หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒)

วันที่ 13 กย. พ.ศ.2559

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒)
 

     ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับดร.ชนิดา ที่ช่วยแสดงความคิดเห็นในตอนที่ ๒๑ ทำให้อาตมาเกิดแรงบันดาลใจในการเขียนตอนที่ ๒๒ นี้

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

      หน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของพ่อแม่ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาคือ การให้การศึกษา

   อาตมามั่นใจว่า ยากที่จะหาพ่อแม่คนไหนจะเอาใจใส่ในเรื่องการศึกษาของลูก ๆ ได้ดีเท่ากับหลวงพ่อทั้งสอง หลายแห่งเราอาจจะเห็นว่ามีการเข้มงวดในเรื่องการเรียนบาลี บางแห่งเป็นเลิศด้านการเรียนนักธรรม บางแห่งก็เน้นเรื่องการเรียนปริยัติสามัญหรืออื่น ๆ ก็มีหลากหลายกันไป

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     ด้วยความทุ่มเทของหลวงพ่อธัมมชโยที่ต้องการให้ลูกเณรสืบอายุพระพุทธศาสนา จึงมีนโยบายให้มีการเรียนการสอนทั้งนักธรรม บาลี พระไตรปิฎก จนกระทั่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าวัดพระธรรมกายเป็นสำนักเรียนที่มีผู้สอบบาลีได้มากเป็นอันดับต้น ๆ

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     นอกจากการศึกษาด้านปริยัติแล้ว หลวงพ่อยังได้เคี่ยวเข็ญให้สามเณรรักการภาวนา โดยสามเณรจะต้องนั่งสมาธิทั้งเช้า เย็น หลังจากทำวัตรและหากช่วงไหนที่ว่างเว้นจากการศึกษา หลวงพ่อจะให้ปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมที่ดอยสุเทพ-ปุย โดยหลวงพ่อธัมมชโยจะไปควบคุม ดูแล และให้คำแนะนำกับสามเณรด้วยตัวของท่านเอง

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     เท่านั้นยังไม่พอ ด้วยความเห็นการณ์ไกลว่าสามเณรจะต้องเป็นผู้สืบอายุพระศาสนา หลวงพ่อได้จัดการหาวิทยากรจากสถาบันที่มีชื่อเสียงมาฝึกอบรมการพูดให้กับสามเณร ทำให้สามเณรกล้าพูด กล้าคิด เพราะจะต้องเตรียมตัวพูดในหัวข้อที่กำหนดหรือที่ตนเองเลือก ในช่วงนั้น พระพี่เลี้ยงต้องคอยให้คำแนะนำและคอยเป็นที่ปรึกษาพร้อมทั้งต้องทนฟังเรื่องที่สามเณรจะต้องออกไปพูด ที่ใช้คำว่า ทนฟัง เพราะบางครั้งเราก็มีงาน มีธุระ แต่สามเณรเกิดมีอารมณ์อยากจะซ้อมพูด ก็ต้องคอยฟัง บางครั้งเดินไปเข้าห้องน้ำ พอออกมาเณรน้อยก็ยืนรออยู่ อยากซ้อมในห้องน้ำนั่นแหละ ทำไงได้ เห็นเขากระตือรือร้นขนาดนั้น เราก็ไม่กล้าปฏิเสธ

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     ยัง ยังไม่พอ หลวงพ่อทัตตชีโวท่านต้องการจะให้สามเณรฝึกเขียน จึงต้องมีการแจก สมุด ดินสอ แล้วให้บันทึกประจำวัน แรก ๆ ก็เขียนกันไม่เป็น หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำว่า 

      “ เขียนไปเถอะลูก อยากเขียนอะไรให้เขียน เอาตั้งแต่ตื่นมาเดินเข้าห้องน้ำ ไปแปรงฟัน ล้างหน้า แล้วไปสวดมนต์ ก็ว่าไป เดี๋ยวอีกหน่อยก็เก่งเอง ” 

     พอหลวงพ่อแนะอย่างนี้ ปรากฎว่าช่วงอาทิตย์แรก แทบทุกรูปข้อความจะเป็นแนวที่หลวงพ่อแนะ แต่พอผ่านไปสักค่อนเดือน เริ่มมีแววนักเขียนปรากฎ เริ่มรู้จักการบรรยายเหตุการณ์ต่าง ๆ และพัฒนาขึ้นเป็นการใส่ความเห็นเข้าไปในบันทึกด้วย

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๒) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     เมื่อผ่านไประยะหนึ่งหลวงพ่อเห็นว่าเริ่มรู้จักการเขียนกันบ้างแล้ว ท่านก็ไม่หยุดแค่นั้น ก้าวต่อไปคือการฝึกให้สามเณรเขียนกลอน อาตมาเคยกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า ทำไมหลวงพ่อต้องให้สามเณรฝึกทั้งพูดทั้งเขียน อาตมารู้ว่ามีประโยชน์แต่นึกไม่ออกว่า หากสามเณรถามจะให้เหตุผลกับเขาอย่างไรดี 

แทนที่จะตอบคำถาม หลวงพ่อกลับถามอาตมากลับว่า

     “ ท่านคิดว่า การเป็นผู้นำต้องศึกษาวิชาอะไร ”

   “ ผมว่าต้องศึกษารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ครับจะได้แนวทางในการปกครองและการออกกฎหมายเพื่อการปกครอง ” อาตมาตอบไปตามความรู้สึก

   หลวงพ่อถามต่อไปอีกว่า “ หากเป็นผู้นำ ต่อให้มีความรู้มากแค่ไหน แต่ไม่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่อยากจะบอกให้กับคนของตน จะมีประโยชน์ไหม ” แล้วท่านก็เมตตาอธิบายต่อไปว่า

    “ วันหนึ่งข้างหน้า ลูกเณรจะต้องไปเป็นผู้นำ จะต้องเอาธรรมะไปเผยแผ่ สิ่งที่ต้องเรียนรู้ ต้องศึกษาคือ วิชาอักษรศาสตร์ เพื่อให้สามารถไปสื่อสารกับผู้อื่นได้ หลวงพ่อให้ฝึกการพูด เพื่อจะได้พูดเป็น การพูดเป็นไม่ใช่สักแต่พูด น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง แต่พูดดี พูดเป็น พูดไม่กี่คำ คนเข้าใจได้

     และการที่หลวงพ่อให้ฝึกเขียนกลอน เพื่อให้รู้จักการสรุปเป็น ลองนึกดูสิ ภายในกลอนหนึ่งบท ต้องสามารถให้จบเรื่องราวได้ ให้เณรฝึกเขียนกลอนให้ดี เอามาให้หลวงพ่อตรวจด้วย อ้อ ให้พระพี่เลี้ยงเขียนมาด้วย ” 

     จากวันนั้น นอกจากจะต้องนำสรุปบันทึกเหตุการณ์ประจำวันในแผนกสามเณรไปถวายหลวงพ่อแล้ว อาตมาต้องเอาสมุดเขียนกลอนของพระพี่เลี้ยงและสามเณรไปถวายให้หลวงพ่อตรวจด้วย อาตมาจำได้ดีถึงสีหน้าของหลวงพ่อเวลาท่านตรวจดูกลอนของสามเณร ท่านจะมีความสุขมาก อ่านไป ยิ้มไป เขียนคำแนะนำไปด้วย บางครั้งท่านก็ขำ เมื่ออ่านของพระพี่เลี้ยง ท่านบอกเขียนสู้เณรไม่ได้ พร้อมกับพยากรณ์ว่า 

     “ คอยดูนะ ต่อไปลูกเณรมันจะเขียนกลอนกันเก่ง ”

    และวันนี้สิ่งที่หลวงพ่อได้พยากรณ์ไว้ก็เป็นจริงจากสามเณรองค์น้อย ๆ กลายเป็นพระมหาที่แต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนได้ไพเราะอย่างหาตัวจับยาก บางรูปสามารถพิมพ์บทกลอนธรรมะออกมาได้หลายเล่มแล้ว

     ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลงานจากนักปั้นชั้นเลิศคือ หลวงพ่อทั้งสองนั่นเอง


 


ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก
อาสภกันโต ภิกขุ
๑๐ ส.ค. ๕๙
anacaricamuni.blogspot.ae

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.11445461908976 Mins