ม ง ค ล ที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์
ย่อมไม่เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว ฉันใด
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ
เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน
๑. เหตุเกิดราคะ
๑.๑ อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความเยื่อใย คือ ตัณหา เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปใน
วัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านทรายเกิดแต่ลำต้นปกคลุมป่าไป ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๓๙๐
๒. โทษของกาม
๒.๑ กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก
กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก... เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ... เปรียบเหมือนคบหญ้า...
เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง... เปรียบเหมือนของยืม... เปรียบเหมือนผลไม้... เปรียบเหมือนเขียง
สับเนื้อ... เปรียบเหมือนหอกและหลาว... เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๘/๑๖๔
๒.๒ บุคคลผู้เห็นอยู่ว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมี
ความยินดีน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณแก่ชนหมู่...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า เป็นของตามเผา...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า เป็นของให้เร่าร้อนมาก...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำ หนด...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า เป็นของทำ ให้กิ่งหักและให้ต้นล้ม...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า เป็นของฟัน...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอก หลาว เพราะอรรถว่า เป็นของทิ่มแทง...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงูเพราะอรรถว่า เป็นของน่าสะพรึงกลัว...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า เป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อนย่อม
เว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๘
๒.๓ กามทั้งหลายเหมือนคบเพลิงที่ลุกโพลง ย่อมไหม้คนถือที่ไม่ยอมปล่อย เพราะว่ากาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิง ย่อมจะไหม้คนที่ไม่ยอมปล่อยคบเพลิง.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๙๑
๒.๔ โปรดอย่าทรงละสุขอันไพบูลย์ เพราะเหตุแห่งกามสุขเล็กน้อยเลย อย่าทรงเป็น
ประดุจปลากลืนเบ็ดแล้วต้องเดือดร้อนภายหลัง.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๙๑
๒.๕ ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปตามกระแส เหมือนแมลงมุมตกไปตามใยข่าย
ที่ตนเองทำ ไว้.
อัง.เอกก. (พุทธ) มก. ๓๓/๑๐
๒.๖ ผู้ใดเสพกามเพราะไม่รู้จักโทษ กามก็ย่อมฆ่าผู้นั้นเสีย เหมือนบริโภคผลไม้ที่มีพิษ
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๒/๕๗๔
๒.๗ ผู้ใดไม่รู้โทษในอนาคต มัวเสพกามอยู่ ผลที่สุดกามเหล่านั้นก็จะกำ จัดบุคคลนั้นเสีย
เหมือนผลกิมปักกะกำ จัดผู้กินให้ถึงตาย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๖/๒๙๓
๒.๘ กิเลสทั้งหลายมีราคะ เป็นต้น เกิดแต่ความเยื่อใย เกิดในตน เหมือนย่านไทรเกิดแต่
ต้นไทร ฉะนั้น กิเลสเป็นอันมาก ซ่านไปแล้วในกามทั้งหลาย เหมือนเถาย่านทรายรึงรัดไปแล้วในป่า.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๗/๒๐๐
๒.๙ พืชทั้งหลายมีหญ้า สาหร่าย ไม้อ้อและกอหญ้า เป็นต้น ที่เกิดขึ้นในน้ำ อุปมาเสมือน
ว่า พืชเหล่านั้นยังมีกำลังน้ำ ให้ติดอยู่ ฉันใด เบญจกามคุณทั้งหลาย หรือว่าวัตถุกามและกิเลสกาม
ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๓๒
๒.๑๐ บุคคลยังมีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้มะเดื่อสดมียาง เปียกชุ่มด้วย
กิเลสกาม เหมือนไม้ที่แช่ไว้ในน้ำ .
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๑๓๖
๒.๑๑ ท่อนไม้ที่ตกไปในน้ำ วน ถูกกระทบที่แผ่นหิน เป็นต้น แหลกละเอียดภายในนั้นแล
ฉันใด บุคคลผู้ตกไปในวังวน คือ กามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น ถูกทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหายเป็นต้น
กระทบกระทั่งบีบคั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๔๒๘
๒.๑๒ ไฟที่จะเสมอด้วยราคะไม่มีเราย่อมเร่าร้อนด้วยกามราคะ จิตของเราถูกกามราคะ
เผาไหม้อยู่ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกลงไปสู่กระแสแห่งกิเลสทั้งหลาย
ประดุจแมงมุมตกลงไปสู่สายใยที่ตนเองทำ ไว้ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๕
๒.๑๓ บุคคลใด กู้หนี้เขาไปแล้วไม่ใช้ บุคคลนั้น ถูกเจ้าหน้าที่ทวงว่า เจ้าจงใช้หนี้ดังนี้ก็ดี
ถูกเขาพูดคำ หยาบก็ดีถูกเขาจับไปก็ดีถูกเขาประหารก็ดีย่อมไม่อาจโต้ตอบอะไรได้ย่อมอดกลั้น
ทุกอย่าง เพราะว่าหนี้นั้น มีการอดกลั้นเป็นเหตุ ฉันใด บุคคลใด ย่อมยินดีสิ่งใดด้วยกามฉันทะ
ย่อมถือเอาซึ่งสิ่งนั้น ด้วยการถือเอาด้วยตัณหา ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลนั้น ถูกเขากล่าวคำ หยาบก็ดีถูกเขาจับไปก็ดีถูกเขาประหารก็ดีย่อมอดทนทุกอย่าง
เพราะว่ากามฉันทะนั้น มีการอดกลั้นเป็นเหตุ ดุจความพอใจในกามของหญิงทั้งหลายที่ถูกสามีใน
เรือนฆ่า เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบกามฉันทะ ราวกะความเป็นหนี้อย่างนี้.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๒๒๗
๒.๑๔ ภาชนะใส่น้ำ อันไม่ระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำ นั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด
บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ย่อมเห็นอุบายเป็น
เครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๒๔
๒.๑๕ ร่างกายของชายที่อาบน้ำ สะอาดแล้ว ลูบไล้และตกแต่งดีแล้ว แต่มีฝุ่นที่ละเอียด
ตกลงที่ร่างกาย จะมีสีคล้ำ ปราศจากความงาม ทำ ให้หม่นหมอง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรทั้ง
หลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มาแล้วโดยทางอากาศ เหาะได้ด้วยกำ ลังฤทธิ์ ปรากฏแล้วในโลก
เหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ก็มีสีมัวหมองปราศจากความงาม เป็นผู้เศร้าหมองแล้ว เริ่มแต่
เวลาที่ธุลีคือ กามตกลงไปในภายในครั้งเดียว เพราะคุณความดีคือ สี... คือ ความงามและ... คือ
ความบริสุทธิ์ถูกขจัดแล้ว
อนึ่ง คนทั้งหลายแม้จะสะอาดดีแล้ว ก็จะมีสีดำ เหมือนฝาเรือน เริ่มต้นแต่เวลาถูกควันรม
ฉันใด
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีญาณบริสุทธิ์เหลือเกิน ก็จะ
ปรากฏเป็นเหมือนคนผิวดำ ท่ามกลางมหาชนทีเดียว เพราะถึงความพินาศแห่งคุณความดีเริ่มต้น
แต่เวลาที่ถูกควัน คือ กามารมณ์.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๓๔
๒.๑๖ ช้างจมอยู่ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้ด้วยตนเอง ฉันใด
ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่ม คือ กามกิเลส ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๓๕
๒.๑๗ โปรดอย่าหมุนไปหมุนมาเพราะกามทั้งหลาย ดุจสุนัขถูกล่ามโซ่เลย เพราะกาม
ทั้งหลาย จักทำ ผู้นั้นให้เป็นเหมือนคนจัณฑาลหิวจัด ได้สุนัขก็ทำ ให้พินาศได้.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๙๑
๒.๑๘ สัตว์ผู้ถูกลูกศรที่ทำ ด้วยเหล็กแทงบ้าง... ทำ ด้วยกระดูกแทงบ้าง... ทำ ด้วยงาแทง
บ้าง... ทำด้วยเขาแทงแล้วบ้าง... ทำด้วยไม้แทงบ้าง ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด
เจ็บกายเจ็บใจ ฉันใด
ความโศก คร่ำครวญ เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะวัตถุกามทั้งหลาย
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
สัตว์นั้นถูกลูกศร คือ กามแทงแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย
เจ็บใจ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๖
๒.๑๙ ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อ ย่อมกลืนเบ็ดที่คดซึ่งปกปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ
มันย่อมไม่รู้จักความตายของมัน ฉันใด
ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรงปรารถนากาม ย่อมไม่ทรงทราบพระธิดาของพระเจ้าจุลนี
เหมือนปลาไม่รู้จักความตายของตน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๓/๓๐๕
๒.๒๐ กามเหล่านั้นแม้ทุกอย่าง ชื่อว่าว่างเปล่า เพราะไม่เป็นแก่นสาร ชื่อว่ามีรสอร่อย
น้อย เหมือนหยดน้ำ ที่คมมีด.
ขุ.เถรี. (อรรถ) มก. ๕๔/๕๑๐
๒.๒๑ หัวฝีหลั่งของไม่สะอาด คือ กิเลสออกมา บวมขึ้น แก่จัด และแตกออกเพราะฉะนั้น
กามคุณเหล่านี้จึงชื่อว่าดุจหัวฝีเพราะหลั่งของไม่สะอาด คือ กิเลสออกมา และเพราะมีภาวะบวม
ขึ้น แก่จัด และแตกออก โดยการเกิดขึ้น การคร่ำคร่า และแตกพังไป.
ขุ.อป. (อรรถ) มก. ๗๐/๓๔๑
๒.๒๒ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้
ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓
๒.๒๓ มนุษย์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป ด้วยยานช้างบ้าง ยานม้าบ้าง ยานโคบ้าง
ยานแกะบ้าง ยานแพะบ้าง ยานอูฐบ้าง ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป
เพราะกามตัณหา ฉันนั้น.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๕
๒.๒๔ นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย หมู่สัตว์นี้มีราคะเป็นเครื่องประทุษร้าย.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๑
๒.๒๕ ความกำ หนัดเมื่อจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้น เหมือนกำ ลังทำ เครื่องหมายสำ หรับจำ ไว้ว่า
บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีความกำ หนัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่าเป็นเครื่องทำ เป็นเครื่องหมาย เหมือนลูกวัว
๒ ตัวที่เหมือนกันของ ๒ ตระกูล ตราบเท่าที่ยังไม่ทำ เครื่องหมายแก่ลูกวัวทั้ง ๒ ตัวนั้น ก็ย่อมไม่มี
ที่สามารถรู้ได้ว่า นี้เป็นลูกวัวของตระกูลโน้น แต่เมื่อใดเอาเหล็กแหลมที่ปลายหอก เป็นต้น มาทำ
เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีผู้สามารถรู้ได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในความดุร้ายและ
ความหลง ก็มีทำ นองอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๓๒๒
๒.๒๖ สัตว์กำ หนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมงมุมตกไปยังใยที่ตัว
ทำ ไว้เอง ฉะนั้น ธีรชนทั้งหลายตัดกระแสตัณหาแม้นั้นแล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย และเว้นทุกข์ทั้งปวงไป.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๖๘
๒.๒๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมาโทษของกามว่า เปรียบเหมือนสุนัข ซึ่งอ่อนเพลีย
เพราะความหิวเบียดเบียน เข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต
นายโคฆาตผู้ฉลาด โยนกระดูกที่เชือดชำ แหละเนื้อออกหมด เปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข
สุนัขนั้นแทะกระดูกเปื้อนแต่เลือด จะบำ บัดความเพลียเพราะหิวได้บ้างหรือ กามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก กามนี้มีโทษอย่างยิ่ง อุปมาเหมือนบุรุษถือคบเพลิง
หญ้าที่ไฟติดทั่ว แล้วเดินทวนลมไป ไฟย่อมติดหญ้า แล้วไหม้มือ บุรุษนั้น.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๘๑
๓. โทษของการครองเรือน
๓.๑ หน่อไม้มียอดอันงอกงาม เจริญด้วยกิ่งก้านโดยรอบ ย่อมเป็นของบุคคลขุดขึ้นได้
โดยยาก ฉันใด เมื่อโยมมารดานำ ภรรยามาให้ฉันแล้ว ถ้าฉันมีบุตรหรือธิดาขึ้น ก็ยากที่จะถอนตน
ออกบวชได้ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๓๕๙
๓.๒ บุคคลข้องอยู่แล้วด้วยความเยื่อใยในบุตร และภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวก่ายกัน
ฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๖๔
๓.๓ เพราะโลกสันนิวาสทั้งหมดมีภัยเฉพาะหน้าดุจถูกไฟไหม้ผูกมัดดุจเรือนจำ ปรากฏเป็น
ของน่าเกลียดดุจที่เทขยะ.
ขุ.จ. (โพธิ) มก. ๗๔/๔๑๓
๓.๔ เครื่องจองจำ ใดเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้และเกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย
หากล่าวเครื่องจองจำ นั้นว่า เป็นของมั่นคงไม่ ความกำ หนัดใดของชนทั้งหลายผู้กำ หนัดยินดียิ่งนัก
ในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลาย และเยื่อใยในบุตรและในภรรยาทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว
ความกำ หนัด และความเยื่อใยนั้นว่ามั่นคง.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๖๘
๓.๕ เมื่อไรหนอ เราจึงจักตัดความผูกพันในเรือน ดุจช้างใหญ่ตัดเครื่องผูกทำ ด้วยเหล็กได้
ฉะนั้น แล้วเข้าป่าด้วยการออกจากเรือน.
ขุ.จริยา. (โพธิ) มก. ๗๔/๔๓๑
๓.๖ ภรรยาผู้เป็นมารดาของบุตรของเรานั้น ตกแต่งร่างกายนุ่งห่มผ้าใหม่เดินมา เป็นดุจ
บ่วงมัจจุราชดักไว้.
ขุ.เถร (เถระ) มก. ๕๒/๔๖
๓.๗ มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูกและสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
ไป เหมือนห้วงน้ำ ใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับใหลอยู่ไป ฉะนั้น.
อัง.เอก. (พุทธ) มก. ๓๓/๕๓
๓.๘ มัจจุพานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตร และปศุสัตว์ ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือน
ห้วงน้ำ ใหญ่พัดเอาชาวบ้านผู้หลับไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑๓๗
๓.๙ ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เพราะไม่มีโอกาสจะทำ กุศลความดีได้ตามสบาย ชื่อว่า เป็น
ทางมาแห่งธุลีเพราะเป็นที่รวมของธุลีคือ กิเลส ดุจกองหยากเยื่อไม่ได้ปิดไว้ บรรพชา ชื่อว่า
เป็นที่แจ้ง เพราะมีโอกาสทำ กุศลความดีได้ตามสบาย.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๕๒๒
๓.๑๐ คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร คนมีโคก็ย่อมเศร้าโศกเพราะโค ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปธิทั้งหลายนั่นแล เป็นเหตุเศร้าโศกของนรชน เพราะคนที่ไม่มีอุปธิหาเศร้าโศกไม่.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๔
๓.๑๑ บุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้
บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วทำ ไม่ได้ง่าย.
วิ.ม. (ทั่วไป) มก. ๗/๕
๓.๑๒ เทวดาทูลถามพระผู้พระภาคเจ้าว่า อะไรคือกระท่อม อะไรคือรัง อะไรคือผู้สืบสกุล
อะไรคือเครื่องผูก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กระท่อมคือมารดา รังคือภรรยา ผู้สืบสกุลคือบุตร เครื่องผูก
คือตัณหา.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๙๗
๓.๑๓ นักปราชญ์ทั้งหลายไม่กล่าวว่า เครื่องจองจำ ที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้และทำด้วย
หญ้าเป็นเครื่องจองจำ ที่มั่น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ความรักใคร่ในแก้วมณีและกุณฑล
ความอาลัยในบุตร และภรรยาทั้งหลายว่า เป็นเครื่องจองจำ ที่มั่นคง เป็นเครื่องจองจำ ที่หย่อน แต่
แก้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำ เช่นนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๔๔๘
๔. โทษของหญิง
๔.๑ ในร่างกายของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนางปีศาจ
มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓
๔.๒ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่ม
ผู้ชอบสะอาดหลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓
๔.๓ ภัยคือปลาฉลาม นี้เป็นชื่อของมาตุคาม.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๓๒๔
๔.๔ บุคคลพึงพูดกับบุคคลผู้มีดาบในมือ กับปีศาจ นั่งชิดกับอสรพิษ ผู้ที่ถูกคนมีดาบ
ปีศาจ อสรพิษกัดแล้วย่อมไม่มีชีวิต ภิกษุพูดกับมาตุคามสองต่อสอง ก็ไม่มีชีวิตเหมือนกัน.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๔๒๘
๔.๕ หญิงย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์ เหมือนเถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลายย่อม
ติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ คนเทหยาก
เยื่อก็ช่าง หญิงทั้งหลาย ย่อมละทิ้งชายผู้มีตระกูลแต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตามชาย
เช่นนั้นได้เพราะเหตุแห่งทรัพย์.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๕๓๐
๔.๖ หญิงทั้งหลายย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รัก ทั้งที่ไม่รัก เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๒๙
๔.๗ ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายในโลก มีอุปมาเหมือนแม่น้ำ หนทาง โรงน้ำดื่ม ที่ประชุม และ
บ่อน้ำ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ถือโกรธหญิงเหล่านั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๖/๑๔๒
๔.๘ หญิงทั้งหลาย บุรุษไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ด้วยถ้อยคำ อันอ่อนหวาน ยากที่จะให้เต็ม
ได้ เปรียบเสมอด้วยแม่น้ำ ... บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเหล่านี้ย่อม
เข้าไปคบหาบุรุษใด เพราะความรักใคร่ก็ตาม เพราะทรัพย์ก็ตาม ย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน
เปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเอง ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๑๐๔
๔.๙ ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้เลวทราม เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีเขตแดน มีแต่ความกำ หนัดยินดี
คึกคะนองไม่มีเลือก เหมือนไฟที่ไหม้ไม่เลือกฉะนั้น เราจักละทิ้งหญิงเหล่านั้นไปบวชเพิ่มพูนวิเวก.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๖/๑๑๐
๔.๑๐ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไป
ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน
เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวังเห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาไว้ เมื่อนั้นก็ใช้วาจาอ่อน
หวานชักนำ บุรุษไปได้เหมือนชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น
เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวัง ไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือเอาได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้ง
บุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคน
เดียว หรือสองคน ย่อมรับรองทั่วไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่า ของเรา
ก็เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภาและบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๙๖
๔.๑๑ ผู้หญิงทั้งหลายเป็นผู้มีมารยา... หลอกลวง เปรียบเหมือนพยับแดด.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๗๑
๔.๑๒ ภาวะของหญิงทั้งหลายรู้ได้ยาก เหมือนทางไปของปลาในน้ำ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๓๒
๔.๑๓ ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระเจ้าแผ่นดินผู้ได้มูรธาภิเษก ๑ หญิงทุกคน ๑
ทั้ง ๕ นี้ควรคบด้วยความระมัดระวังเป็นนิตย์เพราะว่าสิ่งทั้ง ๕ นี้มีอัธยาศัยที่รู้ได้ยาก.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๐/๑๐๗
๔.๑๔ หญิงทั้งหลายเปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ มีมายากล้าแข็ง
เหมือนแม่น้ำ มีกระแสเชี่ยว ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่น่ารัก ทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้
และฝั่งโน้น ฉะนั้น.
ขุชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๙๖
๔.๑๕ ชนผู้ตกอยู่ในอำ นาจของมาตุคาม ถึงมีกำลังก็เป็นผู้หมดกำลัง แม้มีเรี่ยวแรงก็เสื่อม
ถอย มีตาก็เป็นคนตาบอด. ชนผู้ตกอยู่ในอำ นาจของมาตุคาม ถึงมีคุณความดีก็หมดคุณความดีแม้
มีปัญญาก็เสื่อมถอย เป็นผู้ประมาท ติดพันอยู่ในบ่วง มาตุคามย่อมปล้นเอาการศึกษาเล่าเรียน
ตบะ ศีล สัจจะ จาคะ สติและความรู้ของคนผู้ประมาท เหมือนพวกโจรคอยดักทำ ร้ายในหนทาง
ย่อมทำ ยศ เกียรติฐิติความทรงจำ ความกล้าหาญ ความเป็นพหูสูต และความรู้ของคน
ผู้ประมาทให้เสื่อมไป เหมือนไฟผู้ชำ ระ ทำ กองฟืนให้หมดไป ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๑๐๖
๔.๑๖ เราเห็นหญิงแพศยาคนนั้น ผู้ตกแต่งร่างกาย นุ่งห่มผ้าใหม่อันงามดีมาทำ อัญชลี
อ้อนวอนเรา เหมือนกับบ่วงมัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๒๔๐
๔.๑๗ พระจันทร์มีกำ ลัง พระอาทิตย์มีกำ ลัง สมณพราหมณ์มีกำ ลัง ฝั่งแห่งสมุทรมีกำ ลัง
หญิงมีกำลังยิ่งกว่ากำลังทั้งหลาย.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๖๙๒
๔.๑๘ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์
ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลนั้นถูกพวก
โจรผู้ลักทรัพย์กำ จัดได้ง่าย
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้น
ไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๙/๔๔๗
๔.๑๙ หญิงทั้งหลายย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้งบุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดได้ทั้ง
ฝั่งโน้น และฝั่งนี้ไม่ควรวิสาสะในหญิงที่กระทำความยินดีให้เป็นผู้ล่วงศีล ไม่สำ รวม ถึงแม้ภรรยา
จะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควรวางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ อย่าพึง
กระทำ ความสิเน่หาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่สำ รวม ผู้เปรียบเทียบด้วยท่าน้ำ
คำ เท็จของหญิงเหมือนคำ จริง คำ จริงของหญิงเหมือนคำ เท็จ.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๕๒๙
๕. การละกามราคะ
๕.๑ บุรุษถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อมแล้วรีบรักษา ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มี
สติเว้นรอบ เพื่อละความกำ หนัดยินดีในกาม ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๒๒๘
๕.๒ ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือนบุคคลรีบถอน
หอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๕
๕.๓ เมื่อเอาผักดองเจือน้ำ ขึ้นตั้งเคี่ยวบนเตา เมื่อน้ำ ยังมีอยู่ น้ำ นั้นย่อมเดือดพล่าน แต่
เมื่อหมดน้ำ ย่อมสงบนิ่ง ฉันใด กามราคะในสันดานของท่านสงบแล้ว ท่านจงทำ กิเลสแม้ที่เหลือ
อยู่ให้สงบแล้ว พักผ่อนให้สบายเถิด ฉันนั้น.
ขุ.เถรี. (อรรถ) มก. ๕๔/๑๐
๕.๔ ช่างทำ รองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วน
ที่ดีๆ มาทำ รองเท้าขายได้ราคาแล้วย่อมมีความสุข เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว
ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทั้งปวง ก็พึงละกามทั้งปวงเสีย.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๐/๑๕๔
๕.๕ บุคคลมีกิเลสกามออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้แห้งสนิท ไม่เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม
เหมือนไม้ที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ .
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๑๓๖
๕.๖ เราเรียกบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำ ไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ด
พันธุ์ผักกาดไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๔๑๙
๕.๗ เมื่อภิกษุนั้นละกามฉันทะได้อย่างนี้ย่อมไม่กลัว ไม่สะดุ้ง เหมือนบุรุษผู้ปลดหนี้แล้ว
เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง ฉันใด ย่อมไม่มีความเกี่ยวข้อง ไม่มีความผูกพันในวัตถุ
ของผู้อื่น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๔๖๐
๕.๘ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้เหมือนบุคคล
วิดน้ำ ในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๒๗
๕.๙ บุรุษผู้มีกำลัง ช่วยฉุดบุรุษทุพพลภาพ ผู้จมอยู่ในเปือกตมขึ้นได้ฉันใด เธอก็ช่วยพยุง
ฉันให้ขึ้นจากกามได้ด้วยคาถาอันเป็นสุภาษิต ฉันนั้นแล.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๒๔๓
๕.๑๐ ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำ และเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้
กล่าวความสงบไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๘๒๘
๕.๑๑ พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดีและนางราคา ผู้มีรูปน่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มา
แล้วในที่นั้นให้หนีไป เหมือนลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๕/๘๑
๕.๑๒ ในโลกนี้มีทางออกไปจากทุกข์ได้ เรารู้ชัดดีแล้วด้วยปัญญา ดูก่อน มารผู้มีบาปซึ่ง
เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ท่านไม่รู้จักทางนั้น กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอก และหลาว กองกาม
ทั้งหลายนั้น ประหนึ่งว่ามีฝีร้าย เราไม่ใยดีถึงความยินดีในกามที่ท่านกล่าวถึงนั้น.
สัง.ส. (เถรี) มก. ๒๕/๘๖
๕.๑๓ ราคะนั้น ข้าพเจ้ายกออกแล้ว เหมือนเอาเชื้อไฟออกจากหลุมถ่านไฟ เหมือนเอา
ภาชนะใส่ยาพิษออกจากไฟ.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๓๖
๕.๑๔ อุเบกขาอาศัยกามคุณเกิดขึ้นแล้ว เมื่อล่วงรูป เป็นต้น ไปไม่ได้ เหมือนแมลงวัน
หัวเขียวล่วงเลยน้ำอ้อยไปไม่ได้ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๙/๕๖
๕.๑๕ เวลาที่ข่มราคะไว้ได้ด้วยอสุภกัมมัฏฐานแล้ว เริ่มทำ วิปัสสนาอีก เปรียบเหมือนการ
วางเคียว ถือไม้ไล่โคออกไปตามทางที่เข้ามานั้นแล ทำ รั้วให้กลับเป็นปกติแล้ว จึงเกี่ยวข้าวสาลีอีก.
อัง.นวก. (อรรถ) มก. ๓๗/๗๐๑
๕.๑๖ จิตนี้อันภิกษุผู้ปรารภความเพียรยกขึ้นจากอาลัย คือ กามคุณ ๕ แล้วซัดไปใน
วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากที่อยู่ คือน้ำ แล้ว
โยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓๘๗
๕.๑๗ การแสวงหากาม เป็นต้น เพื่อตน จักไม่มีแก่ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยสุข เป็นต้น เหมือน
ปลิงที่อิ่มแล้ว เพราะดื่มไว้เต็มที่ ไม่มีการกระหายเลือด.
ขุ.อุ. (อรรถ) มก. ๔๔/๓๖๘
๕.๑๘ กามอันเป็นของมนุษย์ เมื่อเทียบกับสำ นักของกามอันเป็นทิพย์ ก็เหมือนกับเอาน้ำ ที่
ปลายหญ้าคา สลัดลงในสมุทร ฉะนั้น.
ม.ม. (อรรถ) มก. ๒๐/๕๐๘
๕.๑๙ พระขีณาสพทั้งหลายไม่ยินดีในกามสุข เหมือนหยาดน้ำ หยดลงใบบัว ย่อมไม่ติดไม่ตั้ง
อยู่กลิ้งตกไป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๔๖๘
๕.๒๐ พระบรมศาสดาตรัสแก่อัคคิเวสสนะเรื่อง อุปมา ๓ ข้อ ไว้ว่า
๑. ไม้สดชุ่มยาง แช่น้ำ เอามาทำ ไม้สีไฟ สีไฟไม่ติด อุปมาดั่งสมณพราหมณ์ยังมิได้หลีกออก
จากกาม พอใจในกาม ย่อมไม่ควรเพื่อการตรัสรู้ธรรม
๒. ไม้สดชุ่มยาง วางไว้บนบกไกลจากน้ำ เอามาทำ ไม้สีไฟ สีไฟไม่ติด อุปมาดั่งสมณ
พราหมณ์หลีกออกจากกามแต่ทางกาย แต่ยังมีความพอใจในกาม ย่อมไม่ควรเพื่อการตรัสรู้ธรรม
๓. ไม้ที่แห้งสนิท วางไว้บนบกไกลจากน้ำ เอามาทำ ไม้สีไฟ สีไฟติด อุปมาดั่งสมณพราหมณ์
หลีกออกจากกาม ละความพอใจในกาม ย่อมควรเพื่อการตรัสรู้ธรรม.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๑๗
๕.๒๑ หญิงทั้งหลายในโลก ย่อมย่ำ ยีบุรุษผู้ประมาทแล้ว หญิงเหล่านั้นย่อมจูงจิตของบุรุษ
ไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่หล่นจากต้นไม้ไป ฉันนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นเหวของพรหมจรรย์.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๒๔๕
๖. พิจารณาร่างกาย
๖.๑ อนึ่งกายนี้ ไม่ใช่เกิดที่กลีบบัวหลวงเลย ไม่ใช่เกิดที่กลีบบัวเขียว และดอกบัวขาบ
เป็นต้น แต่เกิดที่ระหว่างท่ออาหารใหม่ และท่ออาหารเก่า คือ ในโอกาสที่มืดมนเหลือหลาย ที่เป็น
ที่ท่องเที่ยวไปในป่าที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง เหมือนหนอนที่เกิดในปลาเน่า.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๔๙๕
๖.๒ กายอันเน่าเหมือนหนอน ไม่สะอาด กลิ่นเหม็นคลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว ดุจถุงหนังบรรจุ
ซากศพ เต็มด้วยของไม่สะอาดไหลออกอยู่เป็นนิตย์อันคนเขลายึดถืออยู่.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๘๕
๖.๓ บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอแล้วไป อยู่อย่างสุขเสรีอยู่ลำ พัง
ตนได้ฉันใด คนก็ควรละทิ้งร่างกายเน่าที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิดไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มี
ความต้องการอะไร ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๕/๙
๖.๔ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมจับงูอันเปื้อนคูถมีพิษมาก เป็นผู้เพลิดเพลินงูในโลก ชื่อว่า
จับเอาภาวะที่ไม่ปรารถนาทั้ง ๕ คือ ของเหม็น ของไม่สะอาด พยาธิชรา มรณะเป็นที่ ๕ ภาวะที่
ไม่น่าปรารถนา ๕ อย่างเหล่านี้มีอยู่ในงูที่เปื้อนคูถ ปุถุชนผู้บอด และเขลาไม่ฉลาด ก็อย่างนั้น
เหมือนกัน เป็นผู้เพลิดเพลินความเกิดในภพ ชื่อว่าจับอนัตถะภาวะที่ไม่น่าปรารถนา คือ ของเหม็น
ของไม่สะอาด พยาธิชรา มรณะเป็นที่ ๕ ภาวะที่ไม่น่าปรารถนา ๕ เหล่านี้มีอยู่ในกายอันเป็นดังงู
ที่เปื้อนคูถ ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๓๘๑
๖.๕ เจ้าของละทิ้งเรือที่เก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำ รั่วเข้าไปได้ไม่มีความอาลัย ไม่มีความต้องการ
อะไร ฉันใด เราจักละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็นนิตย์ เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๕/๑๐
๖.๖ ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระ ทิ้งไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความ
ต้องการอะไร ฉันใด เราจะละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดไป เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้ว
ละทิ้งส้วมไป ฉะนั้น.
ขุ.อป. โพธิ) มก. ๗๐/๑๙
๖.๗ แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ความพอใจในเมถุน ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะ
ถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๘๐๑
๖.๘ กายแม้มีผิวดังทอง เขาก็เรียกว่ากายเน่า ฉันใด แม้น้ำมูตรที่ใหม่เอี่ยม เขาก็เรียกว่า
น้ำมูตรเน่า ฉันนั้น.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๘๔
๖.๙ กระดูกเหล่านี้ อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาดดุจน้ำ เต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ
ความยินดีอะไรเล่าจักมีเพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๑๔๑
๖.๑๐ คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่
๔ แยก ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่
ตั้งอยู่ ตามที่ดำ รงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๘๘
๖.๑๑ ไม่ช้าร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ อันหมู่ญาติผู้เกลียดทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ เขา
ก็พากันนำ ไปป่าช้า.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๘๕
๖.๑๒ สรีระนี้นั้นอันช่างผู้ฉลาด คือ ศิลปาจารย์ผู้ฉลาดในหมู่ชนกระทำ ไว้เกลี้ยงเกลา
วิจิตรงดงาม ประพรมด้วยน้ำครั่ง เป็นต้น แต่ภายในเต็มด้วยของไม่สะอาดมีคูถ เป็นต้น เป็นดุจ
สมุก (ถ่านทำ จากใบตองแห้งป่นให้เป็นผลประสมกับรักน้ำ เกลี้ยง สำ หรับทารองพื้นก่อนเขียนลาย
รดน้ำ ปิดทอง) น่ารื่นรมย์ใจแต่เพียงผิว เป็นที่ลุ่มหลงแห่งพาลชน.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๓๐
๖.๑๓ จงมาดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็นแผล อันคุ้มกันอยู่แล้ว กระสับกระส่าย เป็นที่ดำ ริ
ของชนเป็นอันมาก ไม่ยั่งยืนมั่นคง
จงมาดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑล มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้งามพร้อมด้วยผ้า
ของหญิง เท้าที่ย้อมด้วยสีแดงสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้แต่จะหลอกคน
ผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระนิพพานไม่ได้
ผมที่แต่งให้เป็นแปดลอนงาม ตาเยิ้มด้วยยาหยอด พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้แต่จะหลอก
คนผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระนิพพานไม่ได้
กายเน่าอันประดับด้วยเครื่องอลังการ ประดุจทนานยาหยอดอันใหม่วิจิตร พอจะหลอก
คนโง่ให้หลงได้แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระนิพพานไม่ได้
ท่านเป็นดังพรานเนื้อวางบ่วงไว้แต่เนื้อไม่ติดบ่วงเมื่อพรานเนื้อกำลังคร่ำครวญอยู่ เรากิน
แต่อาหารแล้วก็ไป.
ม.ม. (เถระ) มก. ๒๑/๓๔
๖.๑๔ ท่านทั้งหลายจงดูโลกนี้อันตระการ ดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หา
ข้องอยู่ไม่.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒๒๗
๖.๑๕ คนบางจำ พวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (ทั่วไป) มก. ๕๓/๔๓๓
๖.๑๖ เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนา
เบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว ดุจดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทราย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๓๓๓
๖.๑๗ บุรุษไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยที่จะเกิดจากการตัดห่อของจึงทิ้งแล้วไปเสีย
ฉันใด กายนี้เปรียบเหมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไป เพราะกลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๕/๑๐
๖.๑๘ ขนย่อมไม่รู้ว่าเกิดที่หนังแห่งสรีระ แม้หนังแห่งสรีระก็ไม่รู้ว่าขนเกิดที่เรา เปรียบ
เหมือนหญ้าทัพพะอันเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า ย่อมไม่รู้ว่า เราเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า แม้สถานที่
บ้านเก่าก็ไม่รู้ว่าหญ้าทัพพะเกิดที่เรา ฉะนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๕๕
๖.๑๙ ผู้มีเล็บครบก็มี๒๐ เล็บ เล็บเหล่านั้นทั้งหมดโดยวรรณะมีสีขาวในโอกาสที่พ้นเนื้อ
มีสีแดงในโอกาสที่ติดกับเนื้อ
โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาสตามที่ตั้งอยู่ โดยมากมีสัณฐานเหมือนเมล็ดมะซาง
หรือมีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา
โดยทิศ ตั้งอยู่ในทิศทั้งสอง โดยโอกาสตั้งอยู่ปลายนิ้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๕๕
๖.๒๐ เธอจงถอนเสียซึ่งความเยื่อใยของตน เหมือนบุคคลเอามือถอนกอโกมุทในสารทกาล
ฉะนั้น เธอจงพอกพูนทางอันสงบ ด้วยว่าพระนิพพานอันพระสุคตแสดงไว้แล้ว.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๕๗
๖.๒๑ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่องเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่ม
ผู้ชอบสะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระของเธอเช่นเดียวกับ
ฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหนีเธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาด เห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว
หลีกเลี่ยงไปเสียห่างไกล ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓
๖.๒๒ ฝีที่เกิดขึ้นมาได้หลายปีฝีนั้นพึงมีปากแผลที่ยังไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะพึง
ไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจทั้งนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งพึง
ไหลเข้า สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจทั้งนั้น
คำ ว่าฝีนี้แล เป็นชื่อของกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด
เจริญขึ้นด้วยข้าวสุก และขนมสุก มีความกระจัดกระจายเป็นธรรมดา กายนั้น มีปากแผลที่ยัง
ไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งยิ่งไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
น่ารังเกียจทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงเบื่อหน่ายในกายนี้.
อัง.นวก. (พุทธ) มก. ๓๗/๗๖๕
๖.๒๓ เมื่อครั้งที่พระนางสุเมธาจะออกบวช ไม่ยอมเข้าพิธีวิวาหะ พระนางกล่าวกับ
พระชนก และพระชนนีมีใจความตอนหนึ่งว่า กายนี้เน่าเปื่อย มีกลิ่นเหม็นคลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว
ดุจถุงหนังบรรจุซากศพที่คนเขลายึดถืออยู่ ลูกรู้จักซากศพนั้นว่าเป็นของปฏิกูล ฉาบด้วยเนื้อ และ
เลือดเป็นที่อยู่ของหนอน ทำ ไมทูลกระหม่อมจึงพระราชทานซากศพแก่พระราชาอีกเล่า.
ขุ.ชา. (เถรี) มก. ๕๔/๕๐๐
๖.๒๔ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ร่างกายเป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลายหรือ
เหตุใดบรรพชิตจึงต้องอาบน้ำชำ ระร่างกาย ยังถือว่าร่างกายเป็นของเราอยู่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ร่างกายไม่ได้เป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลาย แต่บรรพชิตทั้งหลาย
รักษาร่างกายไว้ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อันว่ากายนี้เปรียบเหมือนแผล บรรพชิตรักษา
ร่างกายนี้ไว้เสมือนกับบุคคลรักษาแผล.
มิลิน. ๑๑๕
๗. อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ
๗.๑ ธรรมดาแมวเวลาไปที่ถ้ำ ที่ซอก ที่รู ที่โพรง หรือที่ระหว่างถ้ำ ก็ดีก็แสวงหาแต่หนู
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้ไปอยู่ที่บ้านที่ป่า ที่โคนต้นไม้ ที่แจ้ง ที่ว่าง บ้านเรือนก็ไม่ควร
ประมาท ควรแสวงหาโภชนะ คือ กายคตาสติฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๔
๗.๒ ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ ให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้
อารมณ์เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำ เร็จด้วยไม้แก่นล้วน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำ คัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้ช่องบนแผ่น
กระดานเรียบอันสำ เร็จด้วยไม้แก่นล้วนจากกลุ่มด้ายเบาๆ นั้น บ้างไหม.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๙๕
๗.๓ ผู้เจริญกายคตาสติเหมือนสารถีขับรถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชา
ไนยเขาเทียมม้าแล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้งสอง จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔
แยก นายสารถีผู้ฝึกม้าเป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับ
แส้ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำ ให้มาก
แล้ว เธอย่อมน้อมจิตไปในธรรมใดๆ ที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยอภิญญา จะถึงความเป็นผู้สามารถใน
ธรรมนั้นๆ นั่นแหละ เพราะการกระทำ ให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๙๗
๗.๔ เปรียบเหมือนมหาชนมาประชุมกันมากมาย เพราะทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบท
ขับร้องฟ้อนรำ ได้ดียิ่ง จะมาแสดงให้ดูแล้วบัณฑิตผู้หนึ่ง ได้บอกมหาชนเหล่านั้นว่า ให้ท่านนำ ภาชนะ
น้ำมันอันเต็มเปี่ยม ไปวางไว้ในที่เขาประชุมกัน โดยจะมีบุรุษกำลังเงื้อดาบ ตามท่านไปข้างหลังและ
สั่งว่าห้ามทำ น้ำมันนั้นหก ถ้าทำ หกแม้หน่อยหนึ่ง จะตัดศีรษะของท่านให้ขาดกระเด็นในทันที
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำ ว่าภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติเพราะเหตุนี้
เธอพึงศึกษาว่า กายคตาสติเป็นของอันเราเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว กระทำ ไม่หยุด สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๔๕๖
๘. เหตุออกบวช
๘.๑ บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่เกิดความรักในเรือนจำ นั้น แสวงหาทาง
พ้นอย่างเดียว ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจาก
ภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๑
๘.๒ ในกามนี้ยิ่งมีโทษ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายเห็นโทษนั้นอยู่ จึงทอดทิ้งราชสมบัติไม่อาลัย
ไยดีเหมือนบุรุษจมหลุมคูถแล้วละทิ้งไม่อาลัย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๓๙๓
๘.๓ เราเห็นภพทั้งหมดมีกามภพ เป็นต้น มีภัยเฉพาะหน้าโดยความเป็นของน่ากลัว ดุจเห็น
ช้างดุแล่นมา ดุจเห็นเพชฌฆาตเงื้อมดาบมาเพื่อประหาร ดุจเห็นสีหะ ยักษ์รากษส สัตว์มีพิษร้าย
อสรพิษ และถ่านเพลิงที่ร้อน แล้วยินดีในบรรพชา เพื่อพ้นจากนั้น.
ขุ.จริยา. (โพธิ) มก. ๗๔/๔๑๔
๙. การออกบวช
๙.๑ ท่านละเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลาง มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ
ออกบวชแล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.อป. (ปัจเจก) มก. ๗๐/๒๔๒
๙.๒ หญ้ามุงกระต่ายที่เราถอนติดมือมา ไม่อาจสืบต่อในกอเดิมได้อีก ฉันใด ความอยู่ร่วม
กันกับเธอของอาตมา ก็ไม่อาจสืบต่อกันได้อีก ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕๓
๙.๓ ท่านเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำ ลัง เป็นราชาของหมู่เนื้อ มี
ปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.อป. (ปัจเจก) มก. ๗๐/๒๔๔
๙.๔ พระเจ้าเอสุการีมหาราช ผู้เป็นอธิบดีในทิศทางภาษิตคาถานี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ
ออกบรรพชา อุปมาดังนาคหัตถีตัวประเสริฐ สลัดตัดเครื่องผูกไปได้ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๖๑/๒๔๓
๙.๕ ธรรมดาโคย่อมลากแอกที่เทียมอยู่ไปด้วยความสุขและความทุกข์ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต แม้จะทุกข์สุขเพียงใดก็ตาม
ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๗
๙.๖ คุณเครื่องเป็นสมณะ (พรหมจรรย์) ที่บุคคลจับต้องไม่ดีย่อมคร่าไปนรก เหมือนหญ้า
คาที่บุคคลจับไม่แน่นแล้วดึงมา ย่อมบาดมือนั่นแหละ ฉะนั้น.
อัง.ทุก. (อรรถ) มก. ๓๓/๒๐๒
๙.๗ ดูมงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม ข้อ ๗.๑๙ – ๗.๓๒
๑๐. อานิสงส์ของการละกาม ออกบวช
๑๐.๑ ภิกษุใดตัดราคะได้ขาดพร้อมทั้งอนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนบุคคลตัดดอกปทุมซึ่ง
งอกขึ้นในสระ ฉะนั้น
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๑
๑๐.๒ สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่า
นั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้เหมือนบุคคลวิดน้ำ ในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๓๒
๑๐.๓ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้
ฉันนั้น ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓
๑๐.๔ ผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำ ไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติด
ข้องที่ปลายเหล็กแหลม.
ขุ.ธ. ( พุทธ) มก. ๔๑/๒๑๗
๑๐.๕ พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเพราะเสียงเหมือนสีหะ ไม่ติดข้องเหมือนลม ไม่ติดข้อง
ที่ตาข่าย เหมือนดอกบัวไม่ติดข้องด้วยน้ำ ฉะนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๗๓๑
๑๐.๖ คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย
ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่งหนีจากป่าไปสู่ป่า
จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๕๖
๑๐.๗ เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตามปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่ง
ความประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๖๕
๑๐.๘ มฤคในป่าอันเครื่องผูกอะไรมิได้ผูกไว้ย่อมไปเพื่อหาอาหารตามความประสงค์
ฉันใด นรชนที่เป็นวิญญู เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรีพึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ฉันนั้น.
ขุ.จู. (ปัจเจก) มก. ๖๗/๕๓๒
๑๐.๙ เราจักละราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๓๒๒
๑๐.๑๐ ภาชนะอันเต็มด้วยน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน บุรุษมีตา
ดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ นั้น พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีใจอันกามราคะไม่กลุ้มรุม อันกามราคะไม่ครอบงำ อยู่ และย่อมรู้ชัดตาม
เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ย่อมเห็น
ตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ไม่
ทำ การสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำ การสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๔๑๗
๑๐.๑๑ ต้นไม้ต้นนั้นยืนต้นสง่างาม เหมือนภูเขาแก้วมณีโล้น เพราะตัวเองไม่มีผล ส่วน
มะม่วงต้นนี้ถึงความย่อยยับอย่างนี้เพราะออกผล แม้ท่ามกลางเรือนนี้ก็เช่นกันกับต้นมะม่วงที่ออก
ผล ส่วนการบรรพชาเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์นั่นแหละมีภัย ส่วนผู้ไม่มีทรัพย์ไม่มีภัย
แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๓๔๘
๑๐.๑๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมา ๓ ข้อ แก่โพธิราชกุมารว่า
๑. กายและใจยังไม่หลีกออกจากกาม เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทิ้งอยู่ในน้ำ
๒. มีกายหลีกออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจในกาม เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทิ้ง
อยู่บนบก
๓. กาย และใจหลีกออกจากกาม เปรียบเหมือนไม้แห้งทิ้งอยู่บนบก สมณะหรือพราหมณ์ที่
ปฏิบัติตนตาม (ข้อ ๓.) ย่อมควรเพื่อจะรู้จะเห็น เพื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ธรรม.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๑/๑๐๙
๑๑. การลาสิกขา
๑๑.๑ บุคคลใดเป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นปุถุชนคนเลวในโลก เหมือนยวดยานหมุนไป ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๗๐
๑๑.๒ ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว แม้ภายหลัง
ประกอบเมถุนธรรมจักเศร้าหมองเหมือนคนโง่ ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๘๕
๑๑.๓ ภิกษุใด ลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นั่นเป็นมรณะของเธอ.
ขุ.เถร. (พุทธ) มก. ๕๒/๑๘๕
๑๑.๔ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ศาสนาของพระตถาคตเป็นของใหญ่ เป็นของ
ประเสริฐ ไม่มีอะไรเปรียบ เป็นของไม่มีโทษ เมื่อคฤหัสถ์บรรพชาแล้วสำ เร็จมรรคผลอย่างใด
อย่างหนึ่ง จึงไม่ควรให้ลาสิกขา ควรให้บรรพชาต่อไป ปุถุชนบรรพชาในพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์
แล้วสึกออกมา คงจะมีผู้คิดว่า ศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสนาว่างเปล่า
เพราะพวกที่บวชแล้วสึกได้จึงไม่สมควรให้ปุถุชนบรรพชา
พระนาคเสนทูลตอบเปรียบว่า มีสระใหญ่เปี่ยมด้วยน้ำ ใสสะอาด บุรุษผู้หนึ่งเปื้อนด้วย
เหงื่อไคล ลงไปอาบน้ำแล้วไม่ขัดสีเหงื่อไคล ขึ้นมาจากสระก็ยังเปรอะเปื้อน ควรจะติเตียนบุรุษนั้น
หรือว่าติเตียนสระนั้น
อีกประการหนึ่ง มีบุรุษคนหนึ่งลงทุนขุดสระน้ำ ไว้แล้วประกาศห้ามพวกที่มีร่างกายเปรอะ
เปื้อนลงไปอาบ ให้ลงได้แต่ผู้มีร่างกายสะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น สระน้ำ นั้นจะมีประโยชน์อะไรการ
บรรพชาก็เช่นกัน เป็นไปเพื่อละกิเลส อบรมให้เกิดความบริสุทธิ์สำ หรับผู้ที่ยังมีอาสวะกิเลส.
มิลิน. ๓๑๖
๑๑.๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ภิกษุว่า บุคคลกำ ลังลงน้ำ พึงหวังได้ภัย ๔ อย่าง เมื่อ
เทียบกับบุคคลบางคนในโลกที่ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย คือ
๑. ภัย คือ คลื่น เป็นชื่อของความคับใจด้วยความโกรธจากการถูกเตือน อบรม สั่งสอน
๒. ภัย คือ จระเข้เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ปากท้อง
๓. ภัย คือ น้ำ วน เป็นชื่อของกามคุณ ๕
๔. ภัย คือ ปลาร้าย เป็นของมาตุคาม.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๓๘๑
๑๑.๖ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่กลับถือเอากิเลสทั้งหลายซึ่งละแล้วอีก สิ่งนี้ละทิ้งไปแล้ว
เป็นเช่นกับก้อนเขฬะที่ถ่มไปแล้ว.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๔๓๗