรั่งเต็มต้นนิ้วมือทั้งสิบนิ้วมีเล็บโตเท่าจอบขนาดใหญ่ เขาเอาเล็บกรีดจิกควักเนื้อที่แผ่นหลังของตนออกมากินเสวยทุกขเวทนาร้องโอดครวญอยู่ ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ตก สร่างของเปรตก็หายไป บังเกิดเป็นร่างเทพบุตรงามสง่าขึ้นมาแทน
พระบรมศาสดาตรัสรุปผลแห่งกรรมของเวมานิกเปรตนั้นว่า การที่เวมานิกเปรตนั้นได้เสวยยศ
อันเป็นทิพย์ แวดล้อมด้วยหญิงฟ้อนหมื่นหกพันเป็นบริวารบำรุงบำเรอ เป็นผลจากการรักษาอุโบสถศีลครึ่งวันการได้ สวนอัมพวัน อันมีปริมณฑล 3 โยชน์ เป็นผลจากการให้มะม่วงแก่ ตรีผู้ สมาทานอุโบ สถ แต่เพราะเหตุแห่งการกินสินบน ตัดสินคดีอย่างไม่เป็นธรรม จึงต้องจิกควักเนื้อบนแผ่นหลังของตนกินจากเรื่องทั้ง 2 ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นเรื่องของผู้มีหน้าที่รักษาความยุติธรรม แต่การทำหน้าที่ของบุคคลทั้ง สอง ก็เหมือนกันตรงที่ไร้ความเป็นธรรม เนื่องจากกินสินบน แต่ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมอื่นๆ อาจแตกต่างกันออกไปบ้าง เมื่อละโลกไปแล้ว จึงประสบวิบากกรรมต่างกัน
อย่างไรก็ตามการทำกรรมไม่ว่าดีหรือชั่ว แม้เพียงเล็กน้อย ก็ให้ผลวิบากมากมายเกินคิดเกินคาด
ดังเช่นพราหมณ์ปุโรหิต มาทานอุโบสถเพียงครึ่งวัน ก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตร เสวยยศอันเป็นทิพย์ พร้อมบริบูรณ์ด้วยหญิงฟ้อนบำรุงบำเรออย่างมีความสุข สนุก สนาน แต่การที่บุคคลทั้ง 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยอคติซึ่งในความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่สัมมาทิฏฐิยังไม่เข้าไปอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง อาจจะมองว่าเป็นบาปเล็กๆ น้อยๆแต่เมื่อวิบากของบาปนั้นปรากฏขึ้นแล้ว ก็หนักหนาสาหัส ถึงขั้นเป็นเปรตและตกนรกทีเดียว ด้วยเหตุนี้โบราณาจารย์จึงเตือน ติเสมอว่า "ความชั่วแม้เพียงน้อยนิด อย่าได้คิดทำเป็นอันขาดส่วนความดีแม้เพียงนิดน้อย ก็อย่าคอยใคร จงรีบทำไปเถิด"
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก