1 ชั่วโมง ขอ 1 นาที
มีคำถามผ่านผู้ประสานงานมาว่า เนื่องจากเป็นคนมีความรับผิดชอบ
เวลาทำงานก็จะจริงจัง เอาใจใส่งาน ใจก็เลยหมกมุ่นอยู่กับงาน มักจะเกิดความเครียด อย่างนี้จะเป็นความหมองไหม
อย่างนี้ก็จัดว่าเป็นความหมองนะ แต่เป็นความหมองที่เรามองไม่ค่อยเห็น มันก็ไม่ใช่ดี ไม่ใช่ชั่ว แต่จะไปมีผลตอนใกล้ละโลกนั่นแหละ หมกมุ่นกับงานอะไร ภาพงานนั้นจะมา และที่เกิดความเครียด ก็เพราะมันคิดไม่ออก ไม่รู้จะเอายังไง ดวงปัญญาไม่สว่าง
เพราะฉะนั้น จึงให้ทำการบ้านข้อนี้ 1 นาที 1 ชั่วโมง1 เอามาช่วยตรงนี้
1 ชั่วโมง ขอแค่ 1 นาที ซึ่งไม่ได้เสียเวลามาก ดีกว่าเรามานั่งคิด
วนไปวนมา เอ๊ะ จะเอายังไง เอากับใคร เอาที่ไหน เอาเวลาใด แล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
ปัญหาที่เกิดขึ้น บางอย่างแก้ได้ บางอย่างก็แก้ไม่ได้ บางอย่างแก้ตอนนั้นได้ บางอย่างต้องใช้เวลาแก้ แต่บางอย่างใช้เวลาแก้ก็แก้ไม่ได้
เราก็ต้องคำนึงถึงความจริงของชีวิต ความจริงของงานนั้นด้วย
สมมติเราหัวโน เอายาหม่องทาได้ คันเราก็เกาได้ สามารถแก้ปัญหาตอนนั้นได้เลย
ถ้าแขนขาดก็ต้องใช้เวลา ต้องมีอุปกรณ์ มีแขนเทียมมาต่อ แต่ถ้าคอขาด อย่างนี้แก้ไม่ได้ ต้องไปเกิดใหม่อย่างเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสรุปว่า ปัญหามี 2 อย่าง สเตกิจฉา กับ อเตกิจฉา คือ ปัญหาที่แก้ได้ กับปัญหาที่แก้ไม่ได้ ที่แก้ได้ก็มี 2 อย่าง แก้ตอนนั้นได้ กับต้องใช้เวลาค่อย ๆ แก้
ต้องทำความเข้าใจว่า เราไม่ใช่ซูเปอร์แมน หรือแม้เป็นซูเปอร์แมน
ก็ยังแก้ไม่ได้ เช่น คอขาด ซูเปอร์แมนก็แก้ไม่ได้ ต้องยอมรับความจริงตรงนี้
ศึกษาให้เข้าใจ จะได้ไม่เครียดมาก เครียดพอประมาณ และก็ใช้สูตร 1 นาที ล้างใจ
เมื่อเราคิดอะไรไม่ออก ก็ให้ออกจากความคิด
ทำจิตให้สงบ เดี๋ยวก็พบทางออก
คือ 1 นาที ที่ให้ใจของเรานึกถึงท่านผู้รู้ภายใน ผู้มีอานุภาพอันไม่มีประมาณ คือพระรัตนตรัยในตัว สมมติเราเครียดกะโหลกบานมา ตั้ง 1 ชั่วโมง เราหยุดนิ่งแค่ 1 นาที แล้วเกิดปิ๊งไอเดียตอนนั้น มันคุ้มเกินคุ้ม
อย่าลืมว่า ผู้รู้ภายในหรือพระรัตนตรัยในตัวไม่ธรรมดา เราต้องนึกถึงท่านบ่อย ๆ พอนึกถึงท่าน ท่านก็นึกถึงเรา พอถึงตอนนั้น เราทำใจนิ่ง ๆ ป้อนข้อมูลเข้าไป เดี๋ยวก็ปุ๊บ ! คำตอบออกมาเลย จึงบอกให้ทำ
การบ้านข้อนี้ไง แล้วก็แกล้งพูดเรื่อยๆ ว่า “ทำไม่ได้ "ความจริง “ไม่ได้ทำ "
ต่างหาก ทุกอย่างถ้าได้ทำก็ทำได้ และห้ามตกเบิกนะ ไม่ได้ทำมา 5 ชั่วโมง เลยนั่ง 5 นาที ไม่เหมือนกันนะ ฟังให้ดี จำให้ดี
1 ทุก 1 ชั่วโมง ขอ 1 นาที เพื่อหยุดใจ นึกถึงดวง องค์พระ หรือทำใจนิ่ง ๆ ว่าง ๆ ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7
26 กันยายน พ.ศ. 2545
จากหนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่3