ข้อแนะนำในการใช้ทักษะแบบบูรณาการเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

วันที่ 06 เมย. พ.ศ.2558

การใช้ทักษะแบบบูรณาการที่ดีการเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร  ประกอบด้วยการศึกษาเรียนรู้ มีความสามารถ ฝึกฝนปรับปรุงพัฒนา เกิดทักษะในหน้าที่

ข้อแนะนำในการใช้ทักษะแบบบูรณาการเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

         ความหมายของทักษะ

         ทักษะ คือ ความชำนาญของการทำหน้าที่นั้นๆ จนมีประสบการณ์เกิดขึ้นในหน้าที่งานนั้น ผู้ที่มีทักษะอาจมาจากการเรียนรู้ความผิดพลาดก็ได้ แล้วได้เรียนรู้พัฒนาจนมีทักษะในที่สุด มีขั้นตอนการเกิดทักษะ ดังต่อไปนี้

1.การศึกษาเรียนรู้

2.มีความสามารถ

3.ฝึกฝนปรับปรุงพัฒนา

4.เกิดทักษะในหน้าที่
 

         บูรณาการที่ดี

1.ทำงานเป็นทีม

2.มีภาวะเป็นผู้นำ

3.มีวิสัยทัศน์

4.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

5.มีวิธีการที่ชัดเจน

6.มีการจัดระเบียบของงาน

7.มีความรับผิดชอบในงาน

8.เป็นแบบอย่างน่าเชื่อถือ
 

     การประยุกต์วิธีการเชิงบูรณาการเพื่อการทำหน้าที่กัลยามิตรจะมีความสมบูรณ์ต้องมีการประสานรวมหลายๆ ส่วนย่อยมารวมเป็นองค์ประกอบเดียวกันที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเป็นระบบอย่างมีเหตุมีผลส่วนย่อยที่มีศักยภาพในตัว มีประสบการณ์ความรู้ทักษะในส่วนย่อยนั้น เมื่อมารวมกันเป็นส่วนประกอบเดียวกันก็จะเป็นบูรณาการที่สมบูรณ์ฉะนั้นจะจำแนกได้พอสังเขปดังนี้

1.การจัดระบบความคิด การไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ทบทวนข้อมูลแต่ละอย่างด้วยความละเอียดถี่ถ้วนมีระเบียบของความคิดมีความเข้าใจในข้อมูลอย่างชัดเจนลำดับความสำคัญก่อนหลังได้สามารถเชื่อมและประมวลผลข้อมูลให้เป็นระเบียบเป็นระบบอย่างเป็นเหตุเป็นผล

2.การจัดเก็บข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่เป็นประเภทให้เข้าใจง่าย และใช้งานได้ง่ายเชื่อมโยงข้อมูลได้ ค้นหาสะดวก สามารถรู้แหล่งข้อมูลรู้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรและเพื่อประโยชน์อะไร

3.การสังเกตรับรู้เห็นถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเราทั้งใกล้ตัวและไกลตัว สิ่งที่เล็กจนถึงสิ่งที่ใหญ่ รับรู้ถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น ส่วนประกอบของสิ่งนั้น แต่ละส่วนเป็นอย่างไร เห็นถึงความเหมือนและแตกต่างกัน ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อย

4.นำเสนอการนำเสนอด้วยวิธีต่างๆตั้งแต่การสนทนาเอกสารสิ่งพิมพ์ทั้งหลายสื่อโสตทัศน์ ตลอดจนนำเสนอ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องเรียนรู้ว่าควรนำเสนอด้วยวิธีใดที่เหมาะสมกับสภาวะ ทั้งเวลาและสถานที่ ส่วนผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ง่าย และสนใจที่ได้รับรู้ด้วย

5.การประสานงาน การติดต่อเกี่ยวข้องกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเชื่อมให้เป็นส่วนเดียวกันงานนั้นมีการร่วมมือกัน ขับเคลื่อนงานไปไม่ขัดแย้งกันไม่กระทบให้เกิดความเสียหายต่อกันเชื่อมทั้งสิ่งมีอยู่เดิมกับสิ่งที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง หนุนให้งานหรือกิจกรรมสมบูรณ์ขึ้นได้ และรวดเร็วขึ้น

6.การวิเคราะห์การรวมข้อมูลทั้งหมดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ แล้วนำมาแยกแยะได้ทำความเข้าใจข้อมูลเนื้อหาได้ชัดเจน เปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีแง่มุมแตกต่างกันไป ด้วยเหตุด้วยผลรู้ว่าดีหรือไม่ดีจริง สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน

7.ติดตามผลสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วมีผลคืบหน้าอย่างไรเป็นไปตามที่คาดหวังไหมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือไม่ ได้ผลเพียงไรบ้าง

8.ประเมินผลการรวบรวมข้อมูลในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วนำมาวิเคราะห์ ผลลัพธ์ในทางสถิติเป็นข้อสรุปในการตัดสินใจของสิ่งนั้นว่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ถ้าข้อมูลพร้อมครบถ้วนถูกต้องจะมีผลให้การประเมินผลได้ตรงเป้าหมาย

 

 

จากหนังสือ DOU
วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012999852498372 Mins