การออกกำลังกาย

วันที่ 16 พค. พ.ศ.2560

ดุลยภาพบำบัดในสมัยปัจจุบัน (2)
การออกกำลังกาย "

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยปัจจุบัน , ออกกำลังกาย

1. ออกกำลังกายเพื่ออะไร
         วัตถุประสงค์ของการออกกำลังกายที่ได้รวบรวมไว้ มี 4 ประการ ดังนี้

   1) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ มีความแข็งแรงสามารถพันาตัวของมันเองต่อไปให้เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ในเวลาที่จำเป็น กล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ จะแข็งแรงก็ต่อเมื่อได้ทำหน้าที่ของมันอยู่เสมอ ถ้าทิ้งไว้เฉยๆ ก็เหี่ยวลีบไป ทั้งนี้เพราะส่วนต่างๆ ของร่างกายถูกสร้างให้พันาตนเอง โดยการตอบ นองต่อภารกิจ ดังเราจะเห็นว่า คนที่ถนัดขวากล้ามเนื้อแขนขวาของเขามักจะโตกว่าแขนซ้าย เนื่องจากแขนซ้ายไม่ค่อยได้ใช้งาน

      2) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีความทนทานสูง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าไม่เคยฝึกให้เต้นเร็วเต้นแรง พอถึงคราวที่จำเป็นจะต้องเต้นเร็วก็ทนสภาวะนั้นไม่ไหว จึงเหนื่อยมาก เป็นต้น

        3) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อ มีความยืดหยุ่นตามปกติ

        4) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อ เกิดความคล่องแคล่ว และคล่องตัว

    การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลให้กล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างของร่างกาย มีความแข็งแรง มีความทนทานสูง มีความยืดหยุ่น และมีความคล่องตัวย่อมส่งเสริมให้การรักษาภาวะสมดุลโครงสร้างของร่างกาย มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


2. การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย ในทรรศนะของคุณหมอถาวร เป็นเช่นไร

     การออกกำลังเพื่อจะให้เกิดทั้งความแข็งแรง ความทนทาน ความยืดหยุ่น ความคล่องตัวและที่สำคัญคือ ความสมดุลนั้น จะต้องทำอย่างไร

      สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์เราที่รอดชีวิตสืบชาติพันธุ์กันมาถึงทุกวันนี้ มีการเคลื่อนไหวอะไรที่สำคัญที่สุด การเคลื่อนไหวที่ผู้คนส่วนใหญ่ทำกันบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน ก็คือ การเดินและการวิ่ง

       เพราะฉะนั้น การออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือ การเดิน กับการวิ่ง จากเรื่องโครงสร้างของร่างกาย เราเข้าใจแล้วว่า ร่างกายของเรามีกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ยึดโยงกันทั่วร่างกายเวลาก้าวขาออกเดินหรือวิ่ง ร่างกายก็เคลื่อนไหวพร้อมกันทั้งหมดทุกส่วน ถ้าเราเดินหรือวิ่งโดยการรักษาท่าพื้นฐานไว้เสมอ การพัฒนากล้ามเนื้อทั้งร่างกายก็จะเป็นไปอย่าง มดุลตามธรรมชาติ การเดินที่ดีจึงไม่ใช่เดินทอดน่อง ไหล่ห่อ คางยื่น แต่ต้องเดินโดยรักษาท่าพื้นฐานให้ได้ตลอดเวลา ก้าวเดินให้สม่ำเสมอ ก้าวขาอย่างกระฉับกระเฉง ถ้าทำได้เช่นนี้ กล้ามเนื้อก็จะมีการพัฒนา หัวใจได้ออกกำลัง อวัยวะต่างๆ ข้อต่างๆ ได้เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ การออกกำลังกายจะบรรลุวัตถุประสงค์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และได้ความสมดุลตามมาอีกด้วย

     ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย คือ วันละประมาณครึ่งชั่วโมง โดยทำอย่างต่อเนื่องตลอดครึ่งชั่วโมง ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆส่วนความถี่ในการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

     ในชีวิตจริงของหลายๆ คน อาจแบ่งเวลาทำอย่างนั้นไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในแต่ละวันเราสามารถออกกำลังกายควบคู่ไปกับกิจวัตรประจำวันได้โดยการฝึกใช้การเคลื่อนไหวและการหายใจของเราที่มีอยู่ตลอดต่อเนื่องนั้นเป็นการออกกำลังกายไปในตัว เช่น ในที่ทำงานก็เดินอย่างกระฉับกระเฉง ไม่แข็งเกร็ง ไม่เฉื่อยชา หายใจลึกๆ และสม่ำเสมอโดยไม่ให้เกิดเสียงดังจนตัวเองได้ยิน เคลื่อนไหวอย่างมี ติด้วยท่าทางที่ถูกต้องสมดุลตลอดเวลา จะเดินทางไปไหนที่พอจะก้าวเดินไปได้ก็ใช้เท้าเดินไป เป็นต้น หากทำได้เช่นนี้ถือว่าเพียงพอสำหรับผู้ที่ไม่สามารถแบ่งเวลาสำหรับการออกกำลังกายโดยเฉพาะได้

    อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นๆ ก็ถือว่าดีทั้งนั้น แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องการรักษาความสมดุลควบคู่ไปด้วย มิฉะนั้น แทนที่จะเป็นคุณ อาจจะกลายเป็นโทษต่อร่างกาย


3. ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
    ต้องรักษาท่าพื้นฐานในการยืดกระดูกสันหลังอยู่เสมอเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดน้ำเหลือง และการส่งสัญญาณประสาทอยู่ในภาวะปกติ ถ้าทำได้เช่นนี้ การออกกำลังกายก็จะสามารถช่วยให้การพันาส่วนต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปได้โดยปกติ เนื่องจากไม่มีการปิดกั้นการทำงานภายในร่างกายเกิดขึ้น ร่างกายก็จะอยู่ในภาวะปกติตลอดเวลา

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010821382204692 Mins