ม ง ค ล ที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง
ภิกษุใดยังหนุ่มพากเพียรอยู่ในพระพุทธศาสนา
ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
ดุจพระจันทร์ที่พ้นแล้วจากหมอกเมฆสว่างอยู่ ฉะนั้น
๑. ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมของพระโพธิสัตว์
๑.๑ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) ไว้ทางปาก ทางจมูก และช่องหูแล้ว ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเอาเหล็กแหลมคมทิ่มศีรษะ.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๑
๑.๒ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปาก ทางจมูก และหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังรัดศีรษะด้วยเส้นเชือกแน่น.
ม.มู(พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๒
๑.๓ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางจมูก และหู ลมอันแรงกล้าก็บาดในช่องท้อง เปรียบเหมือนนายโค หรือลูกมือนายโคที่เป็นคนฉลาด ใช้มีดคมกรีดที่ท้อง.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๒
๑.๔ องคาพยพ (อวัยวะน้อยใหญ่) ของเราย่อมเป็นประหนึ่งเถาวัลย์ที่มีข้อมาก ๘๐ ข้อ เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว ก้นกบแห่งเราแฟบเข้า มีสัณฐานเหมือนกีบเท้าอูฐ ฉะนั้น
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว กระดูกสันหลังแห่งเราผุดขึ้นราวกะเถาวัลย์ฉะนั้น
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว เปรียบซี่โครงแห่งเรานูนเป็นร่องๆ ดังกลอนในศาลาเก่าชำ รุดทรุดโทรม ฉะนั้น.
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว เปรียบเหมือนดวงตาแห่งเราปรากฏกลมลึกเข้าไปในกระบอกตา ดูประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึก ฉะนั้น
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว หนังบนศีรษะแห่งเราสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้งไป ประหนึ่ง ผลน้ำ เต้าขม ที่บุคคลตัดมาแต่ยังสด ถูกลม และแดดก็เหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น.
ที.สี. (พุทธ) มจ. ๑๒/๔๑๕
๒. ความเพียร
๒.๑ นกที่เปื้อนฝุ่นย่อมสลัดธุลีที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันใด ภิกษุผู้มีความเพียร มีสติย่อมสลัดธุลีคือ กิเลสที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันนั้น.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๕/๓๕๓
๒.๒ สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้นพิณของเธอ ย่อมมีเสียงไพเราะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมากเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ดูก่อนโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำ เสมอ จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำ เสมอ.
อัง.ฉักก. (พุทธ) มก. ๓๖/๗๐๗
๒.๓ บุคคลใดกำ จัดความหลับ ตื่นอยู่ เหมือนม้าดีหลบแส้ไม่ให้ถูกตน บุคคลนั้นหาได้ยาก ท่านทั้งหลายจงมีความเพียร มีความสลดใจ เหมือนม้าดีถูกเขาตีด้วยแส้แล้วมีความบากบั่น ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๒/๖๘
๒.๔ ภิกษุใดยังหนุ่มพากเพียรอยู่ในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ที่พ้นแล้วจากหมอกเมฆสว่างอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๓/๓๔๐
๒.๕ ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๓/๒๒๔
๒.๖ อำ นาจการปรารภความเพียรอย่างนี้ของภิกษุผู้ไม่ให้กิเลสที่เกิดขึ้นในตอนเดินไม่ให้ถึงตอนยืน ที่เกิดในตอนยืนไม่ให้ถึงตอนนั่ง ที่เกิดขึ้นในตอนนั่งไม่ให้ถึงตอนนอน ข่มไว้ด้วยพลังความเพียรไม่ให้เงยศีรษะขึ้นได้ในอิริยาบถนั้นๆ เหมือนคนเอาไม้มีลักษณะดังเท้าแพะกดงูเห่าไว้และเหมือนเอาดาบที่คมกริบฟันคอศัตรูฉะนั้น.
ขุ.อุ. (อรรถ) มก. ๔๔/๔๐๕
๒.๗ บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในหมู่ญาติเทวดา และบิดามารดา อนึ่งบุคคลเมื่อทำ กิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๗๕
๒.๘ พญาราชสีห์มฤคราชเป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนในการนั่ง การยืน และการเดินประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อ แม้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงประคองความเพียรไว้ให้มั่นตลอดทุกภพ ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๓
๒.๙ ขึ้นชื่อว่า พยัคฆ์ ย่อมแอบจับหมู่มฤคเป็นภักษา แม้ฉันใด พุทธบุตรผู้ประกอบความเพียรบำ เพ็ญวิปัสสนานี้ก็เหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้ว ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งผลอันอุดม.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๒/๓๓๖
๒.๑๐ เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่า สุขก็ต้องมีฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควรปรารถนา ฉันนั้น เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมีฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่ พระนิพพานก็ควรปรารถนา ฉันนั้น เมื่อสิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมีฉันใด ความเกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิดก็ควรปรารถนา ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๕/๗
๒.๑๑ ธรรมดานายพรานย่อมมีใจจดจ่อจับฝูงเนื้อ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรประคอง และรักษาอารมณ์ที่ได้มาอย่างดีแล้วให้เกิดคุณวิเศษต่อไป ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๙
๒.๑๒ ธรรมดานายขมังธนู เมื่อจะยิงธนูย่อมเหยียบพื้นด้วยเท้าทั้งสองให้มั่น ทำ เข่าไม่ให้ไหว ยกธนูขึ้นเพียงหูตั้งกายตรง วางมือทั้งสองลงที่คันธนูจับคันธนูให้แน่น ทำ นิ้วให้ชิดกัน เอี้ยวคอ หลิ่วตา เม้มปาก เล็งเป้าให้ตรง แล้วเกิดความดีใจว่า เราจักยิงไปในบัดนี้ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเหยียบพื้นดิน คือ ศีลด้วยเท้า คือ วิริยะให้มั่นคง ทำ ขันติโสรัจจะไม่ให้ไหว สำรวมใจ และกาย บีบกิเลสตัณหาให้แน่น กระทำ จิตไม่ให้มีช่องว่างด้วยโยนิโสมนสิการ ประคองความเพียรปิดประตูทั้ง ๖ เสีย ตั้งสติไว้ทำ ให้เกิดความร่าเริงว่า เราจักยิงกิเลสทั้งปวง ด้วยลูกศร คือ ญาณ ณ บัดนี้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๔
๒.๑๓ ไก่ย่อมกลับเข้ารังแต่หัววัน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็พึงทำ กิจวัตร เช่น ทำความสะอาดวัด เตรียมน้ำดื่ม น้ำ ใช้ชำ ระร่างกาย และสวดมนต์บูชาพระให้เสร็จแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้มีโอกาสนั่งปฏิบัติธรรมเร็วขึ้น ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๓
๒.๑๔ ไก่ย่อมตื่นแต่เช้า ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็พึงตื่นแต่เช้าทำ ความสะอาดวัด น้ำดื่ม น้ำ ใช้ชำ ระร่างกาย สวดมนต์บูชาพระแล้วนั่งปฏิบัติธรรมอีกครั้ง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๓
๒.๑๕ ธรรมดาเต่าย่อมขึ้นจากน้ำ มาผึ่งแดด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ก็ฉันนั้น คือเมื่อเลิกจากการนั่ง นอน ยืน เดินแล้ว ก็ทำ ให้ใจร้อนในการบำ เพ็ญเพียร.
มิลิน. ๔๒๖
๒.๑๖ ธรรมดาเครือน้ำ เต้าย่อมใช้งวงของตนเกาะต้นไม้ หรือเครือไม้แล้วขึ้นไปงอกงามอยู่ข้างบน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้มุ่งความเจริญในพระอรหันต์ก็ควรมีใจยึดมั่นในอารมณ์ไว้ว่า จะขึ้นไปเจริญอยู่ในความเป็นพระอรหันต์
ข้อนี้สมกับคำ ของพระสารีบุตรเถระเจ้าว่า ธรรมดาเครือน้ำเต้าย่อมเอางวงของตนพันต้นไม้ หรือเครือไม้แล้วขึ้นไปงอกงามอยู่เบื้องบน ฉันใด ผู้มุ่งหวังอรหัตผลก็ควรยึดหน่วงอารมณ์ทำ ให้อเสข (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ผลเจริญ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๙
๒.๑๗ อริยสาวกปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมถึงพร้อม มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลม้า ฯลฯ กองทหาร ทาสสำ หรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๒๗
๒.๑๘ ความเพียรมีความอุปถัมภ์เป็นลักษณะ อุปมาเหมือนเรือนจะล้ม บุคคลไว้ด้วยไม้เรือนที่ถูกไม้ค้ำ อยู่ไม่ล้ม หรือกองทหารหมู่น้อย กำ ลังถอยร่นข้าศึกหมู่ใหญ่ พระราชาทรงเพิ่มกองหนุนส่งเข้าไปจนชนะข้าศึกหมู่ใหญ่ได้.
มิลิน. ๕๑
๒.๑๙ บุคคลนั้นควรกระทำ ฉันทะพยายามพากเพียรอย่างแข็งขันไม่ท้อถอย และทำสติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรม เปรียบเหมือนคนที่ไฟไหม้ผ้าก็ดีไหม้ศีรษะก็ดีพึงกระทำฉันทะพยายามพากเพียรไม่เฉื่อยเฉย และตั้งสติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อจะดับเสียไฟที่ผ้า หรือศีรษะที่ไหม้อยู่นั้น.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๒๖๖
๒.๒๐ ท่านจงยกตนของท่านขึ้นจากความเกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้นท่านจงทำ จิตให้ตรงแล้วทำลายอวิชชาเสีย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๑๘๘
๒.๒๑ ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เมื่อได้เห็นเทพเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมทำให้ท่านเหล่านั้นร่าเริง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรทำ ใจให้เกิดความร่าเริงไม่หดหู่ ไม่เกียจคร้านในกุศลกรรมทั้งหลาย ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๒
๒.๒๒ ทรัพย์มรดกของพระบรมศาสดามีมาก คือ อริยทรัพย์ ๗ ประการ ทรัพย์มรดกนั้น ผู้เกียจคร้านไม่อาจรับได้ เหมือนอย่างว่ามารดา บิดา ย่อมตัดบุตรผู้ประพฤติผิด ทำ ให้เป็นคนภายนอก เห็นว่าคนนี้ไม่ใช่ลูกของเรา เมื่อมารดา บิดา ล่วงลับไป เขาก็ไม่ได้รับทรัพย์มรดก ฉันใด แม้บุคคลผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก คือ อริยทรัพย์นี้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นย่อมได้รับ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๔๐
๒.๒๓ ประชาชน ๔ วรรณะ เห็นเงารูปของตนในกระจกสำ หรับส่องดูได้ทั่วตัว ซึ่งติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง ย่อมขจัดโทษ (สิ่งที่ทำ ให้หมดความสวยงาม) แล้วกลับกลายเป็นผู้ไม่มีโทษ ฉันใด กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษาก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ประสงค์จะประดับประดาตนด้วยเครื่องประดับ คือ ความเพียร.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๑๓
๒.๒๔ เสือเหลืองซ่อนตัวคอยจับหมู่มฤค ฉันใด ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้วประกอบความเพียร เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งเจริญวิปัสสนา ย่อมถือไว้ได้ซึ่งผลอันสูงสุดได้.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๙๔
๒.๒๕ พระบรมศาสดาตรัสว่า คหบดีชาวนามีกิจต้องทำ ในเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
๑. ต้องไถคราดนาให้เรียบร้อย
๒. ต้องเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องไขน้ำ เข้านาบ้าง ระบายน้ำออกบ้างตามกาลที่ควร
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีกิจต้องทำ ในเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
๑. การสมาทานอธิศีลสิกขา
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๔๙
๒.๒๖ พระบรมศาสดาตรัสว่า กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการคือ
๑. ต้องเร่งรีบไถคราดนาให้เรียบร้อย
๒. ต้องเร่งรีบเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องเร่งรีบไขน้ำ เข้านาบ้าง ระบายน้ำออกบ้างตามกาลที่ควร
คหบดีชาวนานั้น ไม่มีฤทธิ์ หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า วันนี้แลข้าวเปลือกของเราจงเกิด พรุ่งนี้จงงอกรวง มะรืนนี้จงหุงได้แท้ที่จริงข้าวเปลือกของคหบดีชาวนานั้น มีระยะเวลาของฤดูที่จะเกิดขึ้น ออกรวงและหุงได้ฉันใด กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้ก็ฉันนั้น คือ
๑. การสมาทานอธิศีลสิกขา
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์ และอานุภาพที่จะบันดาลว่า วันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๗๔
๒.๒๗ พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างถึงท่อนไม้ที่มีบุรุษโยนขึ้นไปในอากาศ เมื่อตกลงมาบางครั้งก็เอาโคนลงมาก่อน บางครั้งก็เอาตอนกลางลงมาก่อน บางครั้งก็เอาปลายลงมาก่อน เปรียบเสมือนสัตว์ทั้งหลายที่ถูกอวิชชาครอบงำ อยู่ บางครั้งเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปสู่ปรโลก บางครั้งก็ละจากปรโลกมาสู่โลกนี้สลับกันไปมาเช่นนี้เพราะเหตุที่ยังไม่ตรัสรู้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๔๕๒
๒.๒๘ เมื่อพระบรมศาสดาทรงต้องการแสดงหนทางแห่งการพ้นทุกข์ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้เหล่าภิกษุได้ทราบ พระพุทธองค์ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า บุคคลควรทำอย่างไร ถ้าผ้าที่สวมใส่อยู่ถูกไฟไหม้ หรือศีรษะกำลังถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ควรที่จะดับไฟที่ผ้าหรือที่ศีรษะนั้น ด้วยความพยายามอุตสาหะ ไม่ย่นย่อท้อถอย และมีสติสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
พระบรมศาสดาตรัสว่า บุคคลควรจะวางเฉยในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วรีบแสวงหาการตรัสรู้ธรรม ให้เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยความพยายามอุตสาหะ ไม่ย่นย่อท้อถอย และมีสติสัมปชัญญะ.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๔๕๓
๒.๒๙ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า วิริยะ คือ ความเพียร มีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า กุศลธรรมทั้งสิ้น มีความเพียรอุปถัมภ์แล้วย่อมไม่เสื่อม เหมือนเรือนที่จะล้มแล้วถูกไม้ค้ำ ไว้.
มิลิน. ๕๑
๓. สมาธิ
๓.๑ ธรรมดากระแตเมื่อพบศัตรูย่อมพองหางขึ้นให้ใหญ่เพื่อต่อสู้กับศัตรู ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ฉันนั้น เมื่อเกิดศัตรูคือ กิเลสขึ้นก็พองหาง คือ สติปัฏฐานให้ใหญ่ขึ้นกั้นกลางกิเลสทั้งปวงด้วยหาง คือ สติปัฏฐาน ข้อนี้สมกับคำของพระจุฬปันถกเถรเจ้าว่า เมื่อกิเลสจะทำลายคุณเกิดขึ้นในเวลาใด เวลานั้นภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็พองหาง คือ สติปัฏฐานขึ้นบ่อยๆ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๔
๓.๒ ธรรมดาแมลงมุมชักใยดักไว้แล้วก็จ้องดูอยู่ ถ้าหนอนหรือแมลงมาติดในใยของตนก็จับกินเสีย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรชักใย คือ สติปัฏฐานซึ่งไว้ที่ทวารทั้ง ๖ ถ้าแมลง คือกิเลสตามติดก็ควรฆ่าเสีย ฉันนั้น ข้อนี้สมกับคำ ของพระอนุรุทธเถรเจ้าว่า เพดานที่กั้นทวารทั้ง ๖ อยู่ คือ สติปัฏฐาน อันประเสริฐ เวลากิเลสมาติดที่เพดาน คือ สติปัฏฐานนั้น พระภิกษุก็ควรฆ่าเสีย.
มิลิน. ๔๕๕
๓.๓ ธรรมดาช้างย่อมลงเล่นน้ำ อย่างสุขใจ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเวลาลงสู่สระโบกขรณีคือ มหาสติปัฏฐานอันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำ อันประเสริฐ คือ พระธรรมอันเย็นใสอันดาษไปด้วยดอกไม้คือ วิมุตติก็ควรเล่นอยู่ด้วยการพิจารณาสังขาร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
๓.๔ ธรรมดานายขมังธนูย่อมรักษาไม้ง่ามไว้ เพื่อดัดลูกธนูที่คดงอให้ตรง ฉันใด ภิกษุ ผู้ปรารภความเพียรก็ควรรักษาไม้ง่าม คือ สติปัฏฐานไว้ในกายนี้เพื่อทำ จิตที่คดงอให้ตรง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๔
๓.๕ แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเอง บริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาวสมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญานทัสนะ.
ที.ส. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๖
๓.๖ การละธรรมมีนิวรณ์ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธินั่น เหมือนการกั้นสาหร่ายบนผิวน้ำด้วยไม้.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๑๕
๓.๗ บุรุษเดินทางไกล เกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สองข้างทาง เขาจึงเกิดความหวาดเสียว เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุฉันใด
ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความหวาดเสียวแลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๓๒
๓.๘ ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้
ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษจับนกคุ่มหลวมๆ นกคุ่มนั้นก็บินไปจากมือเขาได้ฉันนั้น.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๓๓
๓.๙ ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้
ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้นต้องถึงความตายในมือนั่น ฉันนั้น.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๓๓
๓.๑๐ เรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำ เรือตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำ รุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๕๓
๓.๑๑ ธรรมดาสุกรย่อมขุดดินด้วยจมูกของตน ทำ ให้เป็นรางน้ำ ในที่มีน้ำ แล้วนอนแช่อยู่ในราง ฉันใด ภิกษุผู้ผู้ปรารภความเพียรก็ควรเก็บไว้ในใจ ควรฝังใจอยู่ในอารมณ์แล้วนอน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
๓.๑๒ ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนประทีปน้ำ มันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำ มัน ทั้งไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้น ย่อมติดไฟอย่างไม่ริบหรี่ เพราะทั้งน้ำมัน ทั้งไส้บริสุทธิ์ฉันใด
ดูก่อนท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์ มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดีถอนถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) ได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ได้ดีเธอย่อมรุ่งเรืองอย่างไม่ริบหรี่ เพราะระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๑๘
๓.๑๓ ดวงอาทิตย์ย่อมมีรัศมีเป็นมาลา ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีรัศมีคืออารมณ์เป็นมาลา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๑
๓.๑๔ ธรรมดาปลิงเกาะในที่ใดก็ตาม ต้องเกาะให้แน่นในที่นั้นแล้วจึงดูดเลือด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรมีจิตเกาะในอารมณ์ใด ควรเกาะอารมณ์นั้นให้แน่นด้วย สีสัณฐาน ทิศ โอกาส กำหนดเพศ นิมิตแล้วดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ด้วยอารมณ์นั้น.
มิลิน. ๔๕๓
๓.๑๕ เพราะจิตของเธอซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูป เป็นต้นมานาน ย่อมไม่ประสงค์จะลงสู่วิถีแห่งกัมมัฏฐาน คอยแต่จะแล่นออกนอกทางท่าเดียว เหมือนเกวียนที่เทียมด้วยโคโกง ฉะนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๙๒
๓.๑๖ คนง่อยไกวชิงช้าให้แก่มารดา และบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่ แล้วนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้าในที่นั่นเอง เมื่อกระดานชิงช้าไกวไปอยู่โดยลำ ดับ ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองข้าง และตรงกลาง แต่มิได้ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แม้ฉันใด
ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่ใกล้โคนเสาอันเข้าไปผูกไว้ด้วยอำ นาจสติแล้วโล้ชิงช้า คือ ลมหายใจเข้าและหายใจออก นั่งอยู่ด้วยสติในนิมิตนั้นนั่นเอง ส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุดแห่งลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ในฐานที่ลมถูกต้องแล้วซึ่งพัดผ่านมาผ่านอยู่โดยลำดับ และตั้งจิตเฉยไว้ในนิมิตนั้น และไม่ขวนขวายเพื่อจะแลดูลมเหล่านั้น นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนคนง่อย.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๒/๓๕๘
๓.๑๗ แม่น้ำ คงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญกระทำ ให้มากซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๒๑๑
๓.๑๘ ธรรมดาแมลงป่องย่อมมีหางเป็นอาวุธ ย่อมชูหางของตนเที่ยวไป ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีญาณ (ความรู้แจ้ง) เป็นอาวุธ ควรชูญาณ ฉันนั้น เอาพระขรรค์ คือญาณ ผู้เห็นธรรมด้วยอาการต่างๆ ย่อมพ้นจากภัยทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมอดทนสิ่งที่ทนได้ยากในโลก.
มิลิน. ๔๔๕
๓.๑๙ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมทำ ให้เห็นของดีของเลว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรทำ ตนให้เห็นโลกิยธรรม โลกุตรธรรม ด้วยอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปธาน อิทธิบาท ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ ของพระวังคีสเถรเจ้าว่า เมื่อดวงอาทิตย์ตั้งขึ้น ย่อมทำ ให้เห็นสิ่งต่างๆทั้งสะอาด ไม่สะอาด ดีเลว ฉันใด พระภิกษุผู้ทรงธรรมก็ทำ ให้หมู่ชนอันถูกอวิชชาปกปิดไว้ให้ได้เห็นธรรมต่างๆ เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ตั้งขึ้นมา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๒
๓.๒๑ เหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ยากฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ยาก.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๕๕
๓.๒๒ ธรรมดาแมวย่อมแสวงหาอาหารในที่ใกล้ๆ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรพิจารณาซึ่งความตั้งขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ว่า ความตั้งอยู่ และเสื่อมไป แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ไม่ควรพูดถึงที่ไกลภวัคคพรหมจักทำ อะไรได้ควรเบื่อหน่าย เฉพาะในกายของตนอันมีอยู่ในปัจจุบันนี้แหละ.
มิลิน. ๔๔๔
๓.๒๓ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า สมาธิมีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า สมาธิมีการเป็นหัวหน้าเป็นลักษณะ คือกุศลกรรมทั้งสิ้น มีสมาธิ เป็นหัวหน้า เหมือนเวลาพระราชาเสด็จออกสงคราม จตุรงคเสนาทหารทั้งสิ้น มีพระราชาเป็นหัวหน้า.
มิลิน. ๕๕
๔. ทำพระนิพพานให้แจ้ง
๔.๑ ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรบำ เพ็ญวิปัสสนา ประกอบความเพียรนี้เข้าไปสู่ป่า แล้วบรรลุอรหัตผล เหมือนเสือเหลืองซุ่มจับเนื้อกิน ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๖๗๙
๔.๒ ภิกษุนั้นทำ ลายเปลือกไข่ คือ อวิชชาแล้ว บรรลุพระอรหันต์ในเวลาจบพระคาถาจำเดิมแต่นั้นลูกไก่เหล่านั้น ยังคามเขตให้งามเที่ยวไปในคามเขตนั้น ฉันใด ภิกษุแม้นี้เป็นพระมหาขีณาสพบรรลุผลสมบัติอันมีนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ยังสังฆารามให้งามอยู่เที่ยวไป ฉันนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๑๘๕
๔.๓ ทหารในสงครามถืออาวุธ ๕ ประการ กำ จัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ชัยชนะ ฉันใด แม้ภิกษุผู้ปรารภความเพียรทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ถืออาวุธ คือ วิปัสสนา ถือเอาชัย คือ พระอรหันต์ไว้ได้ เพราะเหตุนั้น.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๓๑
๔.๔ ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนักวิปัสสนาจำ นวน ๕๐๐ รูปเหล่านั้น เป็นบุคคลชั้นอุคฆติตัญญู (ผู้อาจรู้ได้ฉับพลัน) แทงตลอดสัจจะ ดำ รงอยู่ในพระอรหัตผล เหมือนดอกบัวที่ถึงความแก่แล้ว พอต้องแสงอาทิตย์ก็บาน ฉะนั้น.
สัง.นิ. (ทั่วไป) มก. ๒๖/๑๘
๔.๕ บุคคลใดชนะกิเลสภายในของตนได้แม้เพียงครั้งเดียว บุคคลนี้ จัดเป็นจอมทัพผู้เกรียงไกรได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๖/๑๗๑
๔.๖ ธรรมดาช้างเมื่อเที่ยวไป ย่อมเอาเท้ากระชุ่นดิน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้พิจารณากาย ก็ควรทำลายกิเลสทั้งปวง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
๔.๗ พระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว ส่องอากาศให้สว่างด้วยรัศมีของตน ชื่อว่า กำจัดความมืดฉันใด พราหมณ์แม้นั้น เมื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กำจัดเสนามารเสียได้ข้อนี้ก็ฉันนั้น.
วิ.ม. (พุทธ) มก.๖/๑๔
๔.๘ เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมกำจัดมาร และเสนาเสียได้ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
วิ.ม. (พุทธ) มก.๖/๑๔
๔.๙ ชนเหล่าใดเข้าถึงฌาน ไม่ประมาทละกิเลสได้ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน ประดุจปลาทำลายข่ายได้แล้ว ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๓๔๖
๔.๑๐ ต้นไม้น้อมไปสู่ทิศปราจีน (ตะวันออก) โน้มไปสู่ทิศปราจีน โอนไปสู่ทิศปราจีน ต้นไม้นั้นเมื่อถูกตัดรากเสียแล้ว จักล้มลงทางทิศที่มันน้อมโน้มโอนไป แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ กระทำ ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓/๑๔๘
๔.๑๑ เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะตั้งไว้เหมาะ มือหรือเท้าย่ำ เหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้าให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยตั้งไว้เหมาะ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักกระทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพานเพราะทิฏฐิ ที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๕๐
๔.๑๒ แม่น้ำ คงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๓๙
๔.๑๓ น้ำ จากแม่น้ำ คงคากับน้ำ จากแม่น้ำ ยมุนา ย่อมกลมกลืนกันเข้ากันได้อย่างเรียบร้อย แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสำ หรับไปถึงพระนิพพานแก่พระสาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติก็กลมกลืนกันเป็นอย่างดี ฉันนั้น.
ที.ม. (ทั่วไป) มก. ๑๔/๔
๔.๑๔ โคที่ใช้การได้และที่พอจะฝึกใช้ได้ ว่ายตัดตรงกระแสแม่น้ำ คงคาถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด ซึ่งเกิดผุดขึ้น และปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่จำ ต้องวกกลับมาจากโลกนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ แม้ภิกษุเหล่านั้น จักตัดตรงกระแสมารแล้ว ถึงฝั่งโดยสวัสดี.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๗๐
๔.๑๕ กลอนเรือนยอดทั้งหมดน้อมไปสู่ยอด โน้มไปสู่ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุเจริญ โพชฌงค์ ๗ กระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๒๑๔
๔.๑๖ ธรรมดาพายุย่อมเที่ยวไปในอากาศ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรให้ใจเที่ยวไปในโลกุตรธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๘
๔.๑๗ ธรรมดาพืชถึงมีเพียงเล็กน้อย เมื่อเขาปลูกหว่านลงในที่ดินดีเวลาฝนตกลงมาดี ก็ย่อมให้ผลมาก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรปฏิบัติชอบ เพื่อศีลนั้นจะทำ ให้ถึงซึ่งโลกุตรธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๐
๔.๑๘ ธรรมดาดอกบัวย่อมลอยขึ้นพ้นน้ำ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรยกตนขึ้นพ้นโลก แล้วอยู่ในโลกุตรธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๙
๔.๑๙ ธรรมดาพรานเบ็ดย่อมดึงปลาขึ้นมาด้วยเหยื่อ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรดึงผลแห่งสมณะอันยิ่งใหญ่ด้วยญาณ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๙
๔.๒๐ ธรรมดาไฟย่อมกำ จัดความมืด ทำ ให้เกิดความสว่าง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรกำ จัดความมืด คือ อวิชชา ทำ ให้เกิดความสว่าง คือ ญาณ ฉันนั้น ข้อนี้สมกับพระพุทธโอวาทที่ทรงสอนพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอจงอบรมจิตใจให้เสมอกับไฟ เพราะเมื่อเธออบรมจิตใจให้เสมอกับไฟได้แล้ว สิ่งที่ถูกต้องซึ่งเป็นที่พอใจ และไม่พอใจย่อมไม่ครอบงำ จิต.
มิลิน. ๔๓๗
๔.๒๑ ธรรมดานายพรานพอแลเห็นเนื้อก็เกิดความร่าเริงว่า เราจักได้เนื้อตัวนี้ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรพอได้ความยินดีในอารมณ์ก็ควรเกิดความร่าเริงใจว่า เราจักได้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไป.
มิลิน. ๔๕๙
๔.๒๒ ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไปแอบซุ่มอยู่ตามกอหญ้า พุ่มไม้ซอกเขา ในป่าแล้วก็จับเนื้อกิน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ฉันนั้น ย่อมไปหาที่สงัดอยู่อันได้แก่ป่า โคนไม้ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าใหญ่ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อได้ที่สงัดอย่างนั้นก็จะสำ เร็จอภิญญา ๖ ในไม่ช้า
ข้อสมกับคำ ของพระธรรมสังคาหกมหาเถระเจ้าทั้งหลายว่า เสือเหลืองแอบซุ่มจับกินเนื้อ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนาก็เข้าไปอยู่ป่ามุ่งประโยชน์สูงสุด ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๕
๔.๒๓ ธรรมดาไม้ขานางย่อมเจริญอยู่ใต้ดินแล้วสูงขึ้นถึง ๑๐๐ ศอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรแสวงหาสมณะธรรม คือ สามัญผล ๔ ปฏิสัมมาภิทา ๔ อภิญญา ๖ ในที่สงัด ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ ของพระราหุลว่า ไม้ขานางมีรากหยั่งลงไปใต้ดินตั้ง ๑๐๐ ศอก เวลาถึงกาลแก่แล้วก็งอกขึ้นในวันเดียวตั้ง ๑๐๐ ศอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้อยู่ในที่สงัดก็เจริญขึ้นด้วยธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๐
๔.๒๔ ควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอกช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำ ริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำ บากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่า เป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติที่ยังผูกพันอยู่กับเรือน แก้ไขความดำ ริพล่านผูกพันอยู่กับเรือน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำ บากใจ และความเร่าร้อนใจที่ยังผูกพันอยู่กับเรือน... เพื่อทำ นิพพาน
ให้แจ้ง.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๙๒
๔.๒๕ ภิกษุทั้งหลาย ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้องของแม่ ได้ว่ายตัดตรงกระแสแม่น้ำ คงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดีแม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด ซึ่งหน่วงธรรม และศรัทธาเป็นหลัก แม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรงกระแสมารถึงฝั่งโดยสวัสดีฉันนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๗๐
๔.๒๖ ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนปานกลางที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงหนุ่มล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุมหาเถระยังไม่สิ้นอาสวะทำ กาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมหาเถระทำ กาละตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุเถระไม่สิ้น อาสวะทำ กาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทำ กาละตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุมัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะทำ กาลละ ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำ กาละตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุนวกะยังไม่สิ้นอาสวะทำ กาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำ กาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดีหัดดีแล้วล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนปานกลางที่ฝึกดีหัดดีแล้วล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูน ปานกลางล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดีหัดดีแล้วล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุมหาเถระสิ้นอาสวะแล้วทำ กาละลง ถ้าภิกษุเถระ... ถ้าภิกษุมัชฌิมะ... ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้วทำ กาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำ กาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้วทำ กาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๙๔
๔.๒๗ พระบรมศาสดาทรงเปรียบเทียบอริยสาวกกับต้นปาริฉัตรดังนี้ คือ
เมื่อพระอริยสาวกคิดออกบวช เปรียบเหมือนต้นปาริฉัตรมีใบเหลือง
เมื่อปลงผม และนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เปรียบเหมือนผลัดใบใหม่
เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน เปรียบเหมือนมีปุ่มดอก ปุ่มใบ
เมื่อบรรลุทุติยฌาน เปรียบเหมือนเป็นดอกเป็นใบ
เมื่อบรรลุตติยฌาน เปรียบเหมือนเป็นดอกตูม
เมื่อบรรลุจตุตถฌาน เปรียบเหมือนดอกแย้ม
เมื่อทำ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติทำอาสวะให้สิ้น เปรียบเหมือนดอกที่บานเต็มที่.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๔๓