พระพุทธศาสนากับใบปริญญา

วันที่ 04 พค. พ.ศ.2560

พระพุทธศาสนากับใบปริญญา,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

เรื่องที่ ๔ พระพุทธศาสนากับใบปริญญา (ช่วงที่ ๕ฝึกตนให้เป็นบัณฑิต)

ช่วงนี้นิสิตนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบ ก็เริ่มทยอยรับ

     ปริญญาบัตรกันแล้ว ๔ ปีในมหาวิทยาลัยนั้นเร็วมาก

                   เร็วจนเพื่อนบางคนในรุ่นเดียวกัน เรายังไม่รู้จักมักคุ้นเท่าที่ควร

           ชีวิตหลังจากนี้ จะไม่มีใครให้เงินค่าขนมเราแล้ว ต้องรับผิดชอบทำ มาหาเลี้ยงชีพต้วเองให้ได้ แต่เมื่อออกไปชีวิตการทำงาน ทีเต็มไปด้วยการแข่งขัน และการตัดสินใจ เราจึงได้พบว่า ชีวิตในมหาวิทยาลัยไม่ได้สอนอะไรบางอย่างให้แก่เรา สิ่งนั้นก็คึอ เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจว่า อะไรคือความถูก-ผิด ดี-ตัว บุญ-บาป ควรทำ-ไม่ควรทำ ด้วยการสังเกตต้วเองในข้อนี้ ผมจึงมองหาการเติมเต็มสิ่งนี้จากพระพุทธศาสนา

          ตั้งแต่ผมจำความได้ ก็รู้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิด และเราก็รู้สีกเหมือนๆ ว่า เรารู้จักพระพุทธศาสนามานานแต่เมื่อเราย้อนกลับมาถามตัวเราว่า พระพุทธเจ้าคือใคร พระพุทธศาสนาสอนอะไรให้แก่เราบ้าง เรากลับตอบได้ไม่เต็มปากว่า พระพุทธศาสนาคืออะไร และสำคัญอย่างไรต่อชีวิตของเรา

         ครั้นเมื่อผมโตขึ้น รับรู้สิ่งต่างๆ กว้างขึ้น เราก็ชักจะลืมนึกถึงพระพุทธศาสนา และถูกกระแสโลกดึงใจให้ไปสนใจเรื่องอื่นๆ พระพุทธศาสนาจึงค่อยๆ เลือนไปจากใจของเรา

         จนเมื่อวันหนึ่งชีวิตมีทุกข์มากๆ เข้า ผมจึงเริ่มแสวงหาที่พึ่ง แล้วจึงค่อยมารู้ว่าพระพุทธศาสนาสำคัญอย่างไรต่อชีวิตของเรา

         ในวันนั้น ผมเองก็เป็นคนที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา และเที่ยวแสวงหาคำตอบที่ถูกใจเช่นกัน แต่พอนานวันเข้าก็ยิ่งถูกกระแสโลกอันเชี่ยวกรากดึงใจออกไปให้ห่างพระพุทธศาสนา

         การเห็นอะไรมามากเกินวัย อดทำให้คิดไม่ได้ว่า โลกนี้คงจะไม่มีคนดีเสียแล้ว คงมีแต่คนเลวมากกับเลวน้อยเป็นแน่แท้

         ในที่สุด ผมก็เริ่มห่างออกมาจากพระพุทธศาสนาทีละน้อย แล้วก็ไม่รู้ว่า ผมนับถือพระพุทธศาสนาไปทำไม แต่สิ่งหนึ่งที่พอจะยั้งใจให้คิดถึงพระพุทธศาสนาอยู่บ้างก็คีอ การยอมรับคำสอนประโยคหนึ่งของพระพุทธศาสนาที่ว่า ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว และเพราะประโยคนี้ที่ทำให้ผมเองยังพอจะเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมอยู่บ้าง

       จนกระทั่งในวันหนึ่งของเดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ก็เริ่มพบแสงสว่างว่า พระพุทธศาสนามีคุณค่าอย่างไรต่อชีวิตของคนเรา ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาเรียนอยู่ชั้น ได้มีโอกาสไปเปิดอ่านหนังสือเรื่องธัมมจักกัปปวัดตนสูตร ในหนัาที่ ๖๗ โดยบังเอิญ ผู้แต่งเป็นพระภิกษุชื่อพระภาวนาวิริยคุณ

        ผมอ่านจนกระทั่งจบหัวข้อ "ทุกข์" แล้วมมมองชีวิตก็เปลี่ยนไปข้อความในหน้านั้น บอกให้ร้ถึงความจริงของโลกและชีวิตว่า โลกนี้คือทะเลทุกข์

        เพราะว่า คนเราทุกคนตั้งแต่กำเนิดมานั้นล้วนมีทุกข์ที่ติดดามเราเหมีอนเงาตามตัวด้วยกันทั้งสิน ซึ่งทุกข์นั้น แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ เป็นความทุกข์ที่เรามองไม่เห็นตัว แต่เรารู้ว่ามันมีอยู่ และคอยตามกัดกร่อนเราอยู่ตลอดเวลา

         ๒ อย่างนั้น ก็คือ ) ทุกข์ประจำ ) ทุกข์จร

        ขึ้นชื่อว่าทุกข์ประจำนั้นแม้จะระดมมหาปราชญ์ทั้งโลกนี้มาอธิบายก็คงจะหาใครอธิบายได้ยากว่า ทำไมคนเราไม่ว่าจะหญิงชาย เด็ก-คนแก่คนหา{ม-คนสาว คนรวย-คนจน สามัญชน-กษัตริย์ ถึงได้มีอยู่ประจำตัวซึ่งได้แก่ ทุกข์จากการเกิด ทุกข์ที่เกิดจากความแก่ ทุกข์ที่เกิดจากความเจ็บ และทุกข์ที่เกิดจากความตายกันทุกคน แม้แต่ตัวมหาปราชญ์ในแต่ละยุคเองก็ยังหนีไม่พ้น สิงเหล่านี้มหาปราชญ์ที่เก่งที่สุดในแต่ละยุคก็ตอบไม่ได้ บอกได้แต่เพียงว่า เป็นธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนหนีไม่พ้นแตกไม่มีใครบอกทางเอาชนะธรรมชาติเหล่านี้ได้เลย

     นอกจากทุกข์ประจำแล้ว หนังสือเล่มนั้น ยังบอกให้ผมรู้อีกว่ามนุษย์แต่ละคนก็ยังมีทุกข์จรที่วนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาทำให้เป็นทุกข์ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๙ ประการ ได้แก่

๑. ความเสียใจทำให้เป็นทุกข์

๒. ความตัดอาลัยไม่ขาดทำให้เป็นทุกข์

๓. จิตใจหดหู่ท้อแท้ทำให้เป็นทุกข์

๔. ความน้อยอกน้อยใจทำให้เป็นทุกข์

๕. ความตรอมใจทำให้เป็นทุกข์

๖. การเจอสิงที่เกลียดทำให้เป็นทุกข์

๗. การพลัดพรากจากสิงที่รักทำให้เป็นทุกข์

๘. ความผิดหวังไม่สมดังใจทำให้เป็นทุกข์

๙. ทุกข์ทุกอย่างรวมกันทำให้เป็นทุกข์

      ทุกข์เหล่านี้หมุนเวียนกันมาทำร้ายความรูสีกในจิตใจของมนุษย์ซํ้าแล้วซํ้าเล่า เป็นทุกข์ที่มีมาตั้งแต่ก่อนที่เราจะเกิด และเมื่อเราเกิดแล้วก็ไม่มีที่ทำว่าจะน้อยลงไป มิหนำตั้ากล้บมีแนวโน้มว่าคนในโลกกล้บจะมีทุกข์เพิ่มยิ่งขึ้นอีกด้วย

         เพราะมนุษย์ทุกคนทั้งโลกต่างมีทุกข์และต้องเผชิญทุกข์อยู่เช่นนี้เป็นประจำ โลกนี้ชึ่งเป็นที่อยู่ของคนทั้งโลกจึงเปรียบเหมือนทะเลทุกข์

         เมื่อได้อ่านเนี้อหาเรื่องทุกข์นี้จบลง ผมเริ่มเข้าใจโลกและชีวิตมากขึ้น และก็เริ่มได้คิดว่า พระพุทธศาสนาให้ประโยชน์แก่ผมอย่างเหนือความคาดหมายทีเดียว ความคลางแคลงสงสัยในหลายๆ เรื่องก็พสันหายไปอย่างอัศจรรย์ รู้สีกเหมีอนกับคนที่ตาบอดมานาน แล้วจู่ๆวันหนึ่งก็มองเห็นได้เลยทีเดียว

          จากเนี้อหาธรรมะที่ได้อ่านในวันนั้น ก็ได้กลายมาเป็นข้อคิดสอนตัวเองว่า

       "คนเรานั้นมีทุกข์ติดตัวกันอยู่คนละมากๆ ทุกข์เป็นเพชฌฆาตที่เรามองไม่เห็นตัว แล้วมนุษย์เรานี้ก็แปลก ทั้งที่เวลายืนตรงไหนก็ใช้พื้นที่เพียง ตารางเมตร เดินไปไหมาไหนก็ใข้พื้นที่เพียง ตารางเมตร นั่งตรงไหนก็ ดารางเมตร จะมีพีเศษก็ตอนนอนที่ใข้พื้นที่เพียง๒ ตารางเมตร แล้วเมื่อเข้าสู่เชิงตะกอนก็เหลือแต่ขี้เถ้าหนักไม่ถึงขีดเอาอะไรไปไม่ได้เลย

        แต่ก็แปลกที่มนุษย์กลับมาดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่เกินความจำเป็นยอมทนทุกข์อยู่กับความอยากที่ไม่มีวันพอและไม่มีใครจะถมให้มันเต็มได้,แล้วก็ต้องแสวงหาเรื่อยไปจนหมดลมหายใจเข้าออก แทนที่การมีมากจะทำ ให้!ด้พบความสุขมาก แต่ผลกลับตรงข้ามคือ การมีมากกลับทำให้เขาทุกข์มากขึ้นกว่าเก่า

        สิ่งสำคัญก็คือ คนเราทุกคนตัองมีวันหมดลมหายใจอย่างแน่นอนในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ เราตัองทำความดีเอาไวัให้มากๆ เพราะเมื่อเวลาที่เราจากโลกนั้!ปแล้ว ความดีก็จะได้เป็นตัวแทนของเราไวัโนโลกนี้ ลูกหลานร่นหลังที่ตามมาก็จะได้รู้ว่าบรรพบุรุษของเขาเป็นคนดี แล้วเสียงสรรเสริญแห่งความกตัญญก็จะดังไม่ขาดสาย แม้ว่าเราจะจากโลกนี้ไปแล้วแต่ก็ยังมีคนพูดถึงถามถึงเหมือนเมื่อตอนที่เรายังมีชีวิตอยู่

      ขณะเดียวกันถ้าตอนที่เรามีชีวิตอยู่ เราทำแต่ความชั่ว เมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว ความชั่วก็จะกลายเป็นตัวแทนของเรา ให้ลูกหลานด่าทอสาปแช่งไปอีกนานแสนนาน"

      ด้วยข้อคิดตรงนี้เอง ทำ ให้ผมเริ่มรู้ตัวว่า พระพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลต่อความคิดของตัวเองแล้ว และทำให้เริ่มแล้วว่า พระพุทธศาสนามีคุณค่าต่อชีวิตของเราอย่างมหาศาล คือ ทำให้เรารู้ว่าตัวเองเป็นอย่างไร และจะด้องเตรียมตัวอย่างไรต่อไป เพื่ออนาคต

        อย่าให้วุฒิทางปริญญาของเรา มาบดบังการเรียนที่ยิ่งใหญ่จากพระพุทธศาสนานะครับ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010145668188731 Mins