สรุปโอวาทการปฏิบัติธรรมที่ ๖๐
ต้องสบาย : การจะเข้าถึงพระธรรมกายได้ ต้อง “หยุด” อย่างเดียว การฝึกให้หยุด ใช้หลัก คือ ต้องสบาย ฝึกใจให้สบาย ๆ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส ถ้าใจทิ้งทุกสิ่ง ก็จะหยุดนิ่งอยู่ตรงกลาง กลับเข้าสู่ที่ตั้งดั้งเดิมของใจ คือ ฐานที่ ๗ ถ้าเมื่อไรนำใจเข้าไปสู่ที่ตั้งดั้งเดิมได้ จะเข้าถึงพระธรรมกาย
ผู้รู้ภายในท่านคุยง่าย : ทั้งทางโลกทางธรรม ทั้งหยาบทั้งละเอียดเหมือนกันว่า จะทำอะไรได้ดีต้องมีฉันทะ ทำอย่างมีฉันทะ ไม่ใช่ฝืนให้ทำ ทำในจุดที่มีความสุขที่สุด นึกทีเดียวแล้วไม่ต้องนึกต่อ เพราะผู้รู้ภายในท่านคุยง่าย คุยทีเดียวก็รู้เรื่องแล้ว ถ้าปกติต้องอธิษฐานเป็นคำพูดเหมือนพิมพ์ดีดยาว ๆ แต่เราย่อให้สั้นที่สุด นี่เป็นการฝึกให้กระดิกจิต เพราะต้องใช้ในการศึกษาวิชชาธรรมกาย
ฐานทัพพระนิพพาน : แม้จุดเริ่มต้นของสภาวธรรมของลูกแต่ละรูปจะละเอียดต่างกันก็ไม่เป็นไร เพราะใจเป็นธาตุสำเร็จ เร็วกว่า
แสง เมื่อไปถึงจุดหนึ่งที่ละเอียด มันก็จะทันกันเอง ไม่ยากเลย เพราะฉะนั้น ให้เริ่มจากจุดที่ง่าย และมีความสุขไปก่อน ให้ปล่อยไปเลย ทิ้งไปเลย ทิ้งไปให้หมด แล้วให้นึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ว้ตรงกลาง นึกถึงคุณยายอาจารย์ฯ และมหาปูชนียาจารย์ ปล่อยไปเลยนะ นิ่งๆ ดิ่งเข้ากลางไปเลย เราเป็นเหมือนฐานทัพให้กับพระนิพพาน ท่านสอดความละเอียดเข้ามา แค่เราทำฐานทัพให้มีความบริสุทธิ์ นิ่งแน่น และมีความสุข ท่านเหล่านั้นก็จะลงกลั่นแก้สะสางธาตุธรรมให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ลูกไม่ต้องทำอะไร แค่ทำนิ่ง ๆ ให้ถูกส่วน เดี๋ยวท่านเหล่านั้นก็จะฉุดเข้าไปสู่สภาวธรรมที่มีอยู่แล้วภายในเอง แล้วก็อย่าไปกดดันตัวเองนะ ใครที่ยังทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ให้ทำเท่าที่ทำได้ และให้ทำอย่างมีความสุข
หน้าที่ที่แท้จริง : การทำหน้าที่ที่แท้จริง ก็คือการไม่ต้องทำอะไรเลย นิ่งๆ อย่างเดียว หยุดในหยุด หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง นิ่ง
ในนิ่ง เบา ๆ สบาย ๆ อย่าไปกดดัน ดิ่ง ไม่ใช่ดัน เพราะมันไม่เกิดประโยชน์อันใด แถมเกิดโทษ ลูกต้องจึงบอกตัวเองตรงนี้ให้ดี
คุณครูไม่ใหญ่
จากหนังสือ ง่ายที่สุดคือหยุดได้ เล่ม ๑