เรื่องที่ ๓ แนะนำวิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น(ช่วงที่ ๖ ฝึกตนให้เป็นบัณฑิต)
จากการศึกษาคันคว้าเรื่อง "การฝึกสมาธิเบื้องต้น" ทำ ให้ผมได้พบว่า การฝึกสมาธิสามารถทำได้หลายวิธี แต่ชทุกวิธีล้วนมีผลเบื้องต้น คือ ความสงบใจในเดียวกัน ซึ่งเพียงความสงบใจอันเป็นผลเบื้องต้น ก็สามารถทำให้เกิดประโยซนต่อการเรียน การทำงาน และการดูแลครอบครัวอย่างมหาศาล
สำหรับผู้ที่สนใจ การฝึกสมาธิเบื้องต้น เท่าที่ผมศึกษามาพบว่ารวิธีที่มีผู้นิยมฝึกกันมากและเป็นที่นิยมในย่วงหลายสิบปีมานี้ คือวิธีปฏิบัติที่สืบทอดมาจาก พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สดจนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากนํ้า ภาษีเจริญ โดยท่านได้อธิบายวิธีปฏิบัติไว้ดังนี้
สมาธิ คือความสงบ สบาย และความรัสีกเป็นสุฃอย่างยิ่งที่มบุษย์สามารถสรัางขึ้นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพี่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ด้งวิธีปฏิบัติด้งนี้
๑. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องด้น แล้วสมาทานศีลห้า หรีอศีลแปด เพี่อยํ้าความมั่นคงในคุณธรรมของตัวเอง
๒. คุกเข่าหรีอนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ในอดีต และที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคตจนราวกับว่าร่างกายทั้งหมด ประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ
๓. นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นี้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในจังหวะพอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนี้อตาหรีอว่าขมวดคิว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่ากำลังจะเข้าไปส่ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง
๔. นึกกำหนดนิมิต เป็น "ดวงแก้วกลมใส" ขนาดเท่าแก้วตาดำใสสนิท ปราศจากราคี หรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า "สัมมาอะระห้ง" หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้ว กลมใส ให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้ายู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วยการนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ ก้บคำภาวนา
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงใส และกลมสนิทปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่า นิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อึ่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มืการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความร้สีกคล้ายมืดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่งช้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน แล้วจากนั้นทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นภาวะของดวงกลม ที่ทั้งใสทั้งสว่างผดช้อนขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต ตรงที่เราเอาใจใส่อย่างสมํ่าเสมอ
ดวงนี้เรียกว่า "ดวงธรรม" หรีอ "ดวงปฐมมรรค" อันเป็นประตูเบื้องต้น ที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตหรีอดวงปฐมมรรคสามารถทำไต้ในทุกแห่งทุกที ทุกอิริยาบถ เพราะดวงธรรมนี้คือที่พึ่งอันเป็นที่สุดแล้วของมนุษย์
ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สมํ่าเสมอเป็นประจำทำเรื่อยๆทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำ ไต้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น อันจะเป็นเครื่องสกัดกั้นใจมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอจนกระทั่งดวงปฐมมรรค กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ หรีอนึกเมื่อใดเป็นเห็นไต้ทุกที อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเสันทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้าไปเรื่อยๆได้อีกด้วย
ขัอควรระวัง
๑.อย่าให้กำลัง คึอไม่ใช้กำลังใดๆทั้งสิ้น เช่นไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
๒.อย่าอยากเห็น คือทำให้ใจเป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้นอุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เราไม่อาจเร่งเวลาได้
๓.อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิวิธีนี้ อาศัยการนึก "อาโลกกสิณ" คือกสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องด้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่าง แล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มืความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ประการใด
๔.เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้วให้ด้งใจไว้ทีสูนย์กลางกายทีเดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดีดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อึ่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป
๕.นิมิตต่างๆที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ด้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก
สำหรับผู้ที่นับถึอพระพุทธศาสนาเพียงอาภรณ์ประดับกายหรือเพี่อเป็นพิธีการชนิดหนึง หรือผู้ทีต้องการฝึกสมาธิเพียงเพี่อให้เกิดความสบายใจ จะได้เป็นการพักผ่อนหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ภารกิจประจำว้น โดยไม่ปรารถนาจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ ยังคิดอยู่ว่าการอยู่กับบุตรภรรยา การมิหน้ามืตาทางโลก การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารเป็นสุขกว่าการเข้านิพพาน เสมือนทหารเกณฑ์ที่ไม่คิดจะเอาดีในราชการต่อไปอีกแล้ว
การฝึกสมาธิเบืองต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็พอเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อชักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้งจนไต้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต และอย่ากระท่าความชั่วอีก เป็นอันมั่นใจได้ว่าถึงอย่างไรชาตินี้ ก็พอมีที่พึ่งเกาะที่ดีพอควร คือเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ต้องตกนรกแล้วทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆไป