วิวัฒนาการ การสร้างวัด (ตอนที่ ๒)
หลังจากแต่งตั้งแล้ว ตระกูลนั้นย่อมถูกยกระดับฐานะเป็น"ตระกูลเศรษฐี" บุตรชายสามารถสิบทอดตำแหน่งเศรษฐีประจำเมืองต่อจากบิดาได้ ผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองก็จะจดจำไวในฐานะของเศรษฐี การวางตัวของผู้นั้นก็จะตกอยู่ในสายตาของคนทั้งบ้านทั้งเมืองทันที โดยชาวเมืองก็มักจะนิยมตั้งฉายานามตามพฤติกรรมของเศรษฐีผู้นั้นต่อทัายชื่อบ้าง หรือเรียกฉายาเป็นชื่อใหม่เลยก็มี
ยกตัวอย่างเช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านมืชื่อจริงว่า สุทัตตะเศรษฐี ดำรงตำแหน่งเศรษฐีสิบต่อจากบิดา แต่เพราะท่านตั้งโรงทานเพื่อแจกจ่ายอาหารแก่คนทุกข์ยากในเมืองสาวัตถื ชาวเมืองจึงขนานฉายานามใหม่ให้ท่านว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า"เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนยากจน" หรือ "เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก" ซึ่งเป็นการเรียกชื่อตามความเป็นผู้มืใจบุญของท่านนั่นเอง
ดังนั้น ด้วยเหตุเหล่านี้ "เศรษฐี" จึงเป็นต็าแหน่งทางราชการที่บ่งบอกถึงฐานะความรํ่ารวยของประเทศ และสภาพเศรษฐกิจสังคมของบ่ระชาซน โดยผู้เป็นเศรษฐีมีหน้าที่จะต้องเข้าเฝ็าพระราชา เพื่อรายงานสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และ
คุณภาพชีวิตของบ่ระชาชน ให้พระราชาทรงทราบสถานการณ์ทั้งไนอาณาจักรและนอกอาณาจักร เพื่อจะได้ตระเตรียมนโยบายต่างๆเพื่อบำบัดทุกข์และบำรุงสุขไห้บ่ระชาชนได้อย่างทันการณ์นั่นเอง
ดังนั้น ด้วย ข้อดี ของการเป็นที่ยอมรับจากพระราชานี้เองทำให้เศรษฐีจึงมีบทบาทอย่างมากในการขยายงานพระพุทธศาสนาไบ่ไนวงกว้างอย่างรวดเร็ว เพราะได้มีโอกาสน่าพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไบปกราบทูลไห้พระราชาทราบอยู่เสมอ และยังได้รายงานถึงข้อดีต่างๆ เกี่ยวกับการอนุญาตให้พระภิกษุทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาไนแว่นแคว้นของตน ทำให้ไม่เป็นที่หวาดระแวง และได้รับความสะดวกไนการสร้างวัดไน
ท้องถิ่นต่างๆตามมา เพราะมีเศรษฐีเป็นตัวเชื่อมระหว่างพระพุทธศาสนากับพระราชานั่นเอง
ขณะเดียวกัน "คหบดี" ในแต่ละท้องถิ่น ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพราะเป็นเหมือนผู้เข้ามาช่วยอุดช่องว่างรอยโหว่ไนการทำงานเผยแผ่ของเหล่าเศรษฐีได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะไม่มีภาระทางด้านราชการ จึงมีเวลาลงสำรวจพื้นที่มากกว่า สร้างความคุ้นเคยสนิทสนมกับชาวบ้านได้คล่องตัวกว่า ทำให้ชาวบ้าน
กล้าที่จะเปิดใจพูดคุยปัญหาในชีวิตประจำวันได้โดยตรง ไม่ต้องปิดบังทำให้มีความใกล้ชิดประชาชนมากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งเศรษฐี
ดังนั้น ด้วย "ข้อดีของคหบดี" ที่เป็นผู้ใกล้ชิดประชาชนนี้เองจึงทำให้มีเวลาดูแลพระภิกษุสงฆ์ได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยไม่มีตกหล่นหรือตกค้างให้ตกระกำลำบากในการปาเพ็ญสมณธรรมเพราะมีคหบดีเป็นตัวเชื่อมระหว่างพระพุทธศาสนากับประชาชนนั่นเอง
ด้งนั้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนวัด การเพิ่มขึ้นของจำนวนพระภิกษุ การเพิ่มขึ้นของจำนวนชาวพุทธในแต่ละท้องถินนัน จึงต้องอาศัยกำลังของ "เศรษฐี" และ "คฤหบดี" ประจำท้องกิน ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งใน "เข้งกว้าง" และ "เข้งลึก"ไปควบคู่กัน
การเผยแผ่เชิงกว้าง คือ การอาศัยความน่าเชื่อถึอของตัวเองช่วยเป็นประชาสัมพันธ์ให้ชาวบัานชาวเมีองในดินแดนที่ยังไม่มีศรัทธา ให้เกิดการยอมรับในพระพุทธศาสนาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดความหวาดระแวงจากทางราชการและเกิดแรงต้านจากชาวเมืองท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะต้องการเพิ่มจำนวนวัดให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นอย่างรวดเร็วและทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ด้วยความเต็มใจต้อนรับการบังเกิดขึ้นของพระรัตนตรัยในท้องถิ่นของตนนั่นเอง
การเผยแผ่เชิงลึก คือ การใช้ทร้พย์สินส่วนตัวเป็นกองทุน ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่
๑) การสร้างวัดแห่งแรกให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น
๒) การเชิญพระภิกษุ'เถระจากวัดที่เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่มายังท้องถิ่นของตน
๓) การส่งเสร้มการคืกษาเส่าเรียนธรรมะของพระภิกษุที่บวชเพิ่มขึ้นใหม่ในท้องถิ่นของตน
๔) การซักชวนประชาสัมพันธ์ชาวบ้านชาวเมืองในท้องถิ่นนั้นมาปาเพ็ญบุญกุศลและฟังธรรมยังวัดที่ตนเป็นผู้สร้าง
๕)อีกทั้งยังรับเป็นเจ้าภาพอุปัฏฐากเลี้ยงดูพระภิกษุท้งหมดในวัดนั้นทั้งที่อยู่ประจำทั้งที่เป็นอาคันตุกะโดยไม่ให้ขาดตกบกพร่องแม้แต่มื้อเดียว ทั้งนี้เพราะต้องการให้จำนวนพระและจำนวนชาวพุทธในท้องถิ่นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อมาช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กระจายไปทั่วถึงทุกพื้นที่ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธประจำท้องถิ่นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม นอกจากเศรษฐีและคฤหบดีแล้ว การสร้างวัดเพื่อการศึกษายังเกิดจากการรวมพสังศร้ทธาของ "กลุ่มชาวบ้าน"ในระดับรากหญ้าอีกแรงหนึ่งด้วย โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ใน "เมืองใหญ่" หรือ "หมู่บ้านใหญ่" ซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของเส้นทางการค้าที่เชื่อมต่อกับหัวเมืองต่างๆ ไว้ด้วยกัน
วิธีการสร้างจะใบ้การระดมทุนทรัพย์ในหมู่บ้านและการระดมกำลังคน เพื่อช่วยกันสร้างวัดประจำท้องถิ่น ซึ่งเป็นความขวนขวายในการแสวงหาโอกาสเพื่อเล่าเรียนศึกษาพุทธพจน์นับเป็นที่น่ายกย่องอนุโมทนาอย่างยิ่ง หลังจากนัน หัวหน้า
หมู่บ้านก็จะเดินทางไปนิมนต์พระภิกษุจากวนารามบ้าง เชตวนารามบ้าง บุพพารามบ้าง หรืออาราธนาพระธุดงค์ให้อยู่ประจำที่นั่นบ้าง เพื่อให้หมู่บ้านของตนมีครูสอนศีลธรรม อันเป็นโอกาสแห่งการบรรลุธรรมตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้านิพพานไปนั่นเอง
ดังนั้น หากกล่าวโดยสรุปในเรื่อง "วัดเพื่อการศึกษา" ก็คึอการรวมพลังศรัทธาของ "สามประสาน"ในท้องถิ่นนั้นได้แก่ เศรษฐีคหบดี และกลุ่มชาวบ้านที่พร้อมใจช่วยกันสร้าง "วัดเพื่อการศึกษา"เพื่อทำงานเผยแผ่ทั้งในเบ้งลึกและเบ้งกวัางเป็นพลังความสามัคคีของท้องถิ่น ล่งผลให้งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลหยั่งรากฝังลึกในจิตใจมหาชนและแผ่ขยายขจรขจายในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การตรัสรู้ของพระองค์ทรงคุณค่าอย่างยิ่งไม่สูญเปล่า การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจึงเป็นปีกแผ่นมั่นคงได้ท้นกับเวลาอายุสังขารของพระพุทธองค์นั่นเอง ด้งตัวอย่างเช่น อัมพาฏกวันของจิตตคฤหบดี เป็นตัน
อัมพาฏกวัน
พุทธอารามเพี่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
ในสมัยยุคต้นพุทธกาล จิตตคฤหบดี ชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะแคว้นมคธ ได้พบเห็นท่านพระมหานามะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระภิกษุปัญวัคคีย์ (กลุ่มบรรพชิตห้ารูปแรกที่ได้รับการประทานบวชใน
พระพุทธศาสนาจากพระบรมศาสดาโดยตรง) กำลังเดินบิณฑบาตด้วยปฏิปทาสงบเสงี่ยม อินทรีย์ผ่องใส ทำ ให้จิตตคฤหบดีเกิดความศรัทธา ได้ขอรับบาตรจากท่าน และนิมนต์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน
เมื่อพระเถระฉันเสร็จแล้วได้เห็นอุปนิลัยแห่งการบรรลุธรรมจึงแสดงธรรมให้ฟัง หลังจบพระธรรมเทศนา จิตตคฤหบดีได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน จึงปรารถนาจะถวายอุทยาน"อัมพาฏกว้น" หรีอสวนมะม่วงของตนให้เป็นลังฆาราม ในขณะที่
หลั่งนำมอบถวายอารามลงในมือพระเถระนั้น แผ่นดินถึงกับสะเทือนหวั่นไหว เป็นการบอกเหตุให้รู้ว่า "พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นแล้ว" เพราะในยุคต้นพุทธกาลนั้น ยังขาดแคลนวัดในพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก
หลังจากนั้น จิตตคฤหบดีได้นิมนต์ให้พระเถระมารับบาตรอยู่เป็นนิตย์ จึงก่อสร้างวิหารใหญ่และที่อยู่อาศัยถวายแด่พระภิกษุที่เดินทางมาจากทิศทั้งปวง
ต่อมาพระอัครสาวกทั้งสอง คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะได้ยินข่าวเรื่องการถวายอุทยานเป็นสังฆารามของท่าน จึงเดินทางมาพร้อมกับพระภิกษุอีก ๑๐๐๐ รูป เพื่อสงเคราะห์ท่านด้วยเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ เมื่อจิตตคฤหบดีทราบข่าว ก็รีบออกไปต้อนร้บตั้งแต่หนทางกึ่งโยชน์ หรีอ ๘ กิโลเมตร ( ๑ โยชน์เท่ากับ๑๖ กิโลเมตร) หลังจากต้อนรับปฏิสันถารพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว
ก็นิมนต์ท่านพักในวิหาร และไต้วิงวอนขอฟังธรรม พระสารีบุตรก็อนุเคราะห์ด้วยการเทศน์สั้นๆ ไม่กี่คำ ท่านคฤหบดีก็ไต้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี และนิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองพร้อมด้วยภิกษุทั้งหมด ฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น ชื่อเสียงของอัมพาฏกวันก็เป็นที่รู้จักเลื่องลือในหมู่สงฆ์และชาวพุทธยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ต่อมา เมื่อจำนวนชาวพุทธเพิ่มมากขึ้นแล้ว ท่านต้องการจะเดินทางข้ามแควันมคธไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณวิหารเชตวัน แคว้นโกศล ปรากฏว่า ในขบวนเกวียน ๕๐๐ เล่ม ที่บรรทุกเสบียงไว้เต็มนั้น มีพุทธบริษัท ๔ ใหม่ ที่ไม่เคยไต้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดามาก่อนถึง ๓,๐๐๐ คน ได้แก่ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ภิกษุณี ๕๐๐ รูป
อุบาสก ๕๐๐ คน อุบาสิกา ๕๐๐ คน และบริวารอีก ๑,๐๐๐ คน จำนวนพุทธบริษัท ๔ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนื้ เป็นผลมาจากการสร้างวัดอัมพาฎกวันนั่นเอง
เมื่อกลับจากการเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว ชึ่อเสียงของท่านคฤหบดีก็เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกแคว้น วัดอัมพาฏกวันจึงกลายเป็นศูนย์กลางการสืกษาประจำท้องถิ่นที่โด่งดัง ทำให้มีพระภิกษุจากต่างถิ่นเดินทางมาพำนักที่นั่นไม่ขาดสาย ส่งผลให้ที่นั่นไม่เคยขาดแคลนครูสอนศีลธรรมแม้แต่วันเดียว ชาวบ้านจึงได้ฟังธรรมอย่างเต็มอิ่มจากพระอรหันต์ต่างถิ่นอยู่เป็นประจำสมํ่าเสมอส่งผลให้พระภิกษุในท้องถิ่นเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและมีผู้บรรลุธรรมตามมาเป็นอันมาก ต่อจากนั้นไม่นาน วัดอัมพาฏกวันจึงกลายเป็น "พุทธอารามเพื่อการศึกษาของผู้คนในท้องถิ่น" และ"ชุมทางพระอรหันต์ที่จะเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์" ที่มีชื่อ
เสียงเลื่องลือไปทั่วแผ่นดินไปโดยปริยาย
ดังเช่นตัวอย่างของ "พระอิสิท้ตตะ" ซึ่งก่อนบวช ท่านเป็นบุตรของนายกองเกวียนอยู่ที่หมู่บ้านวัฑคาม แคว้นอวันตี ได้เป็น อทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นหนัากันมาก่อน) กับจิตตคฤหบดีหลังจากได้อ่านจดหมายพรรณนาพระพุทธคุณที่สหายส่งมาให้แล้วก็เกิดศรัทธาแรงกล้า ตัดสินใจออกบวชในสำนักของ พระมหากัจจายนะ (พระอรหันต์เถระผู้เลิศด้วยการอธิบายธรรม) ปาเพ็ญเพียรไม่นานนัก ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้น ท่านต้องการไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา จึงเดินทางมาที่วัดอัมพาฏกวันซึ่งเป็นทางผ่านไปกรุงราชคฤห์ ขณะพำนักอยู่ที่นั่น ท่านได้ตอบปัญหาธรรมะของจิตตคฤหบดีให้เป็นที่แจ่มชัด สร้างความพึง
พอใจแก่หมู่สงฆ์ยิ่งนัก หลังจากซักถามประวัติกันแล้ว เมื่อจิตตคฤหบดีได้ทราบว่าท่านคืออทิฏฐสหายที่ออกบวชเพราะได้รับจดหมายข่าวของตน ก็ปีติอนุโมทนายิ่งนัก และได้อาราธนาให้ท่านอยู่ประจำที่วัดนั้น พระเถระได้กล่าวอนุโมทนาต่อคำเชิญของจิตตคฤหบดีแล้ว ก็เก็บล้มภาระส่วนตัว เดินทางมุ่งหน้าไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาตามความประสงค์ต่อไป
เรื่องราวในท่านองเดียวกับพระอิสิทัตตะนี้ มีบันทึกไวัไนคัมภีร์อีกหลายรูปหลายคณะ เช่น พระอรหันต์ที่เป็นพระเถราจารย์ประจำอยู่ที่นั่น พระอรหันต์ที่เดินทางเพียงลำพังเพื่อไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอรหันต์ที่เดินทางไปเผยแผ่ต่างแคว้นหรือพระภิกษุผู้ปรารภความเพียร ซึ่งไม่ว่าพระอรหันต์จะเดินทางมาพำนักที่อัมพาฏกว้นจำนวนกี่รูปก็ตาม จิตตคฤหบดีก็ท่าหน้าที่ของอุบาสก ไห้การต้อนร้บอุปัฏฐากดูแลด้วยปัจจัย ๔ อย่างเยิ่ยมโดยไม่ขาดตกบกพร่อง อีกทั้งยังอาราธนาไห้พระอรหันต์เถระแสดงธรรมตามที่ได้บรรลุไห้ประชา
ชนฟังอยู่เสมออีกด้วย ทำไห้จำ นวนชาวพุทธเพื่มขึ้นอย่างรวดเร็ว