♥ ความสำนึกรับผิดชอบ ♥

วันที่ 16 กค. พ.ศ.2557

 

 

ความสำนึกรับผิดชอบ

 

        มีความสำนึกรับผิดชอบ บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมจะพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบด้านต่างๆ ขึ้นมาอย่างกว้างขวาง แต่ความสำนึกรับผิดชอบที่เป็นคุณสมบัติสำคัญยิ่งของคนดีที่โลกต้องการนั้นมีอยู่ 4 ประการ คือ


          1) ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง ด้วยการละกรรมกิเลส 4 ประการ คือการรักษาศีล 4 ข้อแรก ในศีล 5 ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์นั่นเอง


          2) ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นซึ่งอยู่ร่วมสังคมด้วยการละอคติ 4 ประการ


             3) ความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยการไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข6 ประการ

 
            4) ความสำนึกรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


           4.1)สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคล ได้แก่ทิศ 6 ของตนเอง ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อทิศ 6


           4.2)สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งสิ่งแวดล้อมในเมือง และสิ่งแวดล้อมที่เป็นทรัพยากรตามธรรมชาติตามหุบเขาลำเนาไพร ด้วยการไม่ทำลายและพยายามช่วยกันอนุรักษ์ไว้


          จากความสำนึกรับผิดชอบทั้ง 4 ประการนี้ นักศึกษาคงจะเห็นได้ว่าคนดีมีสัมมาทิฏฐินั้น มี
ความตั้งใจที่จะทำตนให้บริสุทธิ์สะอาดด้วยศีล ตั้งตนอย่างเที่ยงธรรมปราศจากอคติ หลีกเลี่ยงจากเรื่องเลวร้ายต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ พยายามตั้งตนเป็นคนดีในสถานะต่างๆ เช่นเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่หรือเป็นพ่อแม่ที่ดีของลูก เป็นศิษย์ที่ดีของครู หรือเป็นครูที่ดีของศิษย์ เป็นคู่สามีหรือภรรยาที่ดี เป็นลูกน้องหรือหัวหน้าที่ดี เป็นเพื่อนที่ดี พร้อมกันนั้นก็ไม่คิดที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม ตรงข้ามยังพยายามที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อรักษาบรรยากาศบนพื้นผิวโลก ให้น่าอยู่น่าอาศัย ไม่ก่อให้เกิดพิษภัยแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง


           จากความตั้งใจ และพยายามตั้งตนให้อยู่ในความดีดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมแสดงว่า คนดีมีสัมมา
ทิฏฐิ มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใคร หรือกล่าวสั้นๆ ว่า "ไม่แสบ" นั่นเอง

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.091189352671305 Mins