มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

วันที่ 15 ตค. พ.ศ.2563

15-10-63--6%20b.jpg

มงคลที่ ๔  อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

 

พึงอันตั้งอยู่ในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมมีผลไพบูลย์

ทำให้ผู้ปลูกหว่านดีใจ ฉันใด

จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียรที่บริสุทธิ์

อยู่ในที่สงัดก็งอกงามขึ้นเร็วในที่ดินอันดี คือ สติปัฏฐาน ฉันนั้น

 

 ๑. สถานที่เป็นที่สบาย

๑.๑ ธรรมดานกเค้าย่อมซ่อนตัวอย่างดี ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรซ่อนตัวไว้ด้วยการยินดีในที่สงัด ฉันนั้น.

มิลิน.๔๕๒

 

๑.๒ ธรรมดาพืชเมื่อถูกหว่านลงในที่บริสุทธิ์ ย่อมเจริญอย่างรวดเร็ว ฉันใด จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียร ผู้อยู่ในที่สงัด ผู้เจริญสติปัฏฐานก็ย่อมงอกงามได้รวดเร็ว ฉันนั้น

ข้อนี้สมกับคำของพระอนุรุทธเถระเจ้าว่า พืชอันตั้งอยู่ในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมมีผลไพบูลย์ ทำให้ผู้ปลูกหว่านดีใจ ฉันใด จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียรที่บริสุทธิ์อยู่ในที่สงัดก็งอกงามขึ้นเร็วในที่ดินอันดี คือ สติปัฏฐาน ฉันนั้น.

มิลิน.๔๓๐

 

๑.๓ ธรรมดาดวงจันทร์ย่อมเที่ยวไปในเวลากลางคืน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเที่ยวไปด้วยวิเวก ฉันนั้น.

มิลิน. ๔๔๐

 

๑.๔ ธรรมดาวานรย่อมเที่ยวไปตามต้นไม้ ยืนบนต้นไม้ นั่ง นอนบนต้นไม้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรนอน ยืน เดินอยู่ในป่าควรฝึกฝนสติปัฏฐานอยู่ในป่า ฉันนั้น.

มิลิน ๔๒๘

 

๑.๕ ธรรมดาพายุย่อมพัดความหอมเเห่งดอกไม้ป่าที่บานเเล้วให้ฟุ้งไป ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรยืนอยู่ในป่ามีดอกไม้ คือ วิมุตติเป็นอารมณ์ ฉันนั้น.

มิลิน ๔๓๘

 

๑.๖ ธรรมดาเนื้อในป่าย่อมเที่ยวไปในป่า อยู่ที่เเจ้งในเวลากลางคืน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรอยู่ป่าในเวลากลางวัน เเละอยู่ในที่เเจ้งในเวลากลางคืน ฉันนั้น

ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมอยู่ในที่เเจ้งในเวลากลางคืนในหน้าหนาว  ส่วนคืนสุดท้ายเเห่งฤดูร้อน ในเวลากลางวันเราอยู่ในที่เเจ้ง ในเวลากลางคืนเราอยู่ในป่า.

มิลิน ๔๔๖

 

๑.๗ ธรรมดาค้างคาวเมื่อบินเข้าไปในเรือนเเล้ว บินวนไปวนมาเเล้วก็จะบินออกไปไม่กังวลในเรือน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อเข้าไปบิณฑบาตในบ้านตามลำดับเเล้ว จะได้หรือไม่ได้อาหารก็ตามก็ ควรกลับออกไปโดยเร็ว ฉันนั้น ไม่ควรกังวลอยู่ในบ้าน.

มิลิน ๔๕๓

 

๑.๘ ธรรมดาของลานั้นไม่เลือกที่นอน นอนบนกองขยะก็มี ที่ทาง ๔ เเพร่ง ๓ เเพร่ง ที่ประตูบ้าน กองเเกลบก็มี ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่เลือกที่นอน ฉันนั้น ไม่ว่าจะเป็นการปูเเผ่นหนัง ปูหญ้า หรือใบไม้ หรือนอนเตียงไม้ หรือนอนพื้นดินก็นอนได้

ข้อนี้สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เปรียบเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท เเละมีความเพียร ส่วนพระสารีบุตรเจ้ากล่าวไว้ว่า การนั่งคู้บัลลังก์ หรือนั่งคุกเข่า ก็พออยู่สบายสำหรับ พระภิกษุผู้มุ่งต่อพระนิพพานเเล้ว.

มิลิน.๔๒๒

 

3-6-64-1-b.jpg

๒. อาหารเป็นที่สบาย

๒.๑ ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยหาแต่ที่กินได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรพิจารณาก่อนแล้วจึงบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมา ความสวยงามแห่งร่างกาย แต่บริโภคเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ในพรหมจรรย์ คือ การครองชีวิตอันประเสริฐ และบรรเทา เวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่เท่านั้น

           ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำบากใจ กินเพื่อประทังชีวิต ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันรถพอให้รถแล่นไปได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็บริโภคอาหารพอควรต่อการยังชีพ ฉันนั้น

มิลิน. ๔๒๓

 

๒.๒ บุรุษทายาที่แผลก็เพียงเพื่อต้องการให้เนื้อขึ้นมา หรือบุรุษพึงหยอดยาน้ำมันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนส่งของไปได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภค อาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อให้เป็นไปได้ เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์

สัง. สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๓๙๕

 

๒.๓ คนทาแผลเพื่อจะบ่มผิว คนหยอดน้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ คนกินเนื้อบุตร เป็นอาหาร เพื่อจะออกจากทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้วพึงฉันอาหาร ก็ฉันนั้น

ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๖/๔๓

 

๒.๔ ธรรมดาของงูเหลือมย่อมมีร่างกายใหญ่โต มีท้องพร่องอยู่หลายวันเพราะกินอาหารไม่เต็มท้อง แต่ได้อาหารพอยังร่างกายให้คงอยู่ได้เท่านั้น ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้ออกบิณฑบาตก็เช่นกัน ย่อมรับแต่อาหารที่ผู้อื่นให้ ไม่ถือเอาด้วยตนเอง ไม่บริโภคให้อาหารเต็มท้อง แต่บังคับตน ให้มีเหตุผลว่าอีก ๔-๕ คำจะอิ่มก็ไม่ฉันอาหารแต่ฉันน้ำลงไปแทน

            ข้อนี้สมกับคำของพระสารีบุตรเถระเจ้าว่า ภิกษุผู้ฉันอาหารทั้งสด และแห้ง ไม่ควรฉันให้อิ่มนัก ควรให้ท้องพร่อง รู้จักประมาณในอาหาร ควรมีสติละเว้นไม่ฉันให้อิ่มเกินไป เมื่อรู้ว่าอีก ๔-๕ คำจักอิ่มก็ควรดื่มน้ำ เพราะเท่านี้ก็พออยู่สบายสำหรับภิกษุผู้กระทำความเพียรแล้ว

มิลิน. ๔๕๔

 

๒.๕ บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมักนอนหลับกระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขาเลี้ยง ด้วยอาหาร ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึมย่อมเข้าห้องบ่อยๆ

ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๗๗

 

๒.๖ ภัย คือ จระเข้เป็นชื่อเเห่งความเป็นผู้เห็นเเก่ท้อง

อัง จตุกก. มก. ๓๕/๓๒๓

 

๒.๗ ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้าย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมไม่ฉันอาหารที่ได้มาอย่างผิดพระธรรมวินัย คือ ได้มาด้วยการลวงโลก การประจบ การพูด เลียบเคียง การพูดเหยียดผู้อื่น การแจกลาภด้วยลาภ หรือด้วยการให้ไม้แก่น ไม้ไผ่ ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ดินเหนียว ผงผัดหน้า เครื่องถูตัว ไม้สีฟัน น้ำล้างหน้า ข้าวต้ม แกงถั่ว ให้ของแลกเปลี่ยน แก่ชาวบ้าน หรือรับใช้ชาวบ้าน หรือเป็นหมอ หรือเป็นทูตผู้รับส่งข่าว ให้อาหารแลกอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับเสือเหลืองที่ไม่กินเนื้อลงข้างซ้าย

มิลิน. ๔๒๕

 

๒.๘ ธรรมดาราชสีห์ย่อมไม่สะสมอาหาร กินคราวหนึ่งแล้วไม่เก็บไว้อีก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรสะสมอาหาร ฉันนั้น

มิลิน. ๔๕๐

 

๒.๙ ช่างย้อมถือเอาผ้าที่หอมบ้าง เหม็นบ้าง เก่าบ้าง ใหม่บ้าง สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง มาห่อรวมเป็นห่อเดียวกัน ฉันใด เธอก็บริโภคควรใช้สอยจีวรประณีตที่ไม่มีฉันทราคะ ฉันนั้น

ม.มู. (ทัช) มก. ๑๘/๓๐๓

 

๒.๑๐ ความโลภด้วยอำนาจความพอใจในสรีระเช่นนี้ เป็นผู้ติดในรสอร่อย พึงเห็นเหมือนคนเสียคมมีดโกน ฉะนั้น

ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๓๐

 

๒.๑๑ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือนคันธนู เป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา พึงเป็นผู้ประมาณในโภชนะ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนให้แกล้วกล้า ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในสำนึกได้

ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๔/๓๒๑

 

5-6-64-2-b.jpg

มงคลที่๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

๓.บุคคลเป็นที่สบาย

๓.๑ สิ่งที่เป็นอนาคตควรเล็งดูก่อน คือ พ่อค้าต้องเล็งดูสินค้าก่อน พ่อค้าเกวียนต้อง พิจารณาท่าข้ามก่อน นายท้ายสำเภาต้องพิจารณาดูฝั่งเสียก่อน ผู้ข้ามสะพานต้องดูความมั่นคงของสะพานก่อน พระภิกษุต้องพิจารณาอาหารก่อนจึงฉัน พระโพธิสัตว์เจ้าชาติสุดท้ายต้องพิจารณาตระกูลเสียก่อนจึงจุติ

มิลิน. ๒๗๖

๓.๒ นกรู้ว่าต้นไม้มีผลหมดแล้ว ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่เต็มไปด้วยผล ฉันใด คนก็ฉันนั้น รู้ว่าเขาหมดความอาลัยแล้ว ก็ควรจะเลือกหาคนอื่นที่เขาสมัครรักใคร่ เพราะว่าโลกกว้างใหญ่พอ

ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๕๙

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.024617997805278 Mins