พระสูตร อนัตตลักขณสูตร
บทขัดอนัตตลักขณสูตร
อนัตตลักขณสูตร
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯตัตระโข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ฯ รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา ตัสมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะตินะ จะ ลัพภะติ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุเอวัง เม รูปัง มาอะโหสีติ ฯ
เวทะนา อะนัตตา ฯ เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ เวทะนายะเอวัง เม เวทะนา โหตุเอวัง เม เวทะนา มาอะโหสีติ ฯ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา ตัสมา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุเอวัง เม เวทะนา มาอะโหสีติฯ
สัญญาอะนัตตาฯ สัญญาจะ หิทัง ภิกขะเวอัตตาอะภะวิสสะ นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุเอวัง เม สัญญา มาอะโหสีติฯยัสมา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา ตัสมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มาอะโหสีติ ฯ
สังขารา อะนัตตา ฯ สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติฯ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันตินะ จะ ลัพภะติ สังขาเร สุเอวัง เม สังขารา โหนตุเอวัง เม สังขารา มาอะเหสุนติ ฯ
วิญญาณัง อะนัตตา ฯ วิญญาณัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติฯ ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา ตัสมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุเอวัง เม วิญญาณัง มาอะโหสีติ
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ
ตัสมาติหะ ภิกขะเวยังกิญจิรูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตังวา พะหิทธาวาโอฬาริกังวา สุขุมังวาหีนังวา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพังฯ
ยา กาจิเวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วาปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติฯเอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพังฯ
ยา กาจิสัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ
เย เกจิสังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา เย ทูเร สันติเก วา สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโสอัตตาติฯเอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ
ยังกิญจิวิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วาปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมินะ เมโส อัตตาติฯเอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตวา อะริยะสาวะโก รูปัสมิงปิ นิพพินทะติเวทะนายะปินิพพินทะติสัญญายะปินิพพินทะติ สังขาเรสุปินิพพินทะติวิญญาณัสมิงปินิพพินทะติฯ นิพพินทังวิรัชชะติฯ วิราคา วิมุจจะติฯ วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติญาณัง โหติ ขีณา ชาติวุสิตัง พรัหมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติปะชานาตีติฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตังอะภินันทุง ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ
ประวัติของบทสวดอนัตตลักขณสูตร
อนัตตลักขณสูตร : Anattalakkhaṇa Sutta
คือ พระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่ง เนื่องจากหลังจากที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ได้บังเกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา 5 องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น 6 องค์ ซึ่งพระสูตรนี้ มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป คือ ร่างกาย เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ สังขาร คือ ความคิดหรือเจตนา วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น หรือเรียกอีกประการหนึ่งว่า อายตนะทั้ง 6 อันได้แก่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ประวัติของบทสวดอนัตตลักขณสูตร
อนัตตลักขณสูตร เป็นพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี หรือในเขตเมืองสารนาถ ประเทศอินเดียในปัจจุบันเมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา
ธัมเมกขสถูป บริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองสารนาถ คือสังเวชนียสถานแห่งการประกาศธรรมยุคแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงสถานที่พระประกาศอนัตตลักขณสูตร พระสูตรนี้ โดยทรงแสดงต่อปัญจวัคคีย์ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 หลังจากที่ พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จนพระอัญญาโกณฑัญญะบรรลุโสดาบัน และในวันต่อ ๆ มา คือในวันแรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ 3 ค่ำ และ 4 ค่ำเดือน 8 ทรงแสดง “ปกิณณกเทศนา” ยังผลให้พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ บรรลุโสดาบันตามลำดับ และได้รับเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในระหว่างที่ทรงแสดงปกิณณกเทศนา เพื่ออบรมพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิอยู่นั้น พระอริยเจ้าทั้งหลายมิได้บิณฑบาตยังชีพ ต่างเร่งกระทำความเพียร เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มิได้ทรงบิณฑบาตรเช่นกัน เพื่อทรงสั่งสอนอบรมพระอริยเจ้าจนกระทั่งแต่ละองค์สำเร็จมรรคผลขั้นต้นในที่สุด
ครั้นเมื่อถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 หลังจากสดับพระธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตรพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป นับเป็นพระอรหันต์กลุ่มแรกในพระบวรพุทธศาสนา ดังปรากฏในเนื้อความของพระสูตรดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ หรือพระอาจารย์ผู้ทำสังคายนาร้อยกรองตั้งเป็นพระบาลีไว้ ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายพระสูตรไว้ ดังนี้
" อิทมโวจ ภควา. อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ. อิมสฺมึ จ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ปญฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ. เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ."
ความว่า
" พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 องค์ "
** อ้างอิงจากหนังสือ มนต์วิธานและศาสนพิธี **
เหมาะสําหรับภิกษุผู้นวกะพระเถระและพุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป