มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม

วันที่ 17 ตค. พ.ศ.2565

mongkol-life38.jpg

ม ง ค ล ที่ ๓๘

ในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว
ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวบางเหล่า
ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ
น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น
ตลอดยอดตลอดเง่า ไม่มีส่วนใดๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้ และให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุข
ไม่มีส่วนใดๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุข
อันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง

 

mongkol%20life38.1.jpg

๑. ภัยและความกลัว


๑.๑ ภัยเข้ามาถึงตัวแล้ว หมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๖/๔๔๙

mongkol-life38.2.jpg

๒. อภิญญา


๒.๑ อิทธิวิธี (แสดงฤทธิ์)


๒.๑.๑ หงส์ทั้งหลาย ย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์ ท่านมีผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ ธีรชนชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมออกไปจากโลกได้.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒๒๘


๒.๑.๒ ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน เหาะไปในในเวหาส ไปได้ตลอด เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญ.
ม.ม. ( อรรถ ) มก. ๒๐/๑๖๗


๒.๑.๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายไปในประสาทของมิคารมารดา ในวิหารบุพพารามปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประการหนึ่ง บุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่งอออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๑๔๘

๒.๑.๔ กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติ และสุขอย่างไพบูลย์ถูกตัองแล้ว ย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนนุ่นที่ถูกลมพัดไป ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๔๗๔


๒.๑.๕ เปรียบเหมือนช่างหม้อ หรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
           เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
           เปรียบเหมือนช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จๆ ได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตใจไปเพื่อแสดงฤทธิ์ เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตดเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๘


๒.๑.๖ ปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา และ ลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้ โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๑๗๒


๒.๒ ทิพยโสต (หูทิพย์)


๒.๒.๑ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มจิตไปเพื่อทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกล และอยู่ใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๙

๒.๓. เจโตปริยญาณ (กำหนดใจคนอื่นได้)


๒.๓.๑ เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด
          ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าจิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๓๐


๒.๔ ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)


๒.๔.๑ เปรียบเหมือนบุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านคนอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้ว่า เราออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยินอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้นออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยินอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม ฉันใด
          ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมระลึกชาติที่เคยอาศัยในกาลก่อนเป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนเป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๒๑๔


๒.๔.๒ ภิกษุใดมีอภิญญามาก ย่อมรู้กรรม และผลแห่งกรรม โดยประจักษ์เฉพาะหน้า ดุจรู้ผลมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๔๖๕


๒.๕ ทิพยจักษุ (ตาทิพย์)


๒.๕.๑ ปราสาทตั้งอยู่ท่ามกลางทางสี่แพร่ง บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น ก็จะเห็นผู้คนทั้งหลายกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง ออกไปอยู่บ้างกำลังเดินไปมาอยู่ตามถนนบ้าง นั่งอยู่ท่ามกลางทางสี่แพร่งบ้าง เขาก็รู้ว่า คนเหล่านั้นเข้าไปสู่เรือน คนเหล่านี้ออกจากเรือน คนเหล่านี้เดินไปตามถนน คนเหล่านี้นั่งท่ามกลางทางสี่แพร่ง ฉันใด
          ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็ฉันนั้นแล ฯลฯ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ เธอย่อมน้อมโน้มจิตไป เพื่อหยั่งรู้การจุติ และการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เห็นสัตว์ทั้งหลายที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เกินจักษุของมนุษย์ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม.
ที.สี. (เถระ) มก. ๑๒/๒๒๐


๒.๕.๒ เรือนสองหลังมีประตูร่วมกันบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ท่ามกลางเรือน พึงเห็นหมู่มนุษย์กำลังเข้าสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังเดินไปบ้าง กำลังเที่ยวไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฉันนั้น เหมือนกันแล.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๒๑๕


๒.๕.๒ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ตรงกลางเรือนนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนที่กำลังเข้าไปบ้าง กำลังเดินวนเวียนอยู่ที่เรือนบ้าง ฉันใด สาวกของเราทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธ์ิ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๒๐/๕๗๖


๒.๖ อาสวักขยญาณ (ทำให้อาสวะสิ้นไป)


๒.๖.๑ เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่ง และหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวด และก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่ง และหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้างในสระดังนี้ ฉันใด
          สาวกของเราทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๓๔


๒.๖.๒ หีบผ้าของพระราชา หรือราชอำมาตย์ ซึ่งเต็มไปด้วยผ้าที่ย้อมแล้วเป็นสีต่างๆ พระราชาหรือราชอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นในเวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดในเวลาเย็นก็
ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นในเวลาเย็น ฉันใด
        ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้าก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็นก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (เถร) มก. ๑๙/๒๘


๒.๖.๓ ภิกษุแม้นี้ ทำความแผ่ไปแห่งญาณให้บังเกิดขึ้น ดุจงูแผ่พังพานไปฉะนั้น ก็ย่อมละฝั่งไปดุจงูลอกคราบ ฉะนั้น ก็ครั้นสละฝั่งใน และฝั่งนอกได้แล้ว เป็นผู้มีคราบอันลอกแล้วดุจงูลอกคราบแล้ว ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๑


๒.๖.๔ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลกนี้ก็ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพใดๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชน ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒

 

mongkol-life38.3.jpg
๓. ผู้ไม่สะดุ้งกลัว


๓.๑ ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้วชื่อว่า ผู้ชนะสงครามย่อมบันลือสีหนาทดังราชสีห์ในถ้ำภูเขา ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๑/๑๔๐


๓.๒ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียงเหมือนสีหะ ไม่ข้องเหมือนลมไม่ติดที่ตาข่ายไม่ติดอยู่เหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.จุ. (ปัจเจก) มก. ๖๗/๖๒๑


๓.๓. พระองค์ทรงก้าวล่วงอุปธิทำลายอาสวะได้แล้ว พระองค์เป็นดังสีหะ ไม่มีอุปทานทรงละความกลัว และความขลาดได้แล้ว ไม่ทรงติดอยู่ในบุญ และบาปทั้งสองอย่าง เปรียบเหมือนดอกบัวขาบที่งามไม่ติดอยู่ในน้ำ ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (ทั่วไป) มก. ๔๘๓-๔

๓.๔ พระสัญชีวเถระออกจากสมาบัติแล้ว เหยียบย่ำเดินไปบนถ่านเพลิงปราศจากเปลวไฟ เช่นดอกทองกวาว แม้สักว่าเปลวไฟก็ไม่ไหม้จีวรแม้สักว่าอาการแห่งไออุ่นก็ไม่มี.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๙/๑๕๗


๓.๕ ภูเขาศิลาล้วนไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่คงที่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวดุจบรรพตเพราะสิ้นโมหะ.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๔๖๕


๓.๖ เราไม่มีความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไปแล้ว ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒


๓.๗ เราย่อมไม่กลัวความตาย เหมือนคนดื่มยาพิษด้วยความพลั้งเผลอแล้วบ้วนทิ้งไป.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๑๑

 

mongkol-life38.4.jpg
๔. จิตเกษม


๔.๑ เหมือนเจ้าหน้าที่สรงสนาน หรือลูกน้องของเจ้าหน้าที่สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงโรยผงที่ใช้ในการสรงสนานใส่ลงไปในภาชนะสำริด แล้วเอาน้ำพรมหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณที่ใช้ในการสรงสนานมีตัวยางจะซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่ไหลออกไป ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้สดชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งร่างกายของเธอทั่งทั้งตัวที่ปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
ที.สี. (เถระ) มก. ๑๒/๒๑๒


๔.๒ ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ วาบว่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่งทั้งตัวที่ปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
         เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำให้ห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้น ทั้งหมดที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๒๑๓


๔.๓ ในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ  น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอดตลอดเง่า ไม่มีส่วนใดๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้และให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนใดๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.


๔.๔ บุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม้มีส่วนใดๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาว จะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วทั้งกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีส่วนใดๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๕


๔.๕ น้ำมันไม่อาจขังเครื่องตวงได้ไหลล้นไป เขาเรียกว่า ล้นเหลือ และน้ำที่ไม่อาจขังเหมืองน้ำได้ไหลล้นไปนั้น เขาเรียกว่า น้ำหลาก ฉันใด คำที่เกิดแต่ปีติก็ฉันนั้นเหมือนกัน ขังหทัยไม่ได้ คือ เก็บไว้ข้างในไม่อยู่ ก็ล้นออกข้างนอกนั้น ท่านเรียกว่า อุทาน.
อัง.ทุก. (เถระ) มก. ๓๓/๓๙๐


๔.๖ จิตดวงสุดท้ายของพระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยพละเหล่านี้ย่อมหลุดพ้นจากวัตถุ และอารมณ์ เหมือนความดับไปแห่งดวงประทีป ฉะนั้น คือ ย่อมไม่ปรากฏสถานที่ไป.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๖


๔.๗ เกิดความปีติปราโมทย์ เหมือนบุรุษเข็ญใจพบขุมทรัพย์ใหญ่.
อัง.สัตตก. (ทั่วไป) มก. ๓๗/๓๗๗


๔.๘ กุลบุตรใดรู้ว่า ศีลบริสุทธิ์ได้เพราะอาศัยญาน เหมือนผ้าสกปรกย่อมสะอาดได้เพราะอาศัยน้ำสะอาด กระจกเงาผ่องใสได้เพราะอาศัยขี้เถ้า ทองบริสุทธิ์ได้เพราะหลอมในเบ้า ฉะนั้น ล้างอยู่ด้วยน้ำ คือ ญาณ ชื่อว่า ยังศีลให้บริสุทธิ์ และเป็นผู้ไม่ประมาทเลย ย่อมรักษาศีลขันธ์ของ
ตน เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาไข่ แม่เนื้อจามรีรักษาขนหาง นางนารีผู้มีบุตรน้อยคนเดียวรักษาบุตรน้อยคนเดียวที่รัก และบุรุษมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาข้างเดียวนั้น ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๗๑


๔.๙ สายฟ้าแลบส่องแสงลอดเข้าไปตามช่องแห่งภูเขาเวภาระ และภูเขาปัณฑวะ ฉันใด ภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้คงที่ ไม่มีผู้เปรียบปาน อยู่ในช่องแห่งภูเขา เจริญฌานอยู่ ก็ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๒๓๔


๔.๑๐ ผู้ใดมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ติดอยู่ในอาหาร มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจร รอยเท้าของผู้นั้นรู้ได้ยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๔๓๓

๔.๑๑ บุคคลผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจสำเร็จแล้ว หมดอาสวะย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้วจากการถูกประหาร ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒


๔.๑๒ ภิกษุใดกำจัดความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ดุจหมองูที่กำจัดพิษงูที่ซ่านไปด้วยโอสถฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมละฝั่งใน และฝั่งนอกเสียได้ ดุจงูที่ละคราบเก่าคร่ำคร่าเสีย ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๑


๔.๑๓ พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดี เราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้ง ฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวงย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลที่ออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒

 

สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ
อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนาม รูป เป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.033925819396973 Mins