ข้อแนะนำเพื่อการพัฒนาตนเอง
เพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการ
การทำหน้าที่กัลยาณมิตรต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน โดยศึกษาตนเองมีจุดเด่นหรือจุดด้อยข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวเองให้สมบูรณ์ขึ้น มีข้อแนะนำเพื่อการพัฒนาตนเองเพิ่มเติม โดยย่อ ดังนี้
1.การปรับปรุงความคิด
กล่าวคือ ต้องมีความมั่นใจในการทำหน้าที่ ไม่คิดดูถูกตนเอง คิดอย่างไรในสิ่งที่ดี ก็พยายามทำให้ได้อย่างนั้น ถ้าคิดในเชิงลบบ่อยๆ กำลังใจก็จะลดถอยลง เช่น
- ไม่คิดท้อแท้ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
- ปรับเปลี่ยนความคิด โดยคิดแต่เรื่องดีๆ ให้บ่อยๆ
- อดทนรอคอยความสำเร็จในการทำหน้าที่อย่างใจเย็น
- ฝึกตั้งเป้าหมายเพื่อศักยภาพในตัวจะได้เพิ่มขีดความสามารถขึ้น
2.การฝึกฝนการควบคุมอารมณ์
- รักษาอารมณ์ให้สบายๆ ไม่หงุดหงิด ไม่ขุ่นมัว
- หน้าตาให้ยิ้มแย้มแจ่มใส
- ระมัดระวังสิ่งที่ไม่ดีที่จะทำให้เข้าไปภายในจิตใจของเรา
3.การฝึกฝนทักษะและประสบการณ์ เช่น
- อย่ากลัวการปฏิเสธในความหวังดีของเรา
- ไม่มีความล้มเหลว แต่เพราะเราล้มเลิกไปเองต่างหาก
- สังเกตการทำหน้าที่ของตน
- ทำความเข้าใจในผู้ที่เราไปพบ
4.ให้เกียรติ และให้ความความสนใจในบุคคลที่เราไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร
5.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นทั้งคนเก่งและดี มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบและมีมนุษย์สัมพันธ์
6.ฝึกฝนการนำเอาความรู้และความสามารถจากหลายวิธีที่ดีมาใช้ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร โดยไม่คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นสมบูรณ์หรือดีอยู่แล้ว .
7.การหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อการพัฒนาตนเองให้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ดังนั้น หากบุคคลต้องการจะอุทิศตนทำหน้าที่กัลยาณมิตร และฝึกฝนตนเองบนเส้นทางเยี่ยง พระโพธิสัตว์ ย่อมจะเป็นบุคคลที่ได้เพิ่มพูนคุณธรรมในตน ดังพุทธสุภาษิตตอนหนึ่งว่า
“ ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ ไม่พูดพร่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล ผู้ใดคิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีปัญญา ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ”