วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ เข็มทิศของชีวิตริมนา ลุงขวัญ ป้าระเบียบ แก้วสโตร์

สัมภาษณ์พิเศษ
เรื่อง : ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์ e-mail : [email protected] ภาพเจริญเพ็ชรกิจ

 

 

 

   ทีมงานเดินทางลัดเลาะผ่านทุ่งข้าวเขียวขจีไป ตามถนนที่ไม่เรียบนัก ฝ่าสายฝนที่กำลังแข่งกันตกอย่างไม่หยุด เพื่อมุ่งตรงไปยังบ้านชั้นเดียว ที่ถูกปลูก ขึ้นอย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง

       ลุงขวัญ-ป้าระเบียบ แก้วโสตร สองสามีภรรยาอาศัยอยู่ในห้องเล็กๆ ที่แบ่งให้เช่าจากบ้านหลังนี้ จากเนื้อที่ใช้สอยที่มีอย่างจำกัด จึงทำให้ห้องเล็กๆ ห้องนี้ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งห้องรับแขก ห้องนอน ห้องกินข้าว ห้องสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา และเราก็ได้นั่งคุยกันในห้องนี้ด้วย

    ทั้งสองท่านมีชีวิตที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ด้วย การรับจ้างคัดถั่วลิสงส่งตลาด ซึ่งได้ค่าจ้างเพียงกิโลกรัมละ ๗๕ สตางค์ ด้วยอัตราค่าจ้างเพียงเท่านี้ ทำให้สองสามีภรรยาต้องช่วยกันคัดให้ได้วันละประมาณ ๒๐๐ กว่ากิโลกรัม จึงจะมีรายได้รวมกันวันหนึ่งร้อยกว่าบาท

     ลุงกับป้าไม่รู้ชะตากรรมหรอกว่า อนาคตต่อไป จะเป็นอย่างไร จะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง ทั้งๆ ที่วัยก็ล่วงมาจนอายุเกือบ ๖๐ ปีแล้ว ท่านรู้แต่ว่า คนเราเกิดมาจะรวยหรือจนก็ต้องตาย ท่านจึงเลือก สร้างบุญให้กับตัวเองให้มากที่สุดจวบจนลมหายใจสุดท้าย
ของชีวิต

      "ป้ารู้จักวัดช่วงที่วัดมีข่าวถูกโจมตี ปี ๔๐-๔๑ ทั้งๆ ที่วัดโดนว่าต่างๆ นานา แต่ไม่รู้ทำไมป้ากลับรู้สึกอยากมาวัดนี้เหลือเกิน พอได้มาจริงๆ ก็ คิดว่า หากวัดจะหลอกเหมือนที่เขาลงข่าว..ก็ให้หลอก ไปเถอะ เพราะเราเป็นคนจนมีเงินติดตัวก็แค่ ๒๐๐ กว่าบาท หลอกไปก็ไม่เสียหายอะไรมาก แต่พอเอา เข้าจริงๆ ก็ไม่เห็นโดนหลอก ไม่เหมือนที่เขาลงข่าว เลย เมื่อฟังหลวงพ่อท่านสอนสมาธิ จิตใจก็สบาย มีความสุขมาก พอป้าได้เดินชมวัด ก็ประทับใจมาก ทั้งเรื่องความสะอาด ความสงบ ชอบหมด
ทุกอย่างเลย หลังจากนั้นไม่ว่าใครจะว่าวัดอย่างไร ป้าก็มาวัดเป็นประจำทุกอาทิตย์ ..จนถึงวันนี้

       ช่วงนั้นป้าเข้าวัดคนเดียว ลุงไม่ยอมเข้า วันๆ ดื่มแต่เหล้าขาว ดื่มได้วันละขวด บางทีก็เพิ่มดีกรีมาเป็นเหล้าเซี่ยงชุน เมาจนขี่มอเตอร์ไซค์ล้มฟาดฟันหักเลือดกลบปากเลย แต่เขาก็ยังไม่หยุดดื่ม ทุกวันตอนรุ่งเช้าก็คว้าแหออกจับปลา ส่วนบุหรี่ก็สูบมาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นยามวน สูบบุหรี่ตั้งแต่แก อายุ ๑๒...สูบมากขึ้นๆ เรื่อยมาจนมากถึงวันละ ๒ ซองคือ ติดมากจนคิดว่าชาตินี้คงเลิกบุหรี่ไม่ได้ อีกทั้งยังเล่นไฮโล ติดพนันมาก เงินหาได้มาเท่าไรๆก็หมดไปกับสิ่งเหล่านี้ทั้งชีวิต

 

 

ป้าไม่ห้ามลุงบ้างหรือ?

       ก่อนเข้าวัดก็ว่า ก็บ่นอยู่ แต่หลังเข้าวัดแล้ว ป้าก็ไม่ว่าอะไรเพราะพูดไปก็รู้ว่ายังไงเขาก็ไม่เลิก พาลแต่จะทะเลาะกันเปล่าๆป้าจึงได้แต่ทำบุญใส่ชื่อ ลุง อธิษฐานให้เขากลับตัวกลับใจเพราะเป็นห่วงเขา ยิ่งมารู้ว่า อะไรบุญ อะไรบาป ทำให้ยิ่งห่วงเขามากๆ

     จนกระทั่งป้าได้มาติดจานดาวเทียมถ่ายทอดรายการธรรมะของวัดไปที่บ้านที่เราเรียกว่า DMC ช่วงแรกๆ ป้าก็ดูคนเดียว พอลุงเขากลับมาบ้าน เขา ก็เปลี่ยนไปดูช่องอื่น พอลุงเขาไม่อยู่ ป้าก็เปลี่ยนกลับ ทำอยู่อย่างนี้ จนช่วงที่ลุงเขาออกไปนั่งสูบบุหรี่นอก บ้าน เขาก็แอบฟังว่า หลวงพ่อพูดอะไร สอนอะไร คือ ท่านได้สอนให้เทเหล้า เผาบุหรี่ ให้เลิกให้หักดิบ สอนให้ เห็นโทษภัยของอบายมุข พอเขาแอบฟังอย่างนี้ทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่ง ป้าแอบเห็นลุงเขาเปิด DMC ดูเอง ยอมกราบหลวงพ่อ
กราบคุณยาย ป้าจึงถือโอกาสชวนเขาไปวัด

ทำไมลุงต้องแอบดู DMC ? 

        ตอนแรกลุงไม่เห็นด้วยที่ป้าเขาจะติด DMC แต่พอติดแล้วเราจะ
มาดูเองมันเหมือนเสียเชิง แต่พอ ลุงได้ฟังหลวงพ่อ รู้สึกท่านสอนดี มีเหตุผลมาก ลุงก็ เลยยอมไปวัดกับป้า ตอนลุงไปวัดยังอดบุหรี่ไม่ได้เลย เพราะติดหนักมาก จนต้องแอบไปหาที่สูบ ตอนนั้นก็รู้สึกสองจิตสองใจจึงตั้งจิตอธิษฐานกับหลวงปู่ว่า หากลูกมีบุญมากับหลวงปู่ หลวงพ่อ ขอให้เลิกได้ พอกลับไปบ้านวันนั้น จึงรีบจุดบุหรี่มาสูบ เพราะอดมาเกือบทั้งวัน แต่พอสูบเข้าไป มันเมาบุหรี่ มึนไปหมดเลยและหลังจากนั้นอาทิตย์ต่อมาลุงก็ไปวัดกับป้าเขาอีก พอกลับบ้านก็มาสูบอีก แล้วก็เมาอีก สุดท้ายจึงหักดิบเลิกอบายมุขทุกสิ่งทุกอย่างนับตั้งแต่บัดนั้นมา พอเลิกได้แล้ว มีความสุขมากเหมือนเกิดใหม่เลย ตกเย็นของทุกวัน ไม่ต้องมานั่งกระวนกระวายใจว่า จะไปเอาเงินจากไหนมาดื่ม มาสูบ มาเล่นการพนันนับจากนั้นไม่ต้องกังวลเลย เป็นอิสระ และยังได้เก็บเงินเอาไว้ทำบุญอีก เมื่อชีวิต ดีขึ้นแล้ว ก็หันมาสร้างบุญกับป้าอย่างเต็มที่รวมถึง เป็นกัลยาณมิตรไปบอกบุญ ชวนคนมาวัดด้วย

ทำหน้าที่กัลยาณมิตรอย่างไรบ้าง?

       เราซ้อนมอเตอร์ไซค์กันออกไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรกันเป็นประจำลุงเขาเป็นคนขับ ป้าก็นั่งซ้อนท้าย เราไปบอกบุญชาวบ้านแถวคลองหนึ่ง ป้าเองก็ไม่ได้รู้จักชาวบ้านแถวนี้มาก่อนหรอกแต่ป้าอยากได้บุญก็ต้องไปบอกเขา โดยพูดกับเขาดีๆ เยือกเย็น ยิ้มแย้ม สวัสดี บอกว่าเราเอาบุญมาให้ ซึ่งก็มีคนเข้าใจทำบุญเพียงไม่กี่คน มีคนไม่เข้าใจวัดเยอะกว่ามาก ซึ่งก็มีคนถามป้าว่า ได้ค่าจ้างเท่าไร ที่มาเรี่ยไร ป้าก็บอกเขาว่า ทำบุญน่ะ..ต้องจ้างด้วย หรือลูก ป้าเองก็ทำมาหากิน หาเช้ากินค่ำเหมือนกัน ป้าก็อยู่อธิบาย จนกว่าเขาจะเข้าใจ บางคนก็บอกว่าวัดรวยแล้ว ป้าก็บอกเขาว่า พระน่ะไม่มีรวย ไม่มีจนหรอกขึ้นกับว่าวัดนั้นเขาจะพัฒนาหรือไม่พัฒนา ถ้าจะพัฒนาก็ต้องช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ ใครมีแรงก็ช่วยแรง ใครมีเงินก็ช่วยเงิน พอช่วยกันคนละไม้ละมืออย่างนี้ สุดท้ายก็มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับชาติบ้านเมืองของเราเอง

 

 

เจอคนไม่เข้าใจวัดมากๆ ลุงคิดอย่างไร?

       "เขาไม่เข้าใจ เขาถาม ก็เป็นการดี เราจะได้ตอบ ที่สำคัญถ้าหากไปบ้านไหน เขาด่าวัด ว่าวัด เราอย่าเพิ่งรีบถอยจากไป เพราะหากรีบไปความไม่เข้าใจก็จะยังอยู่กับเขาอยู่อย่างนั้น ลุงก็จะพยายามพูดอธิบายไขข้อสงสัยของเขาทีละข้อ ทีละข้อ ซึ่งยอมรับว่า ต้องใช้เวลามาก บางทีไปทำหน้าที่วันหนึ่งพูทั้งวัน ได้แค่ ๓ บ้านแต่สุดท้ายเราก็สามารถชวนคนมาวัดกับเราได้คราวละหลายคน พาเขานั่งรถมอเตอร์ไซค์พ่วงมากับเรา บางทีเราชวนได้ถึง ๓๐ กว่าคนก็จัดรถพากันมาวัด ส่วนคนที่ไม่ยอมมา ใหม่ๆ ก็จะฝากเงินทำบุญมาแค่ ๕ บาท พอเราไปพูดคุยชวนเขาอีก เขาก็ฝากมาเพิ่มเป็น ๒๐ บาทพอเราชวนเขาติด DMC เขาดูจนเขาเข้าใจวัด เขาก็ฝากเรามา ๑๐๐ บาท๕๐๐ บาท จากนั้นก็ยอมมาวัดกับเราและก็ขอสร้างพระธรรมกายประจำตัวด้วย ตอนนี้เขาก็เข้าใจวัด มีธรรมะเป็นที่พึ่งอย่างมีความสุขเราก็พลอยได้บุญไปกับเขาด้วย การทำหน้าที่กัลยาณมิตร เรายอมเหนื่อยหน่อย ลำบากหน่อยแต่ทำให้เรามีบารมี ๑๐ ทัศเพิ่มขึ้น

ลุงกับป้าท้อบ้างไหม?

       เราจะคอยให้กำลังใจกัน จะพูดกับลุงเขาว่า เราชวนเขา เขาทำไม่ทำเราก็ได้บุญแล้ว และที่ป้าชวนคนทำบุญ ก็เพราะตัวป้าเอง คือเมื่อมาดูตัวเอง ในชาตินี้ เรามีข้อบกพร่องอีกมาก คือเราไม่รวย บริวารเราไม่มี พอเราสำรวจเห็นข้อบกพร่องของตัวเองอย่างนี้ เราก็ไม่อยากมีชีวิตแบบนี้ในชาติหน้า อีกแล้ว เราจึงต้องทำบุญ และต้องชวนคนอื่นด้วย คิดแบบนี้แล้วเราก็ไม่ท้อ

       ทุกวันนี้...แม้ลุงกับป้าจะอยู่ห้องเช่าริมนากัน ๒ คน แต่ท่านทั้ง ๒ ก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขเพราะทั้งคู่ได้ตั้งเข็มทิศชีวิตไว้อย่างถูกต้อง ตื่นขึ้นมานั่งสมาธิพร้อมกัน ออกจากบ้านไปช่วยกันทำมาหากินและนั่งมอเตอร์ไซค์ออกไปบอกบุญ ชวนคนมาวัด มาทำบุญ ทำให้เขาเข้าใจวัด พอพลบค่ำ ก็สวดมนต์ทำวัตรพร้อมกัน มานั่งดู DMC ด้วยกัน และไปวัดทุกวันอาทิตย์อย่างมีความสุข

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล