สาระสำคัญแห่งการเคารพพระธรรม (ต่อ)
บุคคลใดก็ตาม ที่มีศรัทธามั่นในคุณของพระธรรมดังกล่าวแล้ว และได้ปฏิบัติตนดังที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรมและเพื่อให้เข้าใจความเคารพในพระธรรมทั้งภาคปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ รวมทั้งการเทศน์สอนชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขออาราธนาพระธรรมเทศนา เรื่อง คารวาธิกถา๑ ของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญพระผู้ปราบมาร มาแสดง ณ ที่นี้
โดยในเบื้องต้นของพระธรรมเทศนา พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้แสดงธรรมภาคปริยัติเฉกเช่นทั่วไป แต่เมื่อครั้นเข้าสู่พระธรรมในภาคปฏิบัติ ท่านจะหลับตาเจริญสมาธิภาวนาควบคู่ไปกับการแสดงธรรม ทำให้เกิดความลุ่มลึก หนักแน่นไปตามลำดับ ๆ ทั้งเบื้องต้นท่ามกลาง และเบื้องปลาย ส่วนผู้ฟังธรรมก็ได้นั่งหลับตาเจริญสมาธิภาวนา
น้อมใจไปในพระธรรมเทศนาฟังธรรมไปพร้อม ๆ กัน เมื่อจบพระธรรมเทศนา ได้ปรากฏผู้เข้าถึงดวงธรรมบ้าง องค์พระบ้าง ตามพระธรรมเทศนาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้แสดงไว้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้
คารวาธิกถา
๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๗
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน)
เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา เย จ พุทฺธา อนาคตา
โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน
สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหรึสุ วิหาติ จ
อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา
สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ ฯ
ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ล้วนประกอบด้วยสวนเจตนา ใคร่เพื่อจะฟังพระสัทธรรมเทศนา
ณ บัดนี้อาตมาจะได้แสดงในเรื่อง คารวาธิกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึงความเคารพในพระธรรมเป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญเรื่องนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทุก ๆ พระองค์ย่อม
เป็นแบบเดียวกันหมด ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าที่จะเคารพสิ่งอื่นไม่มีนอกจากพระธรรมแล้ว
พระพุทธเจ้าเคารพพระธรรมอย่างเดียว คือเมื่อได้ตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ตั้งพระทัยแน่แน่ว สิ่งอื่นนอกจากพระธรรมที่ตถาคตจะเคารพนั้นไม่มี ประเพณีพระพุทธเจ้าแต่ก่อน ๆ ก็แบบเดียวกัน เมื่อได้ตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ก็เคารพพระธรรมอย่างเดียวเท่านั้น
การเคารพต่อพระธรรมเราต้องเข้าใจเสียให้ชัด วันนี้จะชี้แจงแสดงให้แจ่มแจ้งว่า การเคารพทำท่าไหนอย่างไรกัน ความเคารพของเราท่านทั้งหลายในบัดนี้ซึ่งปรากฏอยู่ เมื่อเด็ก ๆ เล็ก ๆ ก็เคารพต่อพ่อแม่เพราะได้นมจากพ่อแม่เลี้ยง อัตภาพให้เป็น ไปหายหิว เคารพต่อพ่อ แม่ก็เพื่อจะกินนมเท่านั้นเอง
ยังไม่รู้เรื่องเดียงสาอันใด เคารพแม่จะรับนมเท่านั้น ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ อยากได้ผ้าเครื่องนุ่งห่ม พ่อแม่ให้ก็เคารพพ่อแม่อีก เมื่อพ่อแม่ให้ผ้าเครื่องนุ่งห่มก็เคารพ เพราะอยากได้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเท่านั้นจึงได้เคารพ
ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับขึ้นไป การอยากได้มันก็มากออกไป อาหารเครื่องเลี้ยงท้องอีก อยากได้อาหารเครื่องเลี้ยงท้องหิวได้จากพ่อแม่ หิวเวลาใดก็เคารพพ่อแม่อีก เคารพเพื่อจะกินอาหารเท่านั้น ไม่ได้เคารพเรื่องอื่น แล้วก็ต่อมาจะต้องการสิ่งใด เจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ
ต่างว่าเด็กหญิงเด็กชายมีนิสัยดีอยากจะเล่าเรียนศึกษา ก็ต้องอ้อนวอนพ่อแม่ เคารพพ่อแม่อีก เพื่อจะได้ทุนค่าเล่าเรียนศึกษา เคารพเท่านั้นไม่ได้เคารพเรื่องอื่น
ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ เมื่อได้เล่าเรียนศึกษาสำเร็จแล้วจะครองเรือน จะทำงานสมรส ก็ต้องเคารพพ่อแม่อีก เอาเงินเอาทองจากพ่อแม่ เคารพเพื่อจะเอาเงินเอาทองไปแต่งงานเท่านั้น ไม่ได้เคารพเรื่องอื่น เมื่อต้องภัยได้ทุกข์ใด ๆ
ก็คิดถึงพ่อแม่เพราะจะให้พ่อแม่ช่วยเหลือแก้ไข เคารพพ่อแม่ก็เพื่อจะให้พ่อแม่ช่วยแก้ไข เพื่อให้ตัวเป็นสุขสบายเท่านั้น การเคารพเหล่านี้ พระพุทธเจ้าก็ได้ทำมาแล้วแต่เด็ก ๆมา เราก็ได้ทำมาแล้วแต่เด็ก ๆ การเคารพเหล่านี้ เคารพอย่างเด็ก ๆ ปราศจากปัญญา
เคารพที่มีปัญญากัน พ่อบ้านก็เคารพแม่บ้าน แม่บ้านก็เคารพพ่อบ้าน เพื่อต้องการให้ความสุขซึ่งกันและกัน เคารพต้องการให้ความสุขนั่นเอง ต้องการเอาความสุขนั่นเอง หรือต้องภัยได้ทุกข์ใด ๆ ไม่มี
ใครจะช่วยเหลือ พ่อบ้านก็คิดถึงแม่บ้าน แม่บ้านก็คิดถึงพ่อบ้าน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ถ้าช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ได้ก็ต้องเลิกกัน เลิกเคารพกัน เลิกนับถือกัน ต้องแยกจากกัน นี่ความเคารพกันเป็นอย่างนี้ การเคารพเหล่านี้เป็นการเคารพสามัญทั่วโลกเป็นอยู่อย่างนี้
การเคารพของพระพุทธเจ้าที่ว่าท่านเป็นผู้เคารพในพระสัทธรรม การเคารพทั้งหลายที่ท่านได้ผ่านมาแล้วมากน้อยเท่าใดนอกจากเคารพในธรรมแล้วไม่ประเสริฐเลิศกว่า นี่ประเสริฐเลิศกว่าท่านถึงปล่อยความเคารพ วางความเคารพอื่นเสียทั้งหมด เคารพในพระสัทธรรมทีเดียว การเคารพในพระสัทธรรม เคารพในพระสัทธรรม
ท่านก็แนะนำวางตำรับตำราไว้ให้เป็นเนติแบบแผนของภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาในยุคนี้ และตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้นมา จนกระทั่งถึงบัดนี้และต่อไปในภายหน้า สมที่บาลีว่า
เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา เย จ พุทฺธา อนาคตา
โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน
สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหรึสุ วิหาติ จ
อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
ดังนี้ พระคาถาหนึ่ง แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้ว ที่ล่วงไปแล้วด้วยพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้าด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ซึ่งยังความโศกของชนเป็นอันมากให้พินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในบัดนี้ด้วย สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น วิหรึสุ วิหาติ จ มีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย แม้อันหนึ่งจะมีต่อไปในอนาคตภายภาคเบื้องหน้าด้วย
ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดาของระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพสรํ พุทฺธานสาสนํ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้อยากเป็นใหญ่ บุคคลผู้หวังประโยชน์แก่ตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพพระสัทธรรมคำนี้เป็นศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทุก ๆ พระองค์ สืบมาเป็นดังนี้ ให้เคารพพระสัทธรรมอันเดียวเท่านั้น
คำว่า เคารพสัทธรรม เป็นข้อที่ลึกล้ำนัก คำว่า เคารพ ทำกันอย่างไร ทำกันท่าไหน ทำกันไม่ถูก ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาทำไม่ถูก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย พระพุทธเจ้ากว่าจะเคารพพระสัทธรรม
ถูก ต้องสร้างบารมี ๔ อสงไขยแสนมหากัป ๘ อสงไขยแสนมหากัป๑๖ อสงไขยแสนมหากัป กว่าจะทำความเคารพในพระสัทธรรมถูก
กว่าจะปลงใจลงไปเคารพในพระสัทธรรมอย่างเดียว ไม่เคารพอื่นต่อไป กว่าจะถูกลงไปดังนี้ ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย บัดนี้เราประสบพบพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าบอกแล้ว เราเชื่อพระพุทธเจ้ากัน
แหละว่า จะเคารพธรรมตามเสด็จพระพุทธเจ้า เหมือนพระพุทธเจ้าแล้วท่านย้ำไว้ในท้ายพระสูตรนี้ว่า
บุคคลผู้รักตน บุคคลผู้มุ่งหวังประโยชน์แก่ตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพสัทธรรม ถ้าเคารพสัทธรรม ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรม ท่าน
ก็เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ในชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาลเป็นใหญ่กว่าหมดทั้งนั้น ท่านเคารพสัทธรรม
ถ้าไม่เคารพสัทธรรมละก็ด้อย เป็นใหญ่กับเขาไม่ได้ ถ้าเคารพสัทธรรมละก็ไม่ด้อย เป็น
ใหญ่กับเขาได้ เราจะต้องรู้จักพระสัทธรรมและรู้จักท่าเคารพ นี้เป็นข้อสำคัญ
"บุคคลผู้อยากเป็นใหญ่บุคคลผู้หวังประโยชน์แก่ตนจำนงความเป็นใหญ่ควรเคารพพระสัทธรรมคำนี้เป็นศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"
เชิงอรรถ อ้างอิง
๑ มรดกธรรม พระธรรมเทศนา ๖๙
กัณฑ์ของพระมงคลเทพมุนี กัณฑ์ที่ ๑๑ คารวาธิกถา
จากหนังสือ ที่สุดแห่งธรรม ถึงได้ด้วยความเคารพ 2
โดยคุณครูไม่เล็ก
ฟังหนังสือเสียง shorturl.at/hitvF