คำว่า “ธรรมกาย” เป็นชื่อของ “พระพุทธเจ้า” มีใน “พระไตรปิฎก”
#หลักฐานคำว่าธรรมกายในพระไตรปิฎก บาลี-ไทย ฉบับสยามรัฐ และพระไตรปิฎกหินอ่อนที่พุทธมณฑล
1. ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ
“ดูก่อนวาเสฏฐะ อันว่า คำว่า “ธรรมกาย” ก็ดี “พรหมกาย” ก็ดี “ธรรมภูต” ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ “พรหมภูตะ” ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต”
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร
พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่ม 11 ข้อ 55 หน้า 91-92
(พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 27)
อ่านเพิ่มเติม http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=4
.....
2. สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ
“ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ “ธรรมกาย” อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว”
พระสูตรขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน
พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่ม 33 ข้อ 157 หน้า 287
(พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 814)
อ่านเพิ่มเติม http://www.84000.org/tipitaka/read/?33.1/157
.....
3. ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูฯ มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา
“พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมอันใหญ่ มี “ธรรมกาย” มาก”
ขุททกนิกาย อปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน
พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่มที่ 32 ข้อ 2 หน้า 20
(พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 756)
อ่านเพิ่มเติม http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=32&A=147&Z=289
.......
4. ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสีทติฯ
“บุคคลใดยัง “ธรรมกาย”ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี”
ขุททกนิกาย อปทาน อัตถสันทัสสกเถราปทาน
พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่มที่ 32 ข้อ 139 หน้า 243
(พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 772)
อ่านเพิ่มเติม http://84000.org/tipitaka//pitaka2/v.php?B=32&A=4023&Z=4041
...ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า คำว่า “ธรรมกาย” เป็นคำที่มีอยู่แล้วในพระไตรปิฎก และเป็นพระนามของพระพุทธเจ้าโดยตรง
#ขอบคุณข้อมูลน้องแสนดี