นางมาคันทิยา ตอนที่ ๑ (ปรากฏอยู่ในเรื่อง พระนางสามาวดี)
หญิงอีกคนชื่อ ‘นางมาคันทิยา’ ก็ได้ตำแหน่งแห่ง อัครมเหสี ในสำนักของพระราชา.
ได้ยินว่า นางเป็นธิดาของพราหมณ์ชื่อ ‘มาคันทิยะ’ ในแคว้นกุรุ, แม้มารดาของนาง
ก็ชื่อว่า ‘มาคันทิยา’ เหมือนกัน. ถึงอาของนางก็ชื่อว่า ‘มาคันทิยะ’ ด้วย
นางเป็นคนมีรูปงามเปรียบด้วยเทพอัปสร. บิดา ของนาง เมื่อไม่ได้สามีที่คู่ควรแก่นาง
แม้จะถูกตระกูลใหญ่ๆ อ้อนวอน ก็กลับตะเพิด๑๒ เอาว่า “พวกท่านไม่คู่ควรแก่ ลูกสาว
ของฉัน” แล้วไล่ส่งไป.
ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลก ในเวลา ใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งอนา
คามิผล ของมาคันทิยพราหมณ์พร้อมทั้งปชาบดี (ภรรยา) ทรงถือบาตรจีวร ของพระองค์
แล้ว ได้เสด็จไปสู่สถานเป็นที่บูชาไฟของพราหมณ์นั้น ในภายนอกนิคม.
พราหมณ์นั้นแลเห็นอัตภาพอันเลิศด้วยความงาม แห่งพระรูปของพระตถาคตแล้ว
ก็คิดว่า ‘ชื่อว่าบุรุษอื่น ผู้เช่นกับบุรุษนี้ ย่อมไม่มีในโลกนี้, บุรุษนี้เป็นผู้คู่ควร แก่ธิดาของเรา,
เราจะให้ธิดาของเราแก่บุรุษนี้ เพื่อจะได้ เลี้ยงดูกัน’ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า “ท่านสมณะ ธิดา
ของ ข้าพเจ้ามีอยู่คนหนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่เห็นชายผู้คู่ควรแก่นาง ตลอดเวลายาวนานเท่านี้,
ท่านเป็นผู้คู่ควรแก่นาง และ นางก็เป็นผู้คู่ควรแก่ท่านแท้, ควรท่านได้นางไว้เป็นภรรยา
และนางก็ควรได้ท่านไว้เป็นสามี, เราจะให้นางแก่ท่าน ท่านจงยืนอยู่ในที่นี้ จนกว่าข้าพเจ้า
จะกลับมา.”
พระศาสดาไม่ตรัสอะไร ได้ทรงดุษณีภาพ (ความยินดี).
พราหมณ์ไปสู่เรือนโดยเร็วกล่าวกับนางพราหมณี ว่า “นาง! นาง! เราเห็นผู้ที่สมควรแก่
ลูกสาวของเราแล้ว, หล่อนจงแต่งตัวลูกเร็วๆ เข้า” ให้ธิดานั้นแต่งตัวแล้ว พาไป พร้อมกับ
นางพราหมณี ได้ไปหาพระศาสดา.
ทั่วพระนครกึกก้องแตกตื่นว่า “พราหมณ์นี้ไม่ให้ ลูกสาวแก่ใครๆ ด้วยอ้างว่า ‘ชายผู้สม
ควรแก่ลูกสาว ของเราไม่มี’ ตลอดเวลายาวนานเท่านี้ ได้ยินว่า ‘เขากล่าวว่า ‘วันนี้ เราเห็น
ชายผู้สมควรแก่ลูกสาวของเราแล้ว’,
ชายผู้นั้นจะเป็นเช่นไรหนอ? พวกเราจะไปดูชายคนนั้น.” มหาชนจึงออกไปพร้อมกับ
พราหมณ์นั้นด้วย.
เมื่อพราหมณ์นั้นพาธิดามาหา. พระศาสดามิได้ ประทับยืนในที่ที่พราหมณ์นั้นพูดไว้ ทรง
แสดงเจดีย์ คือ รอยพระบาทไว้ในที่นั้นแล้ว ได้เสด็จไปประทับยืนในที่อื่น.
เจดีย์คือรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม ปรากฏในที่ที่พระองค์ทรง
อธิษฐานแล้วเหยียบไว้เท่านั้น, ย่อมไม่มีในที่อื่น,
เจดีย์คือรอยพระบาท เป็นสิ่งที่ทรงอธิษฐานไว้ เพื่อประสงค์แก่บุคคลเหล่าใด, บุคคลเหล่า
นั้นพวกเดียว ย่อมแลเห็นเจดีย์คือรอยพระบาทนั้น; ก็สัตว์มีช้างเป็นต้น จงเหยียบก็ตาม, มหา
เมฆ และห่าฝนใหญ่ จงตกก็ตาม, ลมบ้าหมู จงพัดก็ ตาม เพื่อจะให้บุคคลเหล่านั้นแลไม่ เห็น,
ใคร ๆ ก็ไม่สามารถเพื่อจะลบเจดีย์ คือรอยพระบาทนั้นได้.
นางพราหมณีกล่าวกับพราหมณ์ว่า “ชายคนนั้นอยู่ ที่ไหน?” พราหมณ์คิดว่า ‘เราได้พูด
กับเขาว่า ‘ท่านจงยืนอยู่ ในที่นี้, เขาไปเสียในที่ไหนหนอ?’ แลดูอยู่ ก็เห็นเจดีย์คือ รอย
พระบาท จึงกล่าวว่า “นี้เป็นรอยเท้าของคนผู้นั้น.”
นางพราหมณีร่ายลักษณมนต์แล้วตรวจตราดูลักษณะ แห่งรอยพระบาท เพราะความเป็น
ผู้แคล่วคล่องในเวท ทั้ง ๓ พร้อม ทั้งมนต์สำหรับทายลักษณะ กล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ นี้มิใช่
รอยเท้าของผู้มักเสพกามคุณ ๕ แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
“ก็คนเจ้าราคะ พึงมีรอยเท้ากระหย่ง (เว้ากลาง),
คนเจ้าโทสะ ย่อมมีรอยเท้าอันส้นบีบ (หนักส้น),
คนเจ้าโมหะ ย่อมมีรอยเท้าจิกลง (หนักทางปลายนิ้วเท้า),
คนมีกิเลสเครื่องมุงบังอันเปิดแล้วมีรอยเช่นนี้ นี้.”
พราหมณ์กล่าวกับนางว่า “นาง หล่อนเป็นผู้มีปกติ เห็นมนต์เหมือนจระเข้ในตุ่มน้ำ
เหมือนโจรอยู่ในท่ามกลาง เรือน, จงนิ่งเสียเถิด.”
นางพราหมณีกล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านอยาก จะพูดคำใด ก็จงพูดคำนั้น, รอยเท้านี้
มิใช่รอยเท้าของ ผู้มักเสพกามคุณ ๕.” พราหมณ์แลดูข้างโน้นข้างนี้ เห็น พระศาสดาแล้วกล่าว
ว่า “นั่น คือชายผู้นั้น” จึงไปกล่าวว่า “ท่านสมณะ ข้าพเจ้าจะให้ธิดาเพื่อจะได้เลี้ยงดูกัน.”
พระศาสดาไม่ตรัสเลยว่า “เรามีความต้องการด้วย ธิดาของท่านหรือไม่มี” ตรัสว่า “
พราหมณ์ เราจะกล่าวเหตุ อันหนึ่งแก่ท่าน”
เมื่อพราหมณ์กล่าวว่า “จงกล่าวเถิดท่านสมณะ” จึงตรัสบอกการที่พระองค์ถูกมารติดตาม
ตั้งแต่ออก ผนวช จนถึงโคนต้นอชปาลนิโครธ และการประเล้า ประโลมอันธิดามารทั้งหลายผู้
มาเพื่อระงับความโศกของ มารนั้น ผู้โศกาดูรอยู่ว่า ‘บัดนี้ พระสมณโคดมนี้ล่วง วิสัยแห่งเราเสีย
แล้ว’ ประกอบขึ้นด้วยสามารถแห่งเพศ นางกุมาริกาเป็นต้น ที่โคนต้นอชปาลนิโครธ แล้วตรัสพระ
คาถานี้ว่า
"เรามิได้มีความพอใจในเมถุน
เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา,
ไฉนเล่า? จะมีความพอใจเพราะเห็นธิดาของท่านนี้
ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรและกรีส,เราไม่ปรารถนาจะถูกต้อง
ธิดาของท่านนี้ แม้ด้วยเท้า".
เมื่อจบพระคาถา พราหมณ์และพราหมณีก็ตั้งอยู่ ในอนาคามิผล.
ฝ่ายนางมาคันทิยาผู้เป็นธิดาแล ผูกอาฆาตใน พระศาสดาว่า ‘ถ้าสมณะนั้น ไม่มีความ
ต้องการด้วยเรา
ก็ควรกล่าวถึงความที่ตนไม่มีความต้องการ; แต่สมณะนี้ กลับทำให้เราเป็นผู้เต็มไปด้วย
มูตรและกรีส; เอาเถอะ, เราอาศัยความถึงพร้อมด้วยชาติ ตระกูล, ประเทศ, โภคะ ยศและวัย
ได้ภัสดาเห็นปานนั้นแล้ว จะรู้กรรมอันเราควร ทำแก่สมณโคดม.’
คำถามว่า
“ ก็พระศาสดา ทรงทราบความเกิดขึ้นแห่งความ อาฆาตในพระองค์ของนาง
หรือไม่ทรงทราบ?”
ตอบว่า
“ทรงทราบเหมือนกัน.”
คำถามว่า
“เมื่อพระองค์ทรงทราบ เหตุไฉนจึงตรัสพระคาถา?”
ตอบว่า
“พระองค์ตรัสพระคาถา ด้วยสามารถแห่งพราหมณ์ และพราหมณีทั้งสองนี้.”
ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงคำนึงถึงความ อาฆาต ย่อมทรงแสดงธรรม ด้วย
สามารถแห่งบุคคล ผู้ควร บรรลุมรรคผลเท่านั้น.