มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ

วันที่ 25 สค. พ.ศ.2565

mongkol-life31.jpg

ม ง ค ล ที่  ๓๑     บำเพ็ญตบะ

ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย

รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา และปรารภความเพียรอยู่

ผู้นั้นแล มารย่อมรังควานไม่ได้

เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลมรังควานไม่ได้ ฉะนั้น

 

mongkol-life31.1.jpg
๑. ธรรมชาติของจิต

     ๑.๑ เมื่อจิตพลัดออกนอกทาง คือ จิตหมุนไปในอารมณ์ต่างๆ เพราะเว้นจากสมาธิ... ท่าน เหล่านั้นขาดสมาธิ เป็นเหตุที่อุทธัจจะได้โอกาส เปรียบเหมือนลิงในป่ากระโดดมาตามกิ่งไม้ในป่า ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๙๓

     ๑.๒ การได้อารมณ์เหมือนการจับกิ่งไม้ ลิงนั้นเที่ยวไปในป่า ปล่อยกิ่งไม้นั้นๆ แล้วไปจับ กิ่งไม้อื่นๆ ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น.
สัง.นิ. (อรรถ) มก. ๒๖/๒๙๘

     ๑.๓ กระท่อม คือ ร่างกระดูกนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของลิงคือจิต เพราะฉะนั้น ลิงคือจิต จึง กระเสือกกระสนจะออกจากกระท่อมที่มีประตู๕ พยายามวิ่งวนไปมาทางประตูบ่อยๆ.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๐/๕๑

     ๑.๔ จิตนี้ อันภิกษุผู้ปรารภความเพียรยกขึ้นจากอาลัย คือ กามคุณ ๕ แล้วชัดไปใน วิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๘๗

     ๑.๕ จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้ามได้แสนยาก เพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด.
ขุ.เถร. (พุทธ) มก. ๕๓/๓๙๙

 

mongkol-life31.2.jpg
๒. การฝึกจิต

     ๒.๑ ไม้จันทน์ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อน และควรแก่ การงาน ฉันใด
               เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติ อ่อน และควรแก่การงานเหมือนจิต
     จิตที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อน และควรแก่การงาน ฉันนั้น เหมือนกัน.
อัง.เอกก. (พุทธ) มก. ๓๒/๙๕

     ๒.๒ เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์กักช้างไว้ที่ประตูนคร ฉะนั้น เราจักไม่ ประกอบจิตไว้ในธรรมอันลามก จักไม่ยอมให้จิตตกลงไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิดในร่างกาย เจ้าถูกเรา กักไว้แล้วจักไปตามชอบใจไม่ได้.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๑๘

     ๒.๓ ดูก่อนจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนืองๆ ดังก่อนมิได้ นายควาญช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ให้อยู่ในอำนาจด้วยขอ ฉันใด เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจ ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๑๘

     ๒.๔ นายสารถีผู้ฉลาดในการฝึกม้าให้ดีเป็นผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้ฉันใด เราฝึก เจ้าให้ตั้งอยู่ในพละ ๕ (ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา) ฉะนั้น จักผูกเจ้าด้วยสติ จักฝึกจับ บังคับเจ้าให้ทำธุระด้วยความเพียร เจ้าจักไม่ได้ไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๑๘

     ๒.๕ เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไปตามอาการที่ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ และตาม ความสบาย วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมัน ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๒๔

     ๒.๖ ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ ตรงดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๘๗

                ๒.๗ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงจับบุรุษอันถอยกำลังกว่าที่ศีรษะ หรือที่คอ แล้วจับบีบ ไว้แน่นให้ร้อนจัด ฉันใด อัคคิเวสสนะ เมื่อเราแล กำลังขบฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิต ไว้กับจิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัดอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๐

     ๒.๘ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ ฉันนั้น ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด ราคะก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓

     ๒.๙ ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำ เราว่า จงสำรวมระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตาม ระหว่างตรอก อย่ามีใจเกี่ยวข้องในตระกูล และกามารมณ์ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ เว้นจากโทษ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๐๑

     ๒.๑๐ ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจาก หล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๕๓

 

mongkol-life31.3.jpg
๓. ความสำรวมอินทรีย์

     ๓.๑ ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา และปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควานไม่ได้ เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลมรังควานไม่ได้ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๒

     ๓.๒ อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใดถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น แม้เหล่าเทพเจ้าย่อมกระหยิ่มต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ผู้หาอาสวะมิได้ผู้คงที่.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๘๒

     ๓.๓ บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้นก็มีหนาม ข้างหลังก็มีหนาม ข้างซ้าย ก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าแทงเรา แม้ฉันใด
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมคือปิยรูป และสาตรูปในโลกนี้ เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของ พระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๕๕

                 ๓.๔ ธรรมดาช้างย่อมมองตรงไปข้างหน้า ไม่หันซ้ายแลขวา ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรก็ไม่ควรเหลียวดูทิศโน้นทิศนี้ ไม่แหงนหรือก้ม ควรดูเพียงชั่วระยะแอก ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘

     ๓.๕ กุลบุตรผู้ต้องการศึกษาบำเพ็ญเพียร ถึงความสำรวมในทวารทั้งสองเหล่านี้(โสตทวาร และกายทวาร) จักทำที่สุดแห่งชาติ ชรา มรณะได้ฉับพลันทีเดียว เปรียบเหมือนบุรุษเจ้าของนา ถือจอบเที่ยวเดินสำรวจนา ไม่เสริมก้อนดินในที่หนึ่ง เอาจอบฟันดินเฉพาะในที่บกพร่อง เพิ่มดินในที่ มีหญ้า.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๕๔๐

     ๓.๖ ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น ตั้งจิตมั่นแล้ว ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว ภิกษุทั้งปวงนั้น เป็นบัณฑิต ย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ดุจดังว่านายสารถีถือบังเหียน ฉะนั้น.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๔/๒๐๑

     ๓.๗ บุคคลผู้มีกำลัง เมื่อผ่าไม้ ย่อมตอกลิ่มด้วยลิ่ม ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาดย่อมกำจัดอินทรีย์ ด้วยอินทรีย์ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒๐

     ๓.๘ ธรรมดากาย่อมระแวงสงสัยเสมอ ย่อมขวนขวายอยู่เสมอ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความ เพียรก็ฉันนั้น ย่อมมีความระมัดระวังอยู่เสมอ สำรวมอินทรีย์อยู่เสมอ.
มิลิน. ๔๒๘

     ๓.๙ ธรรมดาไก่ถึงมีตาก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรถึง ตาไม่บอดก็ควรทำเป็นเหมือนคนตาบอด ฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวออกบิณฑบาตในบ้าน ภิกษุผู้ปรารภความเพียรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ...
มิลิน. ๔๒๔

     ๓.๑๐ ธรรมดานางนกเงือกย่อมให้ผัวอยู่เลี้ยงลูกในโพรงด้วยความหึง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรเมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจตน ก็ควรเอาใจของตนใส่ลงในโพรง คือ การสำ รวมโดยชอบ เพื่อกั้นกางกิเลส แล้วอบรมกายคตาสติไว้โดยมโนทวาร.
มิลิน. ๔๕๑

     ๓.๑๑ ธรรมดาเต่าเมื่อเที่ยวไป ถ้าได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ หดตีนหดหัวเข้าอยู่ในกระดองนิ่งอยู่ เพื่อรักษาตัวเอง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ฉันนั้น คือ เมื่ออารมณ์อันน่ารักใคร่ภายนอกมาปรากฏ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ปิดประตูระวัง สำรวมใจไว้ ข้างใน มีสติสัมปชัญญะ รักษาสมณธรรมอยู่
                ข้อนี้สมกับคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เต่าย่อมซ่อนอวัยวะทั้ง ๕ ไว้ในกระดองของตน ฉันใด พระภิกษุก็ควรตั้งมโนวิตกไว้ให้ดี ไม่อิงอาศัยอะไร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ติเตียนใคร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๗

     ๓.๑๒ กูฏาคารศาลา หรือสันถาคารศาลามีดินหนา มีเครื่องฉาบทาอันเปียก ถึงแม้บุรุษจะ เอาคบหญ้าที่ติดไฟโชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้ บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟโชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ ทางทิศใต้ ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน ถึงแม้โดยทางไหนๆ ไฟก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้ปัจจัย ฉันใด
               ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงแม้มารจะเข้า มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่องได้ปัจจัย ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหูฯลฯ ถึงแม้มาร จะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย.
ขุ.จู. (เถระ) มก. ๖๗/๖๐๒

     ๓.๑๓ เปรียบเทียบบุรุษจับสัตว์๖ ชนิด ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน แล้วผูกด้วย เชือกที่เหนียว คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว ครั้นแล้ว พึงขมวดปมรวมกันไว้ตรงกลางปล่อยไป    

      ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้นแล สัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้น พึงดึง กันและกันเข้าหาเหยื่อ และอารมณ์ของตนๆ

     งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก
     จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ
     นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่อากาศ
     สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน
     สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า
     ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่า


       เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดา สัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังมากกว่าสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำนาจ แห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด
         ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม ไม่กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุจะฉุด ภิกษุรูปนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ จะเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจจะฉุดไปใน ธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ จะเป็นของปฏิกูล อสังวรเป็นอย่างนี้แล...
         เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่า นั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลัก หรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำ ให้มากซึ่งกายคตาสติก็ฉันนั้นเหมือน กัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล
           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรเป็นอย่างนี้แล.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๙๘

 

mongkol-life31.4.jpg
๔. โทษของการไม่สำรวมอินทรีย์

     ๔.๑ การสมาทานวัตรทั้งหมด ย่อมเป็นโมฆะสำหรับผู้ไม่สำรวมทวาร... เหมือนทรัพย์เครื่อง ปลื้มใจที่บุรุษได้ในความฝัน... ย่อมว่างเปล่า ครั้นตื่นขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เห็นอะไร เป็นโมฆะเปล่าๆ.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๒๕๑

     ๔.๒ ผู้ตามเป็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำ รวมอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทรามอยู่ มารย่อมรังควานได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลมรังควานได้ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๒

     ๔.๓ เรือนไม้อ้อก็ดีเรือนหญ้าก็ดีที่แห้งเกราะ เขาทำ ไว้ภายนอกกาลฝน ถ้าบุรุษมีคบหญ้า ลุกโชน พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้นทางทิศบูรพา ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าบุรุษมีคบ หญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้นทางทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศ เบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ไฟพึงได้ช่องได้เหตุถ้าแม้ว่าบุรุษนั้นมีคบหญ้าลุกโชน พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้นแต่ทิศใดทิศหนึ่ง ไฟพึงได้ช่อง แม้ฉันใด
     ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางกาย ทางใจ มารพึงได้ช่องได้เหตุ ฉันนั้น.
สัง.สฬา. (เถระ) มก. ๒๘/๔๓๕

     ๔.๔ พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำ ลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวหนึ่ง กลืนกินเบ็ด นั้น ปลานั้นชื่อว่า กลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ดถึงความวิบัติถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงกระทำ ได้ตามใจชอบ ฉันใด ในโลกนี้มีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้สำ หรับนำสัตว์ทั้งหลายไป สำหรับฆ่าสัตว์ทั้ง หลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
 สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๓๔๒

     ๔.๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาด เขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไรๆ ยางพึงไหลออกหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
                พ. ข้อนั้นเพราะอะไร
     ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า
                พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ

โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำ จิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๓๔๕

     ๔.๖ อินทรีย์ทั้งหลายอันถูกกระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนกระจกอันเขาตั้งไว้ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง ย่อมเปื้อนด้วยธุลีเกิดแต่ลมเป็นต้น ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๙/๑๕๔

     ๔.๗ แม่เนื้อยังมีลูกเล็ก... ย่อมเสวยทุกข์ในป่า เพราะตัดความสิเนหาในลูกไม่ขาด ได้แก่ไม่ ล่วงพ้นความทุกข์ ฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้น เมื่ออยู่อย่างผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ เพราะตัดกิเลสเครื่อง เกี่ยวข้องไม่ได้ ชื่อว่า ย่อมไม่ล่วงพ้นทุกข์ในวัฏฏะ.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๔๙๔

     ๔.๘ ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต... ย่อมไม่ยังความสำรวมให้ถึงพร้อม เหมือนนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดนั้น ไม่ปิดแผล ฉะนั้น.
อัง.ทสก. (อรรถ) มก. ๓๘/๕๗๙

     ๔.๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบ ตา หูจมูก ลิ้น กายใจ ที่แล่นไปหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ และไม่น่าใคร่ด้วยใจ สุดแท้แต่ทางใดจะมีกำลังมากกว่า ทำให้ ใจแกว่งไปทางนั้น เหมือนคนผูกสัตว์๖ ชนิด คือ งูจระเข้นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วเอา ปลายเชือกทั้งหก มาผูกรวมกัน สัตว์ตัวใดมีกำลังมากกว่า ก็จะดึงสัตว์ทั้งหลายไปในทางนั้น ภิกษุที่ ไม่อบรมกายคตาสติ ใจย่อมถูกดึงไปในทางอายตนะนั้นๆ ชื่อว่า อสังวร.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๙๗

 

mongkol-life31.5.jpg
๕. ธุดงค์คุณ

     ๕.๑ คฤหัสถ์ที่บรรลุนิพพานเพราะเคยบำเพ็ญธุดงค์คุณมาในอดีต เปรียบเหมือนพวกนาย ขมังธนูที่ฝึกวิชาธนูไว้จนชำนาญ ครั้นเข้าพระราชฐานก็ยิงถวายพระราชาอย่างแม่นยำ เหมือน แพทย์ที่เรียนมาจนชำนาญสามารถรักษาโรคได้ดี ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๑๒

     ๕.๒ การสำเร็จธรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่เคยบำเพ็ญธุดงค์คุณ เหมือนการไม่งอกแห่งพืชที่ไม่ รดน้ำ เหมือนการไปสู่สุคติย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำกุศลไว้.
มิลิน. ๔๑๒

     ๕.๓ ธุดงค์คุณเปรียบเหมือนน้ำ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผู้มุ่งความบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนไฟ เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งปวง เปรียบเหมือนยาแก้พิษงู เพราะเป็นเครื่องแก้กิเลส เปรียบ เหมือนนา เพราะเป็นที่งอกขึ้นแห่งคุณของสมณะทั้งปวง เปรียบเหมือนแก้วมณีเพราะเป็นที่ให้ สำเร็จตามความปรารถนา เปรียบเหมือนเรือเพราะเป็นที่เครื่องนำข้ามฟากสงสารได้ เปรียบ เหมือนดอกปทุม เพราะเป็นที่ไม่แปดเปื้อนกิเลส เปรียบเหมือนของหอม เพราะเป็นที่กำจัดกลิ่น เหม็นๆ ฯลฯ.
มิลิน. ๔๑๒

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.050313385327657 Mins