วิวัฒนาการ การสร้างวัด (ตอนที่ ๑)
การสร้างวัดมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เริ่มตั้งแต่ครั้งเสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร หลังจากตรัสรู้ได้ประมาณ ๙ เดือน โดยในยุคนั้น มีการสร้างวัดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท
ประเภทที่ ๑ คือ วัดเพื่อการเผยแผ่
ประเภทที่ ๒ คือ วัดเพื่อการศึกษา
ประเภทที่ ๓ คือ วัดเพื่อการบรรลุธรรม
ว้ดทั้งสามประภทนื้มีขนาดพื้นที่ ลักษณะของท้องถิ่น และลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะส่งเสริมกันในด้านการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้พระภิกษุในยุคนั้น แม้อยู่ต่างวัดกัน แต่ก็ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังต่อไปนี้
๑.วัดเพื่อการเผยแผ่
วัดเพื่อการเผยแผ่ หมายถึง วัดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น"ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำยุค" มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่หลายร้อยหลายพันไร่ เป็นอุทยานร่มรื่น อาคารสถานที่ใหญ่โตมโหฬาร รูปทรงแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และความสง่างามก่อสร้างด้วยงบประมาณจำนวนมาก ตกแต่งด้วยวัสดุที่ทรงคุณค่าพิเศษ มีความประณีตอลังการ นิยมสร้างอยู่ในเขตป่าแถบชานเมือง นอกเมืองหลวงของอาณาจักร โดยสามารถใช้เป็นที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุได้ไม่ต่ำกว่า สี่หมื่นรูป. และสามารถจัดประชุมใหญ่ของชาวพุทธได้ไม่ตํ่ากว่า ห้าล้านคน
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างวัดเพื่อการเผยแผ่ คือ
๑)เพื่อใช้เป็นที่ประทับจำพรรษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเป็นศูนย์กลางการทรงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ขจรขจายไปทั่วทุกแว่นแควัน
๒)เพื่อให้เป็นสถานที่ประชุมสงฆ์ทั้งแผ่นดินที่เดินทางรอนแรมมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่เวันแต่ละวัน
๓)เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกอบรมพระภิกษุให้เป็นนักเผยแผ่ ก่อนจะส่งกระจายออกไปยังท้องถิ่นต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๔)เพื่อให้เป็นสถานที่ฟังธรรมและประกอบบุญกุศลของพระราชาและชาวเมืองหลวง ซึ่งนิยมมารวมประชุมกันที่วัดในเวลาเย็น หลังเสร็จสิ้นภารกิจการงานในแต่ละวันแล้ว
๕)เพื่อให้เป็นสถานที่เชิดชูจรรโลงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ให้ปรากฏขึ้นในสายตาของชาวโลกในยุคนั้น อันจะก่อความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้ยังไม่เลื่อมใสศรัทธา และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้วก็เกิดความเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป
๖)เพื่อให้เป็นสถานที่ประกอบบุญใหญ่ประจำแควัน โดยมีพระราชาและชาวพุทธเป็นเจ้าภาพร่วมกันทั้งแผ่นดิน
ในสมัยทพุทธกาล บุคคลที่สร้างวัดเพื่อการเผยแผ่นี้ ส่วนใหญ่ได้แก่ "พระราชา" ผู้ปกครองแคว้น และ "อัครมหาเศรษฐี" ประจำแคว้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปกครองบริหารและพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของบ้านเมืองในยุคนั้น เนื่องจากได้ฟังพระธรรมคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงแล้ว ต่างก็ประจักษ์ซาบซึ้งว่า พระธรรมคำสอนนั้นสามารถนำพาผองชนให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารได้จริง จึงประกาศตนเป็นศิษย์ของพระบรมศาสดา ทุ่มเทกำลังทรัพย์และก่าสังสติปัญญา เพื่ออุปถัมภ์คํ้าจุนพระภิกษุสงฆ์และอำนวยความสะดวกในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกแว่นแคว้น ด้วยการสร้างวัดให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้นในบ้านเมืองของตัวเอง
ในสมัยพุทธกาล ประเทศอินเดียแบ่งเป็นสิบหกแคว้นใหญ่ได้แก่ อังคะ, มคธ, กาสิ, โกศล, วัชชี, มัลละ, เจตี, วังสะ, กุรุ,ปัญจาละ, มัจฉะ, สุรเสนะ, อัสสกะ, อวันตี, คันธาระ, ถัมโพชะ และห้าแคว้นเล็ก ได้แก่ สักกะ, โกลิยะ, ภัคคะ, วิเทหะ, และอังคุตตราปะ
แคว้นที่เป็นอาณาจักรใหญ่ครอบครองแคว้นส่วนใหญ่ คึอ"แคว้นมคธ" กับ "แคว้นโกศล" พระราชาและมหาเศรษฐีของทั้งสองแคว้นนี้ มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีจำนวนถึง ๓ อารามใหญ่ ได้แก่
เวฬุวนาราม
พุทธอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธเป็นผู้สร้างถวายโดยดัดแปลงอุทยานส่วนพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์(นครหลวงของแคว้นมคธ) มืเนื้อที่กว้างขวางใหญ่โต ร่มรื่นด้วยป่าไผ่ อาคารและถาวรวัตถุต่างๆ ส่วนมากเป็นเครื่องไม้สร้างอย่างแข็งแรง ทนทาน ประณีต สมกับที่กษัตริย์เป็นผู้ทรงสร้างถวาย
เวฬุวนารามมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างมาก เนื่องจาก
(๑) เป็นวัดแห่งแรกที่บังเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา
(๒)เป็นว้ดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ในวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นหลักธรรมแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเป็นการประชุมกันเป็นครั้งแรกของพระอรหันต์สาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป โดยสถานที่ไม่แออัดคับแคบ
(๓) เป็นวัดศูนย์กลางการเผยแผ่และอบรมปลูกฝังศีลธรรมให้แก่ประชาชนในระยะต้นพุทธกาล ต่อเมื่อพระองค์เสด็จไปประทับที่เชตวนาราม กรุงสาวัตถีแคว้นโกศล ก็ทรงมอบหมายให้พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา พระอรหันตสาวกผู้เลิศด้วยปัญญา อยู่บริหารควบคุมบัญชางานแทนพระองค์ และใช้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริเวณภาคกลางของประเทศอินเดียตลอดมา
(๔) เป็นที่ตั้งสถูปบรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะพระอัครสาวกเบื้องซ้าย พระอรหันตสาวกผู้เลิศด้วยฤทธิ์ให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะ
(๕) เป็นที่พักจำพรรษาของพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ซึ่งเช้าร่วมการประชุมปรมสังคายนาตลอดระยะเวลา๓เดีอนเพื่อรวบรวมเรียบเรียงพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การศึกษาและการเผยแผ่ โดยมีพระเจ้าอชาตคัตรู เป็นองค์อุปถัมภ์
เชตวนาราม
ศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
อนาถบิณฑิกะเศรษฐี มหาเศรษฐีผู้เลิศด้วยการถวายทานเป็นผู้สร้างถวายโดยชื้ออุทยานของเชื้อพระวงส์นามว่า "เจ้าเชต"ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองด้านทิศใต้ของกรุงสาวัตถี (นครหลวงของแคว้นโกศล) มาดัดแปลงเป็นพระอาราม การก่อสร้างอาคารและถาวรวัตถุต่างๆ ทำ อย่างประณีต งดงาม และแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ รวมค่าที่ดินและค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสินถึง ๕๔๐ ล้านกหาปณะ คิดเป็นเงินไทยประมาณ ๒,๑๖๐ ล้านบาท (๑ กหาปณะเท่ากับ ๔ บาท) ในคัมภีร์ศาสนากล่าวชมว่า แม้พระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชาผู้ทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ที่สุดในสม้ยนั้นก็ยังสวยสู้เชตวนาราไม่ได้
เชตวนาราม เป็นพระอารามที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและปลูกฝังศีลธรรมให้กับประชาชนควบคู่กับเวฬุวัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับและแสดงพระธรรมเทศนาโปรดประชาชนอยู่ที่พระอารามนี้นานถึง ๑๙พรรษา จึงกลายเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศควบคู่กับบุพพาราม
บุพพาราม
ต้นแบบพุทธอารามเพื่อการฝึกนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา
นางวิสาขา มหาอุบาสิกาผู้เลิศด้วยการถวายทาน เป็นผู้สร้างถวายโดยชื้อที่ดินนอกเมืองด้านทิศตะวันตกของกรุงสาวัตถี หลังจากสถาปนิกออกแบบแปลนแผนผังดีแล้ว จึงลงมือก่อสร้างอารามนี้ขึ้นในบริเวณทุ่งนารกร้าง โดยมีพระโมคคัลลานะพระอรหันต์ผู้เลิศด้วยฤทธิ์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ใช้เวลาทั้งหมด ๙ เดือน การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จ อาคารที่สร้างเป็นทรงปราสาท ๒ ชั้นแต่ละชั้นมีอยู่ ๔๐๐ ห้อง จัดเป็นส่วนๆ โดยแยกเป็นที่อยู่ของพระผู้ชำนาญพระวินัยส่วนหนึ่งของพระผู้ชำนาญพระสูตรส่วนหนึ่งของผู้ชำนาญพระอภิธรรมส่วนหนึ่ง เป็นที่พักของภิกชุอาพาธส่วนหนึ่ง เป็นห้องพยาบาลส่วนหนึ่ง เป็นที่พักของพระอาคันตุกะส่วนหนึ่ง และห้องอื่นๆ อีกครบถ้วน ยอดปราสาทเป็นรูปหม้อนํ้าทรงสูง ทำ ด้วยทองคำเป็นพุทธบูชา เมึ่อสร้างเสร็จแล้วก็ปลูกต้นไม้ทำสวนปาพาให้ร่มเย็นตลอดบริเวณค่าใช้จ่ายรวมทั้งสินถึง ๒๗๐ ล้านกหาปณะ คิดเป็นเงินไทยประมาณ๑,๐๘๐ล้านบาท
เนึ่องจากบุพพารามเป็นพระอารามที่มีแบบแปลนแผนผังดีมาก ดังนั้นจึงใช้เป็นมาตรฐานในการสร้างวัดในสมัยต่อๆมาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับฉลองศรัทธาอยู่ที่พระอารามนี้ ถึง๖พรรษา นางวิสาขาก็ได้ทำนุบำรุงโดยถวายภัตตาหารและปัจจัยอื่นๆแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอารามจนตลอดชีวิต
๒.วัดเพื่อการศึกษา
วัดเพื่อการศึกษา โบราณเรียกว่า "คามวาสี"หรีอ "วัดบ้าน"หมายถึง วัดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น "โรงเรียนสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น" สำหรับพระภิกษุและชาวบ้านที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างทั่วถึง
คำว่า "คามวาสี" (คา-มะ-วา-สิ) ในพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ฉบ้บ "คำวัด" ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ปธ.๙,ราชบ้ณฑิต) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
คามวาสี แปลว่า ผู้อยู่ในหมู่บ้าน ผู้ประจำอยู่ในหมู่บ้าน
คามวาสี หมายถึง ภิกษุที่พำนักอยู่ตามวัดในหมู่บ้านหรีอในตัวเมีอง มีกิจวัตรประจำเน้นหนักไปในทางคันถธุระคือศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจคือการบริหารปกครองการเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลักเรียกกันทั่วไปว่า พระบ้าน พระเมือง ซึ่งเป็นคู่กับคำว่า อรัญญวาสีคือ พระป่า
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างวัดบ้าน คือ
๑) เพื่อเป็นที่พักจำพรรษาของพระภิกษุเถระผู้เดินทางไปทำหน้าที่เผยแผ่ใน ท้องถิ่นนั้น
๒) เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระธรรมวินัยของพระภิกษุที่บวชจากท้องถิ่นนั้น
๓) เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญและฟังธรรมของประชาชนที่อยู่ประจำท้องถิ่นนั้น
๔ เพื่อเป็นสถานที่สร้างประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธตามหน้าที่ประจำทิศ๖ เกิดขึ้นประจำท้องถิ่น
ในสมัยพุทธกาล วัดคามวาสี มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ใหญ่โต สามารถใช้เป็นที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุใดไม่ตํ่ากว่าหนึ่งพันรูป มีความเพียบพร้อมเหมาะแก่การศึกษาเล่าเรียนพุทธพจน์ คือ "ภาคปริย้ติ" ทุกประการ มีการสร้างอาคารโรงฉันและธรรมสภาไว้สำหรับเพื่อรวมชาวพุทธมาทำบุญและฟังธรรมเป็นประจำทุกวัน วันละไม่ตํ่ากว่าหนึ่งพันคน
นอกจากนี้บริเวณที่ดินด้านหลังวัด มักนิยมสร้างสวนป่าขนาดใหญ่ที่มีความสงบวิเวกทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อเป็นสถานที่ฝึกฝนการปาเพ็ญภาวนา คือภาคปฏิบัติ” โดยมีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกฝนเคี่ยวเข็ญอบรม “นิสัย
“บรรพชิต” ให้เกิดขึ้นกับพระภิกษุใหม่ จนกระทั่งแน่ใจว่า ภิกษุนั้นสามารถละทิ้ง "นิสัยเก่าของคฤห้สถ์" ได้แล้ว จึงจะอนุญาตให้ออกไปปาเพ็ญภาวนาตามลำพังในวัดป่าได้ต่อไป
ในสมัยพุทธกาล บุคคลที่สร้างวัดเพื่อการศึกษาประจำท้องถิ่นนี้ ส่วนใหญ่ได้แก่ เศรษฐี และ คหบดี ผู้ได้โอกาสบรรลุธรรมจึงมีศรัทธาแรงกล้าที่จะนำพระพุทธศาสนาไปประกาศในท้องถิ่นของตน โดยเริ่มต้นด้วยการใช้ทรัพย์สินส่วนตัวเป็นงบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมด และอุทิศถวายเป็นวัดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นก็จ้ดฉลองวัดใหม่ด้วยการเชิญชวนให้ชาวบ้านชาวเมืองเช้ามาร่วมฟังธรรม โดยรับเป็นเจ้าภาพอุปัฏฐากดูแลพระและดูแลวัดตลอดชีวิต ทำให้มีพระภิกษุใหม่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจำนวนมาก เมื่อการบำรุงวัดนันผ่านไปห้าปีสิบปี ท้องถิ่นนั้นก็รุ่งเรืองด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมีพระภิกษุทั้งที่เป็นนวกะ มัชฌิมะ และเถระเพื่มขึ้นอยู่จำนวนมาก และจาริก
กันออกไปอยู่จำพรรษาทั้งในวัดบ้านและวัดบำอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้านนั่นเอง
ในสมัยพุทธกาล แม้ว่า "เศรษฐี" กับ "คหบดี" จะมีฐานะทางสังคมที่แตกต่างกันมาก แต่ก็มีส่วนสำคัญในการขยายงานเผยแผ่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
ในยุคนั้นคำว่า "คหบดี" หรือ "คฤหบดี" หมายถึง ชาวบ้านผู้มีฐานะมั่งคั่งรํ่ารวย แต่ไม่ได้ร้บการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีจากพระราชา
ส่วนคำว่า "เศรษฐี" หมายถึง ชาวบ้านที่มีฐานะมั่งคั่งรํ่ารวยที่สุดในเมืองนั้น และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีจากพระราชาโดยตรง
ดังนั้น ในยุคพุทธกาล การเรียกผู้ใดเป็นเศรษฐี จึงหมายเอาความหมายอย่างเป็นทางการ คือผู้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีที่พระราชาแต่งตั้งให้
ส่วนการเรียกผู้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีอย่างไม่เป็นทางการว่าคฤหบดี หรีอ คหบดี ก็มีอยู่เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น จิตตคฤหบดี อุบาสกผู้เลิศด้วยการแสดงธรรม โดยฐานะตำแหน่งท่านคือเศรษฐีประจำเมืองมัจฉิกสัณฑะแคว้นมคธ แต่ชาวบ้านชาวเมืองนิยมเรียกท่านว่า คฤหบดี ซึ่งเป็นการเรียกตามความประสงค์ของเจ้าตัวบ้าง ตามความนิยมของสังคมบ้าง ตามความคุ้นเคยกันมาแต่เดิมบ้าง
สำหร้บขั้นตอนการแต่งตั้งตำแหน่งเศรบฐีอย่างเป็นทางการใน"ครั้งแรก" นั้นจะต้องประกอบด้วย
(๑) คหบดีจะต้องนำทรัพย์สินทั้งหมดมาแสดงไว้ที่พระลานหลวง เพื่อให้พระราชาทรงเห็นและชาวเมืองรับรู้เป็นพยาน
(๒) เจ้าพนักงานของรัฐตรวจสอบความโปร่งใสของที่มาของทรัพย์สินและประเมินจำนวนทรัพย์สินทั้งหมดว่ามีมูลค่าราคาเท่าไหร่
(๓) นำตัวเลขจำนวนทรัพย์สินที่ไดัไปประเมินเทียบเคียงกับบัญชีทรัพย์สินของเศรษฐีอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว
(๔) เมื่อตรวจสอบแล้วว่าในเมืองนั้น ไม่มืทรัพย์สินของผู้ใดมากกว่านี้อีกแล้ว พระราชาก็จะทรงให้การรับรอง
และประกาศแต่งตั้งให้เป็นเศรษฐีคนใหม่ทันที
(๕) เมื่อพระราชาได้พระราชทาน "ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐี" ให้แล้ว ก็ถือว่าบุคคลนั้นได้เป็นการดำรงอยู่
ในตำแหน่งเศรษฐีอย่างสมบูรณ์ แบบเป็นทางการแล้ว