วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ แผนที่ ความคิด

ทันโลก ทันธรรม

เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ (M.D., Ph.D.)
จากรายการทันโลก ทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC





 

        ๑. สุตตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการฟัง หรือการอ่าน เป็นปัญญาขั้นต้น จะเรียกว่า "รู้จำ"Ž ก็ได้ วันนี้..ได้รับอาราธนาให้พูดเรื่อง "แผนที่ ความคิด"Ž หรือ Mind Map (ไมนด์แมป) ซึ่งเป็นการจัดระเบียบความคิดของเรา เรื่องนี้อยากให้มองภาพ กว้าง ๆ ว่า ทางมาแห่งความรู้หรือที่เรียกว่าปัญญา นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งไว้เป็น ๓ ประเภท คือ

          ๒. จินตมยปัญญา เป็นปัญญาขั้นที่ ๒ คือ การเอาสิ่งที่เราศึกษาเรียนรู้จากคนอื่นมานึกคิด ตรึกตรองหาเหตุผล บางครั้งก็ได้ข้อสรุปใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เป็นความรู้ระดับสูงขึ้นมา อาจจะเรียก ย่อ ๆ ว่า "รู้คิด"Ž ก็ได้

         ๓. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิภาวนา จะเกิดขึ้นได้จากใจที่เป็นสมาธิตั้งมั่นเท่านั้น การจะหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ ได้ก็ต้องอาศัยปัญญาระดับนี้ ซึ่งเป็นปัญญาระดับสูงสุด อาจจะเรียกย่อ ๆ ว่า "รู้แจ้ง"Ž ก็ได้

          ปัญญาระดับนี้ไม่ใช้คำว่า "คิด"Ž แต่ใช้คำว่า "เห็น"Ž เช่น มีธรรมจักษุ คือ มีดวงตาเห็นธรรม หรือ สัมมาทิฐิ ในมรรคมีองค์ ๘ ข้อแรกก็ใช้คำว่า มี ความเห็นถูก ไม่ใช่คิดถูก คือ เมื่อใจสงบ ความ สว่างบังเกิดขึ้นภายใน ก็จะมีความรู้จากการเห็น คือ ไปรู้ไปเห็นถึงความจริงของโลก ชีวิต และสรรพกิเลสทั้งปวง เห็นถึงขนาดว่า ภพในอดีตเรามาจากไหน สามารถระลึกชาติตัวเองได้ ที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เห็นการไปเกิดมาเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ หรือมีญาณหยั่งรู้ทำให้กิเลสหมดสิ้นไป ที่เรียกว่า อาสวักขยญาณ สิ่งเหล่านี้ คือ ความรู้ในขั้นที่ ๓ หรือที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

          ส่วนแผนที่ความคิดนั้น คือ อุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มพูนปัญญาในขั้นที่ ๒ ที่เรียกว่ารู้คิด แต่จะรู้คิด ได้ดี ใจต้องเป็นสมาธิด้วย ถ้าใจยุ่งเหยิงไม่เป็นสมาธิ ก็จะคิดอะไรไม่ค่อยออก วนไปวนมา คนจะคิดได้ลึกซึ้ง กระจ่าง ความคิดต้องเป็นระเบียบ เป็นสมาธิ 

          การใช้แผนที่ความคิดจะช่วยได้มาก สมมติว่าเราจะหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราก็ตั้งประเด็น ขึ้นมาว่าเรื่องนั้นมีกี่ประเด็น ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ แล้วก็โยงออกไป แต่ละประเด็นใหญ่มีกี่ประเด็นย่อย เรา ก็แตกแขนงไปอีก ประเด็นย่อยเหล่านั้น มีประเด็นย่อยอีกเท่าไร เราก็แตกออกไป ดังนั้น เวลาจะคิดเรื่องอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับประเด็นใหญ่ ๆ เราจะไม่ คิดวนไปวนมาอย่างที่คนทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นกัน การ ใช้แผนที่ความคิดจึงมีส่วนช่วยให้จินตมยปัญญาหรือความรู้คิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้พอสมควรทีเดียว

 


 

          แต่ว่าอยากจะฝากข้อคิดไว้ ๒ ประเด็น 

          ประเด็นแรก อย่าลืมว่าแผนที่ความคิดเป็นเพียงอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราจัดระเบียบความคิด แต่ยังไม่ได้บอกว่าในเรื่องหนึ่ง ๆ ที่เราต้องคิดมีประเด็นอะไรบ้าง โดยส่วนใหญ่เขาใช้วิธีการระดมสมองที่เรียกว่า Brainstorm (เบรนสตอร์ม) ระดมสมองช่วยกันคิดว่า เรื่องนี้มีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง ถ้าผู้ที่ร่วมกันคิดเป็นคนที่มีสติปัญญาก็พอใช้งานได้ ในระดับหนึ่ง แต่หากเราเคยศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เราจะได้เปรียบมาก เพราะธรรมะ แต่ละหมวดแต่ละหมู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ภาพรวมไว้แล้วว่า ในเรื่องหนึ่ง ๆ มีประเด็นสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกี่อย่าง ยกตัวอย่างเช่น

          ถ้าหากต้องการสร้างมนุษยสัมพันธ์ พระองค์ ทรงให้ใช้หมวดสังคหวัตถุ ๔ ก็คือ ๑. ทาน คือ ให้รู้จักการให้ มีน้ำใจให้แก่กัน ถึงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี ๒. ปิยวาจา คือ พูดให้เป็น ๓. อัตถจริยา คือ ทำตัวให้มีประโยชน์ รู้จักใช้ความสามารถไปทำประโยชน์ให้กับคนอื่น ๔. สมานัตตตา คือ วางตัวให้สม่ำเสมอ ถูกต้องเหมาะสมกับสถานภาพของ ตัวเอง ถ้าครบ ๔ อย่างนี้ มนุษยสัมพันธ์ดีแน่นอน หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีภาพรวมครบอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะไปแจกแจงต่อได้ขนาดไหน ถึงจะ ไม่ตกไม่หล่นอะไรไป

          แต่ถ้าจะมาเบรนสตอร์มเรื่องมนุษยสัมพันธ์ เราจะตั้งหัวข้อได้มากมาย แล้วอาจจะหลุดบางเรื่อง ไป ในขณะเดียวกันบางเรื่องที่ควรจะอยู่หมวดเดียว กัน ก็อาจจะแยกประเด็นออกไป เรื่องนี้มีตัวอย่าง เช่น หนังสือประเภทโนฮาว ฮาวทู ในเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ที่มีขายในท้องตลาด เขาก็เขียนไว้น่าอ่านทีเดียว มีตัวอย่างมากมาย วิธีชนะมิตรและจูงใจคน ชนะทุกข์ สร้างสุข แต่อ่านแล้วจะวน ๆ รวมแล้วมีแคˆประเด็นสองประเด็นเท่านั้น คือ เรื่อง ทานและปิยวาจา บางครั้งเขาก็ลืมเรื่องอัตถจริยาหรือสมานัตตตาไปบ้าง หรือบางครั้งก็พูดถึงแต่ไม่ชัดเจน แต่ถ้าจับหลักคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เราก็จะได้ภาพรวม ใครที่ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาดีจึงได้เปรียบคนอื่นมาก ถ้าเอาแผนที่ความคิดไปใช้ด้วยก็เท่ากับว่าต่อยอดเลย

 


          ประเด็นที่ ๒ อย่าลืมว่าระดับของปัญญาความรู้มีถึง ๓ ระดับ คนทั่วไปในโลกจะติดอยู่ใน ๒ ระดับแรก คือ รู้จำกับรู้คิด ยังก้าวไปไม่ค่อยจะถึงเรื่องการรู้แจ้ง คือ ภาวนามยปัญญา ซึ่งเกิดจาก การทำสมาธิภาวนา

          ดังนั้นเราอย่าหลงทะนงตนจนเกินไป คนไหน หัวดีจำอะไรได้แม่น อ่านมามาก ฟังมามาก คิดตรึกตรองอะไรได้มาก ก็อย่าเพิ่งหลงภูมิใจในตัวเอง จนเกินไป ให้บอกตัวเองเสมอ ๆ ว่า ปัญญาในระดับที่ตัวเราหมดกิเลส เป็นหลักประกันว่าเราจะได‰ ไปสู่สุคติภูมิแน่ ๆ หลังจากละโลกนี้ไปแล้ว เราฝึกได้แค่ไหนแล้ว ถ้ายังไม่ถึงไหน รีบขวนขวายฝึกเสีย

          ถ้ามองไม่เห็นภาพรวมตรงนี้ หลงติดแค่เรื่อง ความรู้จำกับรู้คิดแค่ ๒ อย่าง ยิ่งศึกษามากเท่าไร ก็มีสิทธิ์ที่จะเกิดทิฐิมานะว่าเรารู้มากกว่าคนอื่น ยิ่งเรียนสูง ๆ ทำงานตำแหน่งสูง ๆ ยิ่งรู้สึกว่า ตัวเองเก่ง แล้วเกิดเป็นทิฐิ ตรงนี้จะเป็นพิษเป็นภัยกับเจ้าตัวมาก เพราะทิฐิมานะจะเป็นตัวบั่นทอน ถึงคราวมีใครมาแนะนำธรรมะให้ สอนธรรมะให้ ก็ไม่ค่อยอยากจะฟัง รู้สึกว่าตัวเองรู้มากแล‰ว ความรู้นั้นเลยกลายเป็นกำแพงขวางกั้น บั่นทอนหนทางเข้าสู่ปัญญาขั้นที่สูงขึ้นไปอย่างน่าเสียดาย หนัก ๆ เข้าเลยสู้คนเรียนน้อย ๆ ทำงานทั่ว ๆ ไป แต่เขาไม่มีทิฐิมานะไม่ได้ เราอย่าทะนงตน ยิ่งรู้ฟัง รู้จำมามากเท่าไร รู้คิดมากเท่าไร ถ้าไม่มีทิฐิมานะจะยิ่งเป็นประโยชน์ เป็นพื้นฐานรองรับความรู้แจ้ง ขอให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมทำสมาธิภาวนาให้ดี แล้วเรา จะได้ความรู้ครบทั้ง ๓ ระดับ

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล