เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

วันที่ 09 กค. พ.ศ.2557

 

  เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

 

              อธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง พระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ ล้วนเป็นนามธรรมบางเรื่องอาจเข้าใจยากสำหรับบางคน ดังนั้น การอธิบายซ้ำ หรือการให้ความรู้เพิ่มเติม ในเรื่องเดียวกันจึงควรทำ โดยไม่ต้องเกรงว่าผู้ฟังจะเบื่ออย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันมิให้ผู้ฟังเบื่อ ผู้แสดงธรรมก็จำต้องมีความสามารถในการยกอุปมาอุปไมยโวหารได้อย่างกว้างขวาง และคล่องแคล่ว ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจสาระ แห่งธรรมแจ่มแจ้งแล้ว ยังจะเกิดความซาบซึ้งในร แห่งโวหารของพระธรรมกถึกอีก จึงเกิดกำลังใจใคร่ติดตามศึกษา และฟังธรรมโดยมองเห็นคุณค่าอันประเสริฐของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้ฟังบางคนที่มีความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิก็จะเปลี่ยนแปรเป็นสัมมาทิฏฐิได้ดังกรณีพระยาปายาสิ 1 นอกจากนี้ การใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการแสดงธรรมที่หลากหลาย ก็จะชวนให้ผู้ฟังติดตามฟังโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย แม้จะเคยฟังเรื่องโดยสังเขปไปแล้ว ครั้นได้ฟังและได้ดูเรื่องโดยละเอียดพิสดาร ก็จะยังมีความกระตือรือร้นติดตาม ยิ่งได้ฟังหลายครั้ง ก็ยิ่งจะมีความเข้าใจสาระแห่งธรรมลึกซึ้งยิ่งขึ้นซึ่งในที่สุดก็จะพัฒนาขึ้นมาเป็นลักษณะนิสัยรักการทำความดีเกลียดการทำกรรมชั่วโดยปริยาย

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031963801383972 Mins