นางปฏาจารา ตอนที่๒

วันที่ 02 พค. พ.ศ.2560

นางปฏาจารา ตอนที่๒,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

        เรื่องนางปฏาจารา (ครอบครัวตายหมดเลยเป็นบ้า บวชบรรลุพระอรหันต์)

 

       ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศก เบาบางแล้วทรงเตือนอีก แล้วตรัสว่า “ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่า ปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจเพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้; เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว, ส่วนบัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึง นิพพานของตนเท่านั้น” เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า

“บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน, บิดาก็ไม่มี

ถึ งพวกพ้องก็ ไม่มี ,เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำแล้ ว

ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล

     พึงชำระทางไปพระนิพพานโดยเร็วทีเดียว”

        ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณ เท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล, ชนแม้ เหล่าอื่นเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น ดังนี้แล.

      ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นพระโสดาบันแล้ว ทูลขอ บรรพชากับพระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนัก ของพวกภิกษุณีให้บรรพชาแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้ว ปรากฏชื่อว่า “ปฏาจารา” เพราะนางกลับความประพฤติได้

        วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง. น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด.

        ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น.

        ครั้งที่ ๓ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลแม้กว่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

      นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัย ทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า ‘สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก, ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น, ตายเสีย ในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกล แม้กว่านั้น.’

      พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมี ไปเป็นดังประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า “ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น, ด้วยว่าความเป็นอยู่วันเดียว ก็ดี ขณะเดียวก็ดีของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม แห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถา นี้ว่า :-

“ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่

พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว

ของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม

ประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ของผู้นั้น.”

 

      เมื่อจบเทศนา นางปฏาจาราบรรลุพระอรหัตพร้อม ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.021216781934102 Mins