ครูบาอาจารย์ที่ศิษย์ต้องการ
ชีวิตในมหาวิทยาลัย มีอิสระเสรีโนการที่จะเลือก เรียนรู้ใหัตัวเอง มีอิสระที่จะเลือกทำกิจกรรมเพื่อ ส่วนรวม แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าใครไม่ระมัดระวัง เรื่องการใช้เวลานอกเวลาเรียนให้ดี พอเรียนจบมาแล้ว ก็อาจจะอยูในลักษณะที่ว่า "เรื่องที่ควรได้เรื่อง กลับไม่ได้เรื่อง ส่วนเรื่องที่ไม่ได้เรื่อง กลับได้เรื่อง"
ทำอย่างไรเราจึงจะเลือกเรื่องที่ต้องเรียนรู้ หรือเลือกกิจกรรมที่ ควรทำเป็น คำตอบก็คือ ต้องเลือกครูอาจารย์เป็น แล้วเข้าไปอยู่ใกล้ๆ เข้าไปไต่ถาม นำกลับมาไตร่ตรอง แล้วทดลองนำไปปฏิบัติ ติดขัดอะไร ก็กลับไปสอบถามท่านใหม่ ทำอย่างนี้ จึงจะได้ความรู้ดีๆ นอกเวลาเรียน แล้วก็กลายเป็นความผูกพันหลังจากเรียนจบไปแล้วด้วย
แต่เนื่องจากว่า ครูอาจารย์ก็มีอยู่หลายประเภท เพราะฉะนั้น ก็ ต้องรู้วิธีคัดเลือกครูก่อน ซึ่งพระอาจารย์ของผมท่านได้ให้หลักไว้อย่างนี้ "คนเราจะเอาดีได้ ก็เพราะได้ครูดี แต่เนื่องด้วยงานของครูนั้น มี อยู่ ๒ งบด้วยกัน คือ งบแนะ งบนำ
๑) งบแนะ คือ การสอนทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม
๒) งบนำ คือ การสอนสาธิตความรู้ และประพฤติเป็นตัวอย่างที่ ดีให้ศิษย์ดู โดยไม่มีคำว่า นอกเวลา หรือในเวลา
และจากงาน ๒ งบของครูนี้เอง จึงสามารถแบ่งครูได้ออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑) ครแนะดี และนำดี
ครูบาอาจารย์อย่างนี้ ท่านจัดเป็น "ปูชนียบุคคล" คือเป็นบุคคลที่ สมควรได้รับการยกย่องเทิดทูนบูชา ลูกคิษย์ต้องหมั่นกราบไหว้อยู่เสมอ
ลูกศิษย์บางคนที่ไม่เข้าใจ อาจจะมีคำถามว่า ท่านก็ได้รับค่าสอนอยู่ แล้ว ทำไมต้องกราบไหว้ท่านด้วย จะไม่เป็นการเอาเปรียบลูกคิษย์หรือ ?
ปูย่าตาทวด ท่านก็ตอบว่า ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะคนเราต้องกิน ต้องใช้ เงินเดือนที่ได้รับเป็นค่าตอบแทนสำหรับงบแนะ เป็นค่าวิชา จะ ได้มีกินมีใช้ แต่งบนำ คือ ความประพฤติดีที่ท่านทำเป็นตัวอย่าง
ครู คือ ผู้รับผิดชอบอนาคตของชาติ
คนในชาติจะมีคุณภาพ หรือด้อยคุณภาพก็
อยู่ที่ประสิทธิภาพของครู เพราะฉะนั้น ครูที่ดี
จึงต้องสั่งสอนให้ดี และนำให้ดี จึงจะได้
ลูกศิษย์ดี และเป็นครูที่ลูกศิษย์ไม่ลืม
เนื่องจากท่านทำงบส่วนนี้ด้วยใจ เราจึงควรตอบแทนท่านด้วยใจเช่นกัน คือหมั่นกราบไหว้บูชาด้วยความซาบชึ้งในพระคุณ แม้แผ่นดินกลบหน้า ก็ยังไม่ลืม
แล้วปูย่าตาทวดท่านยังกำชับอีกว่า ถ้าลูกของเราได้พบได้รํ่าเรียน กับครูบาอาจารย์ประเภทนี้แล้ว ไม่ตั้งใจให้ความเคารพ ไม่ตั้งใจเล่าเรียน เขียนอ่าน ถอดแบบความดีงาม ความสามารถมาจากท่าน ก็นับว่าเป็น ความผิดพลาดอย่างมหันต์ เข้าขั้นเป็นลูกศิษย์ที่ใชัไม่ได้ เป็นลูกศิษย์ เลวๆ กันทีเดียว
๒) ครูที่แนะดี แต่นำไม่ดี
ปู่ย่าตาทวด ท่านบอกว่า ครูประเภทนี้ ถ้าเป็นพ่อแม่ เมื่ออยู่ต่อ หน้าลูก ก็ให้การสั่งสอนอบรมดี แต่ว่าพอเลิกให้คำอบรมสั่งสอนลูกแล้ว ท่านก็ทำตัวอย่างที่ไม่ดีให้ลูกดู เช่น เหล้าเป็นของไม่ดี สอนลูกว่าอย่ากินเหล้า แต่พออยากกินขึ้นมา ก็เรียกหาลูกให้ไปชื้อหามาให้ ถ้าอย่างนี้ เด็กก็ยากจะเชื่อว่า เหล้าเป็นของไม่ดี เพราะเห็นพ่อแม่กินประจำ เป็นต้น
แต่ถ้าเป็นครูในโรงเรียน เมื่ออยู่ในห้องเรียน ท่านก็ตั้งใจสอนดี แต่เวลาอยู่นอกห้องเรียน ความประพฤติของท่านยังถือเป็นตัวอย่างไม่ได้ ทำนองเดียวกัน คือ เวลาสอนก็สอนว่าเหล้าไม่ดี การพนันไม่ดี แต่พอ ออกนอกเขตโรงเรียน เหล้าก็ดื่มจนเมาแประ การพนันทุกชนิดชํ่าชองหมด หรือวันดีคืนดีอาจจะพาลูกคิษย์ไปเข้าบาร์เข้าคลับเสียเอง ซึ่งเป็นการขัด กับคำสอนของท่านในห้องเรียน คือ ท่านสามารถแนะความรู้ได้อย่างดี แต่ความสามารถในการนำความประพฤติของท่านหย่อนไป
ใครได้พบได้เรียนกับครูบาอาจารย์ประเภทนี้ ก็มีความจำเป็นว่า ความรู้ของท่านมีมากเท่าไร ให้พยายามกวาดเรียนมาให้หมด และขณะ
ที่เข้าไปกวาดความรู้มาจากท่าน ก็ต้องระวัง อย่าไปติดความประพฤติ นักดื่มเหล้าของท่านมาหรือแม้แต่วิชาลูกเต๋า ซ่อนไพ่ของท่าน ก็ไม่เอาทั้งนั้น เพราะเป็นวิชาทำความเสื่อมให้เกิดกับตัวเอง เป็นอบายมุขที่ทำให้เราถึง กับเสียผู้เสียคน รู้จักคัดเลือกอย่างนี้แล้วจึงจะรอดตัว
ปู่ย่าตาทวด ท่านเรียกครูประเภทนี้ว่า "ลูกจ้างสอนหนังสือ" เพราะ ธรรมดาลูกจ้างมักจะไม่ทำอะไรให้เต็มกำลังความสามารถ
เหตุที่ปู่ย่าตาทวดท่านพูดแรงขนาดนี้ ก็เพื่อต้องการเตือนสติว่า ครู คือ ผู้รับผิดชอบอนาคตของชาติ คนในชาติจะมีคุณภาพ หรือด้อย
คุณภาพก็อยู่ที่ประสิทธิภาพของครู เพราะฉะนั้น ครูที่ดีจึงต้องทั้งสอนให้ดี และนำให้ดี จึงจะได้ลูกศิษย์ดี และเป็นครูที่ลูกศิษย์ไม่ลืม
๓) ครูแนะไม่ดี แต่นำดี
ครูบาอาจารย์ประเภทนี้ ท่านสอนด้วยการทำให้ดู ท่านอาจจะ อธิบายให้ลูกศิษย์ฟังไม่เก่ง แต่ท่านสอนให้ลูกศิษย์ทำได้ พูดง่ายๆ ก็คือ ท่านเก่งภาคปฏิบัติ แต่ท่านไม่เก่งการสอน
การจะได้ความรู้จากครูบาอาจารย์ท่านนี้ มีทางเดียวคือต้องไป ช่วยท่านทำงาน ติดขัดอะไรให้ขยันซักถามท่าน แล้วท่านก็จะบอก
เทคนิคต่างๆ ในภาคปฏิบัติให้แก่เรา ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีในตำรา แต่มา จากประสบการณ์ ทำให้เรามีความชำนาญทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ
๔) ครูที่แนะก็ไม่ดี นำก็ไปดี
ปูย่าตาทวดท่านบอกว่า ครูประเภทนี้ คือครูที่ทั้งสอนก็ไม่รู้เรี่อง ไม่ตั้งใจสอน ไม่เตรียมการสอน ความประพฤติก็เสียหาย เกะกะเกเร ถือเป็นแบบอย่างไม่ได้ ไม่มีแม้แต่ความน่ารักเคารพ
ปูย่าตาทวดท่านบอกว่า ครูบาอาจารย์ประเภทนี้โบราณท่านเรียก ว่า "โจรปล้นลูกศิษย์" คือปล้นเอาคุณธรรมความดีที่ครูบาอาจารย์คนก่อน เขาปลูกฝังเอาไว้ให้ไปจนหมดสิน แล้วถ่ายทอดนิสัยเลวๆ เข้าไปไว้แทนที่
พ่อแม่ส่งลูกมาอยู่กับครูประเภทนี้ไม่นาน ความดีของลูกก็จะถูก ล้างผลาญจนหมดสิ้น กลับไปถึงบ้าน พ่อแม่อาจจำไม่ได้ เพราะนึกไม่ ถึงว่าลูกจะเลวทรามลงถึงปานนี้
เรื่องเล่า...ของพี่ชายคนหนึ่ง
โดย ชัยภัทร ภัทรทิพากร