หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗)

วันที่ 13 กย. พ.ศ.2559

หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๑๗)

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     อาตมาอ่านข่าวออนไลน์จากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ อ่านแล้วก็สงสารนักเขียนหลาย ๆ ท่าน ก็ขอเล่าตรง ๆ ว่า เมื่อตอนที่เจอบทความเหล่านี้แรก ๆ นั้น ก็ร้อน ๆ เหมือนกัน แต่พอนานวันเข้า นึกถึงวันที่อาตมาเคยกราบเรียนถามหลวงพ่อธัมมชโยว่า หลวงพ่อไม่โกรธพวกนักข่าวหรือ ที่เขียนโจมตีหลวงพ่อมาตลอด คำตอบของหลวงพ่อเป็นเหมือนโอสถทิพย์ที่ทำให้อาตมารักษาใจได้จนทุกวันนี้

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     ขณะนั้นหลวงพ่อกำลังจะกลับเข้าที่พัก เมื่อท่านได้ยินคำถามของอาตมา ท่านค่อย ๆ หันมาแววตาของท่านเปี่ยมด้วยความเมตตา แล้วตอบด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลว่า   “ หลวงพ่อจะโกรธเขาได้อย่างไร ในเมื่อต่อไปพวกเราก็ต้องขนเขาไปให้หมด ”

      อาตมากล้ายืนยันว่า หากใครก็ตามได้เข้ามารู้จักหลวงพ่อจริง ๆ จะรู้จะเข้าใจว่าหลวงพ่อมีความคิดอย่างไร และดำเนินชีวิตอย่างไร (เว้นแต่คนใจบอดที่คอยจับผิดครูบาอาจารย์และมีอคติอยู่ในใจ)

     หลายคนมองหลวงพ่อด้วยความไม่รู้ ทำให้ตีความผิด ๆ คิดว่าหลวงพ่อสร้างวัดเพราะมีวัตถุประสงค์ในทางลบ เลยหวาดระแวงไปหมดทำให้เห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่คนที่มาวัดจะเข้าใจชัดเจนว่าสิ่งที่หลวงพ่อท่านทำ ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเอง แต่เพื่อพวกเราต่างหาก 

     นึกง่าย ๆ เดิมท่านคิดว่าจะสร้างวัดเล็ก ๆ แค่มีพระสัก ๑๐ รูป หากท่านไม่เปลี่ยนความคิด ป่านนี้อาตมาจะไปแสบอยู่ที่ไหนไม่รู้ ประเทศชาติอาจจะได้ทนายแสบ ๆ มาคนหนึ่งแทนที่จะได้พระภิกษุที่หวังจะเผยแผ่งานพระพุทธศาสนา

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

   ไม่ต้องไปนึกเลยว่าหลวงพ่อท่านบวชมาเพื่อเอาอะไร แค่อาตมาเอง ไม่ได้มีปณิธานยิ่งใหญ่แบบท่าน อาตมายังไม่เคยคิดเลยว่าบวชแล้วจะมาสะสมอะไร ไม่เคยสนใจลาภ ยศ ตำแหน่ง ชื่อเสียง ความคิดนี้อาตมาได้ต้นแบบจากครูของอาตมา คือ หลวงพ่อทั้งสองนั่นเอง

          สิ่งที่ลูก ๆ จะได้ยินหลวงพ่อท่านรำพึงอยู่เสมอคือ      “ นี่หากย้อนเวลาได้ หลวงพ่ออยากย้อนเวลาไปในช่วงที่เจอยายใหม่ ๆ ชีวิตตอนนั้นมีแต่ยายกับธรรมะ วัน ๆ นึกถึงแต่ยายกับธรรมะ เรียนหนังสือก็แค่เรียน ๆ ไป แต่ใจนึกถึงแต่ยายกับธรรมะ มันเป็นชีวิตที่มีความสุขที่สุด ” 

    สิ่งที่หลวงพ่อมุ่งหวังและเป็นปณิธานที่สำคัญอยู่ที่ปณิธานของการสร้างวัดด้วยความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า หลวงปู่วัดปากน้ำและคุณยายอาจารย์ ท่านจึงมีความตั้งใจว่า  “ จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ และเพศ วัย ”

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

      คำพูดนี้ไม่ใช่แค่คำที่สวยหรู แต่เป็นการลงสู่การปฏิบัติจริง ทุกวัดในต่างประเทศ หลวงพ่อไม่เคยสั่งให้เราไปเปลี่ยนแปลงใคร เมื่อเขามาฝึกสมาธิก็กำหนดนิมิตเป็นดวงแก้วไปเพราะเป็นของกลาง ๆ 

      ที่นิวเจอร์ซี มีชาวท้องถิ่น ชื่อ ดร. โจแอน เข้าวัดเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว มาช่วยงานแปล มาฝึกสมาธิเป็นประจำ รักเคารพหลวงพ่อมาก แต่เราก็ไม่เคยไปบอกให้เขาเปลี่ยนความเชื่อแต่อย่างใด ขอเพียงแค่เขาเป็นคนดี ทุกวันนี้เขาก็ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     เมื่อตอนที่อาตมาบวชได้ ๔ พรรษา ได้มีโอกาสติดตามหลวงพ่อและหมู่คณะ ไปปฏิบัติธรรมที่ดอยสุเทพ-ปุย ขอบอกว่าช่วงนั้นมีความสุขมาก เข้าใจความรู้สึกของหลวงพ่อธัมมชโยเลย เพราะนอกจากเวลาฉันและจำวัดแล้ว มีแต่การปฏิบัติธรรมทั้งวัน จะมีช่วงพักบ้างก็หลังจากนั่งธรรมะรอบบ่ายเสร็จราว ๑๖.๓๐ น. ช่วงนี้พวกเรามักจะไปเดินผ่อนคลายเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะกว่าจะเริ่มนั่งรอบเย็นก็เวลา ๑๘.๐๐ น.

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

        มีวันหนึ่ง อาตมากับหลวงพี่อีกสามสี่รูป ได้พากันเดินไปดูหมู่บ้านใกล้ ๆ ที่ปฏิบัติธรรม เดินไปเดินมา มองไปที่บ้านหลังหนึ่ง เห็นมีเด็กหนุ่มชาวเขาเมียงมองเราอยู่ ก็เลยเดินเข้าไปทัก คุยไปคุยมา เลยรู้ว่าเป็นลูกครึ่ง อ๊ะ อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นลูกครึ่งไทย ฝรั่ง หรืออะไร คือเขาเองมีพ่อเป็นพุทธ แต่แม่เป็นคริสต์ ตัวเขาเองถือคริสต์ตามแม่ อาตมาก็เลยถามเขาว่า เคยฝึกสมาธิไหม เขาก็ตอบว่า  “ ผมเป็นคริสต์ฝึกสมาธิได้หรือ ”

      คำสอนของหลวงพ่อธัมมชโย ผุดขึ้นมาทันที   “ การฝึกสมาธิเป็นเรื่องของการฝึกใจ ไม่เกี่ยวกับเรื่องของความเชื่อ ยิ่งฝึกยิ่งดี ไม่ขัดกับหลักศาสนาใด ๆ ในโลก ” 

     ว่าแล้วอาตมาก็รีบคว้าโอกาสเลย แนะนำกันทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่นั่นแหละ ให้เขานึกดวงแก้ว เอาดวงแก้วให้ดู พวกก็นึกไม่ได้ซะนี่ ก็เลยนึกถึงที่หลวงพ่อเคยสอนไว้อีกแหละ

      “ การกำหนดบริกรรมนิมิตหรือเครื่องหมาย เพื่อให้ใจมีที่ยึดที่เกาะ ดังนั้นหากนึกดวงแก้ว องค์พระไม่ได้ จะนึกอะไรก็ได้ ที่เรานึกได้ง่าย ๆ หรือที่เราชอบใจ ”

        อาตมาเลยให้เขานึกถึงสิ่งที่เขาแขวนนั้นแหละ พอบอกอย่างนี้พวกบอกนึกได้ทันทีเพราะคุ้นเคย ก็ให้เขาดูไปเรื่อย ๆ และแล้วเพียงแค่ไม่ถึง ๕ นาที    “ หลวงพี่ .....สว่างมากเลยครับ สว่างจริง ๆ มีความสุขมาก เย็นสบายมากเลยครับ ”

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๗) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

      นี่คือสิ่งที่ยืนยันว่า หลวงพ่อไม่เคยสอนให้ติดนิมิตอย่างที่ผู้ไม่รู้กล่าวหา นิมิตนั้นเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ในการที่นำมาใช้เพื่อให้ใจรวม ให้ใจหยุด แต่เมื่อใจหยุดแล้ว นิมิตนั้นก็ไม่ได้มีความจำเป็นอีกต่อไป อุปมาเหมือนกับเราจะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อเราขึ้นเรือจากฝั่งนี้แล้ว พอถึงฝั่งตรงข้าม เราก็ไม่ได้แบกเรือไปด้วย เราก็มุ่งหน้าไปหาประสบการณ์ที่อยู่ข้างหน้าต่อไป

       อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าใครยังกล้าถามว่า " แล้วตอนนั้นหลวงพี่เห็นอะไรเจ้าคะ " รับรองมีเคือง ห้ามสงสัย คำตอบก็รู้ ๆ อยู่นี่นา

 


ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก
อาสภกันโต ภิกขุ
๔ ส.ค. ๕๙
anacaricamuni.blogspot.ae

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039585999647776 Mins