ม ง ค ล ที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร
พญานก กล่าวว่า ข้าพเจ้านำข้าวสาลีของท่าน
ไปถึงยอดงิ้วแล้ว... ให้เขากู้หนี้ใหม่...
พราหมณ์ถามว่า การให้กู้หนี้ของท่านเป็นอย่างไร
พญานก : ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้ายังอ่อน
ขนปีกยังไม่ขึ้น บุตรเหล่านั้นข้าพเจ้าเลี้ยงมาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า ให้บุตรเหล่านั้นกู้หนี้
๑. การอยู่ในครรภ์
๑.๑ เหมือนอย่างว่ามารดานั่งหรือนอนกับบุตร ยกมือหรือเท้าของบุตรนั้นห้อยลง คิดว่าเรา จักให้บุตรแข็งแรง มองดูบุตรเพื่ออยู่อย่างสบาย ฉันใด แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ก็ฉันนั้น คิดว่า ทุกข์ใดเกิดแก่ครรภ์ในขณะที่มารดายืน เดิน เคลื่อนไปมา นั่ง กลืนอาหารร้อน เย็น เค็ม ขม เผ็ด เป็นต้น มารดาเฝ้าคิดว่า ทุกข์นั้นจะมีแก่บุตรของเรา หรือไม่หนอ แล้วมองดูพระโพธิสัตว์เพื่ออยู่อย่างสบาย.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๐๕
๒. ความรักในบุตร
๒.๑ ถ้าพระองค์ทรงทราบ หรือทรงได้สดับข่าวลูกทั้งสองของพระราชบุตรีนั้น ขอได้ทรงพระกรุณาตรัสบอกแก่ข้าพระบาทโดยเร็วพลัน ดังหมอรีบพยาบาลคนที่ถูกงูกัด ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๔/๕๘๙
๒.๒ พญานกแขกเต้ากล่าวว่า ข้าพเจ้านำข้าวสาลีของท่านไปถึงยอดงิ้วแล้ว... ให้เขากู้หนี้ใหม่...
พราหมณ์ถามว่า การให้กู้หนี้ของท่านเป็นอย่างไร
พญานก : ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้ายังอ่อน ขนปีกยังไม่ขึ้น บุตรเหล่านั้นข้าพเจ้าเลี้ยงมาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า ให้บุตรเหล่านั้นกู้หนี้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๓๕๗
๒.๓ พระนางเจ้ามัทรีทอดพระเนตรเห็นพระโอรสทั้งสองเสด็จมาโดยสวัสดีแต่ที่ไกล ทรงสั่นระรัวไปทั่วพระกาย เหมือนแม่มดที่ผีสิง ฉะนั้น น้ำนมก็ไหลออกจากพระถันทั้งคู่.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๖๔/๕๙๑
๒.๔ พระลูกน้อยทั้งสองพระองค์จะขมุกขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนคอยต้อนรับแม่อยู่ที่ตรงนี้ ดังลูกโคอ่อนยืนคอยชะเง้อหาแม่ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๕๖๐
๒.๕ มโหสถบัณฑิตเข้าเฝ้าพระราชา เมื่อถึงที่ประทับได้ทำสัญญาณกับบิดา บิดาก็ลุกขึ้นจากอาสนะ ให้มโหสถบัณฑิตนั่งแทน พระราชาทรงเสียพระทัยที่มรรยาทของมโหสถเป็นเช่นนั้น ไม่เหมือนกับเกียรติศัพท์ที่ได้ยินมา
มโหสถบัณฑิตจึงได้กล่าวว่า ถ้าพระองค์สำคัญว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตร ลาของพระองค์นี้ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดร เพราะว่าลาเป็นพ่อของม้าอัสดร
พระโพธิสัตว์กระทำเช่นนั้น เพื่อแก้ปัญหาให้แจ่มแจ้ง ประกาศความเป็นบัณฑิต และข่มรัศมีของอาจารย์ทั้งสี่ที่คอยขัดขวางมโหสถบัณฑิตไม่ให้มาเข้าเฝ้าพระราชา มิใช่ประสงค์จะดูหมิ่นบิดา.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๕/๒๗๕