จากประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่กจ.12/2543 ข้อ4 (ก) ได้กำหนดคุณสมบัติของธุรกิจที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯไว้ว่า จะต้องมี "ธุรกิจหลักเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ" โปรดสังเกตว่า ข้อกำหนด 4 (ก) ใช้คำว่า "และ" หมายถึงว่าธุรกิจนั้นจะต้องเป็นประโยชน์ทั้งเศรษฐกิจและสังคมจึงจะเข้าตลาดหุ้นได้ แต่น้ำเมาเป็นสาเหตุของความเสียหายต่อสังคมมหาศาลดังนี้
๑๐.๕% ของผู้ทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา
๑๖.๑% ของผู้ก่อคดีบุกรุก
๒๐.๘% ของผู้กระทำความผิดต่อร่างกาย
๓๔.๘% ของความผิดเกี่ยวกับเพศ
๕๙.๑% ของผู้ก่อคดีทำลายทรัพย์สิน
๗๒.๗% ของอุบัติเหตุบนท้องถนน
ผู้บริโภคเป็นประจำ ๕๑.๒% มีความเครียดรุนแรง และ ๔๘.๖% ซึมเศร้าในระดับที่ควรพบแพทย์
ถ้าบริโภคจนติด ๑๑.๙% มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย และ ๑๑.๓% อยากฆ่าผู้อื่น
เป็นสาเหตุของโรคร้ายกว่า ๕๐ ชนิด เช่น ตับแข็ง มะเร็งทางเดินอาหาร และสมองเสื่อม
ผู้หญิงและเด็กวันละนับล้านคนถูกทุบตีจากพ่อบ้านที่เมามาย
"บุหรี่" ทำลายร่างกายของผู้สูบ แต่ "น้ำเมา" นอกจากทำลายร่างกายแล้วยังทำลายสติสัมปชัญญะผู้ดื่มด้วย ได้ชื่อว่าเป็น "น้ำเปลี่ยนนิสัย" เราจึงได้ยินข่าว ลูกเมาเตะแม่ในวันแม่แห่งชาติ
" น้ำเมา" เสพแล้วสามารถ "ตายทันที" ทั้งจากการทะเลาะวิวาท ฆาตกรรม อุบัติเหตุทางถนน ขณะที่ "บุหรี่" ใช้เวลาหลายสิบปี
เสพแล้วสามารถ ทั้งจากการทะเลาะวิวาท ฆาตกรรม อุบัติเหตุทางถนน ขณะที่ "บุหรี่" ใช้เวลาหลายสิบปี
"น้ำเมา" สามารถ "ฆ่าคน" ได้ ทั้งๆที่ "ไม่รู้จักกัน" มาก่อน เช่น ถูกลูกหลงจากคนเมาทะเลาะวิวาทกัน ถูกคนเมาขับรถชน
สามารถ ได้ ทั้งๆที่ มาก่อน เช่น ถูกลูกหลงจากคนเมาทะเลาะวิวาทกัน ถูกคนเมาขับรถชน
จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก(WHO) และธนาคารโลก (World Bank) พบว่า อัตราการตายและความพิการทั่วโลกที่เกิดจากการดื่มน้ำเมามากกว่ายาเสพติดถึง ๕ เท่าตัว และส่งผลกระทบต่อชีวิตและอายุขัยเฉลี่ย สูงกว่าผลจากการสูบบุหรี่
จากการวิจัยพบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียกำลังผลิต(Productivity lost) ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและค่าเสียหายรวมรายจ่ายของรัฐจากอาชญากรรมและความรุนแรงที่มีสาเหตุจากการดื่มน้ำเมา สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่าปีละกว่า ๕ แสนล้านบาท๑)
"น้ำเมา" จึงไม่ใช่สินค้าธรรมดาเหมือนสินค้าอื่นๆ ทั่วไป แต่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่งที่เป็นเสมือนยาพิษกัดกร่อนทำลายเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เสื่อมทรุดลงจนถึงแก่น
จึงไม่ใช่สินค้าธรรมดาเหมือนสินค้าอื่นๆ ทั่วไป แต่เป็นชนิดหนึ่งที่เป็นเสมือนยาพิษกัดกร่อนทำลายเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เสื่อมทรุดลงจนถึงแก่น
ดังนั้นเมื่อธุรกิจบุหรี่ยังห้ามเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว จึงไม่มีเหตุผลเลยที่จะรับธุรกิจน้ำเมาที่ให้โทษมากกว่าเข้าตลาดหลักทรัพย์
๑) รศ.นพ.ยงยุทธ ขจรธรรม, นพ.บัณฑิต ศรไพศาลและดร.พิมพา ขจรธรรม, ประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ๒๕๔๗
ดังนั้น เมื่อธุรกิจน้ำเมาส่งผลเสียต่อสังคมอย่างมากมายตามสถิติข้างต้น จึงขาดคุณสมบัติที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ แม้ในทางเศรษฐกิจภาษีที่เก็บได้จากเหล้าเบียร์ ก็ไม่คุ้มกับความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาล ความเสียหายจากอุบัติเหตุ คดีต่าง ๆ ที่ต้องใช้ทรัพยากร ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา และกรมราชทัณฑ์ ซึ่งสูญเสียไปมากกว่าคุณค่าเศรษฐกิจที่เกิดจากน้ำเมา
ศาสนิกชน ๖๗ องค์กร และ ๑๗๒ องค์กรเครือข่ายงดเหล้า
ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา(ศวส.), "ธุรกิจสุรากับตลาดหลักทรัพย์" นำเสนอเวทีวิชาการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ, ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๘ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ : ๕-๖