บทที่ ๑ ธรรมพื้นฐานแห่งความเป็นครู

วันที่ 15 กค. พ.ศ.2567

 

2567_07_15_b_01.jpg

 

บทที่ ๑
ธรรมพื้นฐานแห่งความเป็นครู

 


           ในฐานะที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายต่างมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองของบรรดาศิษย์ทั้งหลาย กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ คณาจารย์ทั้งหลายต่างมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ของศิษย์ของตน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อย่างถูกต้องลึกซึ้งพอสมควรเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริงมิฉะนั้นถึงแม้จะทุ่มเทแรงกายแรงใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความปรารถนาดีต่อศิษย์เพียงใดก็อาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์มีดังนี้


ความสำคัญของมนุษย์

 

มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง
                         หมายถึง - มีใจสูงกว่าสัตว์โลกชนิดอื่นๆ
                                   - หากฝึกดีแล้ว ใจย่อมสูงส่งเกินกว่ากิเลสชั่วร้ายใดๆ จะครอบงำทำลายได้ สูงจนสามารถบรรลุถึงพระนิพพานได้


มนุษย์ มีใจสูงเพราะบำเพ็ญมนุษยธรรม คือรักษาศีล ๕ และกุศลกรรมบถ ๑๐ มาอย่างมั่นคงแล้วในอดีตชาติ

 

มนุษย์ มีใจใสสะอาดเป็นปกติ แม้ยังไม่หมดกิเลสก็สามารถเลือกคิด พูด ทำ เฉพาะแต่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ หากได้รับการศึกษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่วัยเยาว์ ย่อมเป็นการสนับสนุนให้ประกอบคุณประโยชน์แก่ตนและเพื่อนร่วมโลกได้ไม่มีที่สิ้นสุด


มนุษย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วน คือ


              ๑. ร่างกาย หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กาย


              ๒. ใจ หรือบางครั้งเรียกว่า จิต


องค์ประกอบของมนุษย์


         องค์ประกอบสำคัญของมนุษย์มีอยู่ ๒ ประการ คือกายและใจ


         ๑. กาย


         กาย-ทั้งหญิงและชายต่างประกอบด้วยธาตุ ๔ ชนิด ได้แก่
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มาประชุมกันอย่างได้สัดส่วนเหมาะสมแล้วเกิดเป็นเซลล์เล็กๆ กลุ่มเซลล์เล็ก ๆ เหล่านี้ประกอบกันเกิดเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก เช่น ผม ขน เล็บ ฯลฯ ภายใน เช่น ตับ ไต หัวใจ ฯลฯ

        กาย-ประกอบขึ้นจากธาตุ ๔ ซึ่งยังไม่บริสุทธิ์ เซลล์แต่ละเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ จึงอ่อนแอ มีอายุไม่นานก็แตกทำลายมีข้อมูลปรากฏว่าในเวลาเพียง ๑ นาทีมีการแตกทำลายของเซลล์เก่าและการเกิดขึ้นของเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน ประมาณ ๓๐๐ ล้านเซลล์อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา


      กาย-เกิดขึ้นเองไม่ได้ แต่ต้องมีบิดาและมารดาเป็นผู้ให้กำเนิด คือท่านทั้งสองให้ธาตุ ๔ เพื่อประกอบขึ้นเป็นเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเราอย่างครบถ้วน จึงถือได้ว่าบิดาและมารดาเป็นผู้ให้ทุนชีวิตแก่เรา


    กาย-จะเจริญเติบโตขึ้นและดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ภายหลังคลอดก็ต่อเมื่อมีธาตุ ๔ จากภายนอก เช่น ข้าวปลาอาหาร น้ำ อากาศและแสงแดด ฯลฯ เข้ามาหล่อเลี้ยงอย่างเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพตลอดเวลา


     กาย-หากได้ธาตุ ๔ จากภายนอกที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมและมีปริมาณไม่พอเหมาะกับเพศและวัย จะทำให้เซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ อ่อนแออย่างรวดเร็ว ซึ่งจะยังผลให้อัตราการตายของเซลล์มีปริมาณสูงขึ้นอีก ในที่สุดก็จะกลายเป็นรังแห่งโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายไปโดยปริยาย


      กาย-แม้จะได้รับการดูแลปกป้องรักษาเป็นอย่างดีเพียงใดก็ตาม แต่เพราะเหตุที่ธาตุ ๔ ทั้งที่ได้มาจากบิดามารดาตั้งแต่ถือกำเนิด และธาตุ ๔ จากภายนอกซึ่งแสวงหามาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาไม่บริสุทธิ์พอ จึงต้องแตกสลายเป็นธรรมดา คือตายในที่สุดกาย - ของมนุษย์ที่ไม่พิกลพิการ มีลักษณะพิเศษ คือ

 

         ๑. กระดูกสันหลังตั้งฉากกับพื้นโลก ยามยืน เดิน นั่ง จึงตั้งตรง คล่องแคล่วว่องไว

 

         ๒. ยามนอนก็นอนได้ราบทั้งหงาย คว่ำ ตะแคง จึงพักผ่อนได้เต็มที่

 

 ๓. รูปร่าง ขนาด สัดส่วน อวัยวะเหมาะแก่การประกอบคุณงามความดีทุกรูปแบบ เพราะเกิดจากอำนาจบุญ ที่สั่งสมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จึงไม่สมควรใช้กายนี้ไปถล่มทลายทำความชั่ว แต่สมควรอย่างยิ่ง ที่จะใช้ทาเฉพาะความดีให้สมกับที่ได้โอกาสครอบครองกายอันแสนประเสริฐนี้

 


         กาย-หลังจากตายกลายเป็นศพแล้วก็จะถูกนำไปฝังหรือเผาธาตุทั้ง ๔ ที่ประกอบเป็นกายก็คืนกลับสู่สภาพเดิม คือ ธาตุดินก็กลับทับถมจมดินไป ธาตุน้ำก็สลายกลายเป็นน้ำธาตุไฟก็กลายเป็นไฟ ธาตุลมก็กลายเป็นลม แม้เชื้อโรคต่าง ๆ ในกายก็ต้องตายตามไปด้วย


๒. ใจ

         ใจ-เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของมนุษย์สถิตอยู่ภายในกายตั้งแต่ถือกำเนิด ทำให้กายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยธาตุ ๔ มีชีวิตขึ้นมาได้

          ใจ-เป็นธาตุละเอียดจึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อไม่สามารถจับต้องได้ แต่เห็นได้ด้วยตาทิพย์


          ใจ-เป็นธาตุรู้จึงทำให้เรารู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น รู้ธรรม รู้หนังสือ รู้จักเพื่อน รู้จักดีและชั่ว รู้จักดีใจและเสียใจ รู้จักเหตุและผล ฯลฯ


          ใจ-ทำงานร่วมกับประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย จึงทำให้เห็นรูปผ่านตา ฟังเสียงผ่านหู สูดดมกลิ่นผ่านจมูก ลิ้มรสผ่านลิ้นและสัมผัสผ่านกายได้

 

         ใจ-ปกติจะผ่องใส ไม่ขุ่นมัว และมีความสว่างภายใน ทำให้บุคคลสามารถรู้เห็นสภาวการณ์ต่างๆ รอบตัวผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน จึงรักที่จะคิดดีๆ แล้วสั่งกายให้พูดและทำสิ่งดีๆ ตามมา

 

          ใจ-หากถูกกิเลสเข้าครอบงำ ย่อมเศร้าหมอง ขุ่นมัว การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ จึงผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ตรงตามความเป็นจริง ก่อให้เกิดความคิดวิปริต จึงพูดร้ายทำร้ายได้ต่างๆ นานา ทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนชั่วคนร้ายไปทันที


ศัตรูแท้จริงของมนุษย์


          ได้แก่ กิเลสที่แอบแฝงอยู่ในใจซึ่งมีอยู่ ๓ ตระกูลด้วยกัน


                 กิเลส-หรือกิเลสมารเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งสกปรกมาก เปรอะเปื้อนมาก เหนียวแน่นมาก มีอำนาจในการทำลายทำร้ายใจให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ได้มากไม่มีสิ่งใด มาเทียบเทียมได้ ขณะเดียวกันก็เป็นธาตุที่ละเอียดมาก จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อแต่จะเห็นได้ด้วยตาธรรมหรือธรรมจักษุเท่านั้น

     กิเลส-ฝังตัวเกาะติดอยู่ในใจมนุษย์ตั้งแต่แรกถือกำเนิดในครรภ์มารดาเช่นเดียวกับเชื้อโรคทั้งหลายที่ฝังตัวอยู่ในยีนและโครโมโซม เพื่อรอจังหวะทำความเจ็บป่วยให้ร่างกายขณะที่สุขภาพอ่อนแอฉันใด กิเลสก็จ้องหาโอกาสครอบงำาเราขณะที่ใจเผลอสติฉันนั้น


                   กิเลส-ที่แฝงอยู่ในใจของผู้ตายนั้นไม่ตายตามร่างกายไปด้วยแต่ทำหน้าที่บังคับบัญชาให้กายละเอียดของผู้นั้นไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่พอเหมาะกับความเลวร้ายของเขาหากได้โอกาสก็บังคับผู้นั้นให้คิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายต่อไปอีก จึงต้องเป็นทุกข์และได้บาปต่อไปอีกชาติแล้วชาติเล่า เช่นเดียวกับผู้คุม ย้ายนักโทษจากที่คุมขังหนึ่งไปอีกที่คุมขังหนึ่งให้พอเหมาะกับความประพฤติของนักโทษนั้น หากนักโทษก่อเหตุร้ายอีกก็ลงโทษให้ยิ่งๆขึ้นอีก


                  กิเลส-หากเข้าครอบงำใจได้เมื่อไร ก็ย้อม เคลือบ ห่อ หุ้มใจ ให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว มืดมิด สกปรก มีสภาพไม่ต่างกับถ้ำมืดที่ทั้งสกปรกทั้งอันตราย หรือเหมือนกับคนใส่แว่นสีดาแถมเปื้อนโคลนเหนอะหนะอีกด้วยทำให้เสียคุณภาพในการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ การได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ไม่ตรงตามความเป็นจริง แล้วบีบคั้นใจให้กล้าคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายตามการรับรู้ที่ผิดๆบิดเบือนไปแล้วนั้น เป็นผลให้ต้องได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆจากคนดีจึงต้องกลายมาเป็นคนชั่วร้าย ตามความคิด คำพูดและการกระทําร้ายๆนั้น หากเผลอสติปล่อยกิเลสเข้าครอบงำใจได้เมื่อไร ย่อมสร้างความสลับซับซ้อนเช่นนี้ให้บังเกิดขึ้น ไม่ว่างเว้นแม้แต่วินาทีเดียวกับสัตว์โลกทุกชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย


                 กิเลส-จึงเป็นต้นเหตุหรือตัวการแท้จริงที่ทำให้เกิดความทุกข์ ความชั่วร้าย ความบาปทุกชนิดในโลก โดยมีสัตว์โลกแต่ละชีวิตเป็นหุ่นหรือนักโทษที่ถูกบังคับให้ทำการต่าง ๆ ก่อนจะถูกประหารให้ตายอย่างทรมาน

 

              กิเลส-แบ่งออกเป็น ๓ กองทัพ แต่ละกองทัพมีลักษณะเลวร้ายโดยเฉพาะ แล้วร่วมกันกลุ้มรุมโจมตีใจให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ กองทัพเหล่านั้น ได้แก่


            กองทัพที่ ๑ โลภะ ทำให้ใจอดอยากหิวโหย และไม่รู้จักพอ

 

            กองทัพที่ ๒ โทสะ ทำให้ใจพลุ่งพล่าน เดือดดาล คิดทําร้าย

 

            กองทัพที่ ๓ โมหะ ทำให้ใจมืดบอด ขาดเหตุผล มักง่าย เอาแต่ใจตัว

 

๑. กิเลสตระกูลโลภะ

 

      โลภะ-เป็นกิเลสประเภทที่บีบบังคับใจให้รู้สึกหิวโหยอยากได้มากผิดปกติ ใจจึงดิ้นรนอยู่ไม่เป็นสุข ต้องคิดหาทางเอามาเป็นของตนในทางทุจริตต่าง ๆเช่น คิดลักขโมย โกง จี้ ปล้น ฯลฯ จนถึงคิดฆ่าคนตาย รวมเรียกว่า ความโลภ

 

        โลภะ-มีลักษณะยึดอารมณ์ไว้อย่างเหนียวแน่น คือเมื่อพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ใดซึ่งเป็นอายตนะภายนอกใจก็แล่นออกจากศูนย์กลางกายไปยึดติดอารมณ์นั้นค้างไว้ในใจจากความอยากได้อย่างสามัญก็ขยายตัวออกกลายเป็นความอยากได้ที่เกินเหตุซึ่งเป็นพิษยากจะสลัดทิ้งหรือแกะออกเหมือนลิงติดตังหรือติดกาวเหนียวๆแล้วแกะไม่ออกจึงถูกนายพรานจับตัวเอาไปทําอย่างไรก็ได้ตามชอบใจ

 

        โลภะ-มีเหตุใกล้ชิดคือนิสัยไม่ดีเป็นต้นเหตุ กล่าวคือ มีความชอบใจในธรรมฝ่ายต่ำที่ทำให้เกิดกิเลสเป็นเชื้ออยู่แล้ว เช่น ความฟุ่มเฟือย ความเอาเปรียบ ความเห็นแก่ได้ความอยากได้ อยากมี ฯลฯ

 

    โลภะ-จึงเปรียบเสมือนชะลอมใส่น้ำไม่รู้จักเต็ม มักก่อให้เกิดความเร่าร้อนคิดที่จะทำทุจริตต่างๆเพื่อให้ได้สิ่งนั้นๆมาครอบครอง เรื่องใดที่ไม่เคยคิดจะพูดก็พูด ไม่เคยคิดจะทำก็ทำ ที่เคยคิดบ้างแล้วก็กำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น


การละโลภะ


             ๑. ด้วยการใช้สติยับยั้งไว้ก่อน อย่าลุแก่อำนาจความอยากนั้นๆ

 

             ๒. ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาผลได้ผลเสียให้เกิดหิริโอตตัปปะ

 

             ๓. ด้วยการบำเพ็ญธรรมที่ตรงข้ามกับโลภะ คือ บริจาคทานเป็นนิจ

 


 ๒. กิเลสตระกูลโทสะ

 

           โทสะ-เป็นกิเลสประเภทที่บีบบังคับใจให้ร้อนรน หงุดหงิด ขัดเคือง ชิงชังได้ง่ายผิดปกติ เป็นผลให้คิดอยากทําลายล้างผลาญคนอื่น สิ่งอื่นให้ได้รับอันตรายเสียหาย เช่น ทำให้เขาบาดเจ็บ อับอาย เสียหน้า เสียทรัพย์ รวมเรียกว่า คิดประทุษร้ายหรือความโกรธความคิดประทุษร้ายอันเนื่องมาจากความไม่พอใจฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ที่จัดว่าเป็นโทสะ เช่น ยิงนก ฆ่าหนู เพราะโกรธที่มันลงมากินข้าวในนา แต่ถ้าคิดประทุษร้ายด้วยเหตุอื่น เช่น คิดยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ เพราะเห็นว่าเป็นกีฬาสนุกๆ จัดว่าเป็น โมหะ

 

           โทสะ-มีลักษณะดุร้ายเหมือนอสรพิษที่ถูกตีแล้วไม่ตาย คือ เมื่อบุคคลเผลอสติ เกิดความมานะถือตัวว่า ตนเด่นกว่าเขา ตนต้อยกว่าเขา หรือตนเสมอกับเขาก็ดี ครั้นถูกกระทบด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ใดซึ่งไม่น่าพอใจ ก็เกิดความคิดขัดเคือง หงุดหงิด หากระงับไม่ได้ ก็จะขยายตัวเป็นเหตุให้เกิดความคิดชั่วถึงกับทะเลาะวิวาท กลั่นแกล้ง ทำร้าย ฆ่ากัน อันเป็นเหตุให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน เหมือนคนที่เป็นศัตรูได้โอกาสล้างแค้นกันเร็วขึ้นฉะนั้น

 

                โทสะ-เมื่อเกิดกับผู้ใดย่อมทำให้ผู้นั้นคิดทำลายทุกสิ่งทุกอย่างแม้ตนเอง

นับตั้งแต่

                  ๑) ทำลายระบบความคิด

 

                  ๒) ทำลายสุขภาพร่างกายและจิตใจ

 

                  ๓) ทำลายทรัพย์สิน

 

                  ๔) ทำลายสังคม เข้าท่านองใครขอความดีก็ไม่ให้ ใครให้ก็ไม่รับทั้งยังเอาไฟเผาความดีภายในตนอีกด้วย

 

                โทสะ-จึงเปรียบเสมือนลูกระเบิดในใจ พอมันระเบิดก็ทำลายตนเองเป็นอันดับแรก จากนั้นก็ทําลายทั้งคนและสิ่งของข้างเคียงต่อไป


  การละโทสะ


                   ๑. ด้วยการใช้สติยับยั้งไว้ก่อน


                   ๒. ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษ


                   ๓. ด้วยการตั้งใจรักษาศีล ๕ ป้องกันไว้ก่อน


                   ๔. ด้วยการบำเพ็ญธรรมที่ตรงข้ามกับโทสะ คือ แผ่เมตตาเป็นนิจ


๓. กิเลสตระกูลโมหะ

 

               โมหะ-เป็นกิเลสประเภทบีบบังคับใจให้งุนงง หลงใหล งมงาย มัวเมา มืดบอด ขาดเหตุผล เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมปิดบังใจของผู้นั้น ไม่ให้รู้ถึงความจริงของสิ่งที่ตนได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส แล้วคิดลุ่มหลงต่าง ๆ นานาด้วยความเขลาเบาปัญญา ทำให้ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษผิดชอบ ชั่วดี เช่น ลุ่มหลงในสุรา นารีพาชี กีฬาบัตร เป็นต้น รวมเรียกว่า ความหลง


                 สําหรับความไม่รู้วิชาการต่าง ๆ ในทางโลก เช่น ไม่รู้เรื่องคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การประกอบอาหาร การตัดเย็บเสื้อผ้า การค้าขาย ฯลฯ ไม่จัด ว่าเป็นโมหะเป็นเพียงความไม่รู้ทั่วไปเท่านั้น


                  โมหะ-มีลักษณะปกปิดสถานะจริงของอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสไว้อย่างแน่นหนา ทําให้ใจมืดมิดไม่พยายามใช้ปัญญาพิจารณาในเรื่องนั้นๆให้ประจักษ์ถ่องแท้แต่ทำตนเป็นปฏิปักษ์กับเหตุผล แม้มีความรู้ก็ไม่ชอบใช้ความรู้ ไม่ชอบใช้ความคิด กลายเป็นคนดูเบา หูเบา ฯลฯ ของมอมเมา เช่น สุรา เป็นโทษแท้ๆ กลับดูเบา เห็นว่าเป็นคุณ ใช้สําหรับกระชับมิตร การพนันเป็นของทำลายเศรษฐกิจแท้ๆ กลับดูเบาเห็นเป็นสิ่งที่กระตุ้นเศรษฐกิจ ฯลฯ ในที่สุดก็กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ไม่รู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี ไม่รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ มีสภาพเหมือนคนตาดีที่ตกอยู่ในที่มืด กล่าวคือมีตาแต่ไม่พยายามมองตาก็หมดสภาพกลายเป็นมองไม่เห็น หรือไม่ก็เห็นผิดๆ


                 โมหะ-มีเหตุใกล้ที่ทำให้เกิดโมหะ คือ ขาดการคิดอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

                โมหะ-จึงเปรียบเสมือนความมืดภายในใจ ความมืดนั้นทำให้ผู้ถูกครอบงำชอบเสี่ยง ชอบเดา เชื่อโชคลาง เชื่อพรหมลิขิต ชอบทำความผิดทุกชนิด ตั้งแต่ทะเลาะ วิวาทกัน ฆ่ากัน ทำสงครามกัน ไม่เว้นแม้การทำร้ายหรือฆ่าพ่อแม่ของตนเอง

 

การละโมหะ

 

                 ๑. ตั้งใจฟัง อ่าน เรียนธรรม เพื่อเพิ่มพูนสุตมยปัญญา


                 ๒. ตั้งใจค้นคิด ทดลอง ทำวิจัยธรรม เพื่อเพิ่มพูนจินตามยปัญญา


                 ๓. ตั้งใจทำใจให้สงบ และเจริญสมาธิภาวนา เพื่อเพิ่มพูนภาวนามยปัญญา

 


                         หากเผลอสติปล่อยให้กิเลสเข้ายึดครองใจ ใจจะถูกบังคับให้คิดร้าย ๆ แล้วพูดและทำแต่เรื่องร้าย ๆ ตามแต่กิเลสจะชักนำ ผู้นั้นย่อมได้บาป ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ทำให้เป็นคนไร้ความสุข ฉะนั้น ผู้ที่หวังความสุขความเจริญจำเป็นต้องกำจัดกิเลสเสียแต่ต้นแต่กิเลสไม่สามารถใช้น้ำล้างได้ ใช้ไฟเผาก็ไม่ได้ มีบุญเท่านั้นที่สามารถทําจัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง


มิตรแท้จริงของมนุษย์


                         ได้แก่ บุญซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง


                      บุญ-เป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งบริสุทธิ์มาก เพราะไม่ว่าปริมาณจะมาก น้อยหรือปานกลาง นอกจากไม่มีโทษใดๆ แล้ว ยังนำาแต่ความสุขความเจริญ ความสมหวังในสิ่งที่ดีงามทั้งหลายมาให้ผู้มีบุญนั้น ทั้งในชีวิตนี้และชีวิตในโลกเบื้องหน้า เช่น ทำให้อายุยืน สุขภาพพลานามัยแข็งแรง ผิวพรรณงาม มีศักดามาก มีทรัพย์สมบัติมากเกิดในตระกูลสูง และมีปัญญามาก ฯลฯ

 

                        บุญ-เป็นพลังงานซึ่งมีอานุภาพมาก เพราะเป็นสิ่งเดียวที่มีฤทธิ์ฆ่ากิเลสทุกชนิดได้ จึงสามารถชำระจิตสันดาน ที่เศร้าหมองตลอดจนความเห็นผิดความคิดชั่วร้ายทั้งหลายให้หมดสิ้นไปจากใจ ทำให้ใจกลับมาบริสุทธิ์ผ่องใสได้เป็นอัศจรรย์

 

                  บุญ-ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อของมนุษย์แต่เห็นได้ด้วยตาทิพย์ (ทิพยจักษุ) ตาธรรม (ธรรมจักษุ) และรู้ได้ด้วยอาการที่ปรากฏ เช่น รู้สึกเป็นสุขสดชื่น หน้าตาผ่องใส มีกำลังใจทำความดี มีความสำรวมระวัง ฯลฯ เช่นเดียวกับที่รู้ว่ามีพลังงานไฟฟ้าด้วยอาการที่ทำให้หลอดไฟสว่าง เตารีดร้อน พัดลมหมุน กล้ามเนื้อกระตุก ฯลฯ

 

                         บุญ-มีคุณสมบัติวิเศษมากมาย เช่น


                             ๑. เป็นของเฉพาะตน จึงต้องทำด้วยตัวเอง


                             ๒. ติดตามตนเองไปได้ทุกฝีก้าว แม้ตายไปเกิดในภพใหม่ก็ยังติดตามไปได้


                             ๓. ใครแย่งใครลักไปก็ไม่ได้


                             ๔. เป็นเครื่องป้องกันภัยในวัฏสงสาร เช่น ไม่ให้ตกนรกก็ได้


                             ๕. สามารถส่งไปได้ไกล ๆ แม้ข้ามโลก ข้ามจักรวาลก็ไปได้


                             ๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ นิพพานสมบัติก็ได้ ฯลฯ

 

                       บุญ-ทั้งน้อยและใหญ่ล้วนเกิดที่ใจของผู้ทำบุญเท่านั้น โดยย่อเราสามารถทําบุญได้ ๓ วิธีด้วยกัน คือ


                             ๑. ทาน คือ การให้สิ่งของที่ควรแก่ผู้ที่ควรให้


                             ๒. ศีล คือ การควบคุมกาย วาจา ให้เรียบร้อยด้วยการไม่ทําผิดและพูดผิด


                             ๓. ภาวนา คือ การทำใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น

 

 ๑. บุญจากการให้ทาน


                      ทาน-แปลว่า การให้ ถ้าให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้ เช่น ถวายพระสงฆ์ เรานิยมเรียกว่า ทำบุญ ถ้าให้เพื่อมุ่งสงเคราะห์ผู้รับ เช่น ให้สิ่งของแก่คน ยากจน คนทั่วไป เรียกว่า ทําทาน

 

                            ทาน-เป็นการให้สิ่งของที่ควรแก่ผู้ที่ควรให้ สิ่งของที่ควรให้ เรียกว่า ทานวัตถุ หรือไทยทาน หรือไทยธรรม มี ๑๐ อย่างคือ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่มยานพาหนะ มาลัยและดอกไม้ ของหอม (ธูปเทียน) เครื่องลูบไล้ (สบู่ เป็นต้น) ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป (ไฟฟ้า) ทานวัตถุเหล่านี้มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษภัยแก่ผู้รับจึงมีอานิสงส์มากโดยทั่วไปเรียกผู้ให้ทานวัตถุว่า ทานบดี

 

                           ทาน-ทำให้เกิดบุญได้ เพราะในทันทีที่ใจได้สติ เกิดกำลังมากพอถึงกับสละทานวัตถุได้ ใจก็กลับเข้ามาบรรจบกับธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในของตนเอง จึงเกิดเป็นดวงบุญสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ เช่นเดียวกับไฟฟ้าขั้วบวกกับขั้วลบที่มาบรรจบกันย่อมเกิดประกายสว่างขึ้นฉะนั้น และบุญที่เกิดขึ้นนี้ก็ทำหน้าที่ฆ่าโลภะกิเลสทันทีเหมือนแสงสว่างของดวงอาทิตย์หรือดวงประทีป เมื่อปรากฏขึ้น ย่อมฆ่าความมืดให้หมดไปฉะนั้น

 

                                   ทาน-จะบังเกิดผลเป็นบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ


                              ๑. วัตถุ คือของที่จะให้ต้องเป็นของที่ตนได้มาโดยสุจริต


                              ๒. เจตนา คือความตั้งใจในการให้ว่ามุ่งชำระกิเลสหรือปรับปรุงจิตให้สะอาดเป็นหลัก


                              ๓. บุคคล คือผู้ให้ต้องบริสุทธิ์ มีศีล ๕ เป็นอย่างน้อยส่วนผู้รับก็ยิ่งต้องมีศีลบริสุทธิ์ตามเพศภาวะของตน


                          ทาน-มีผลแก่ผู้ให้โดยตรงคือ ฆ่าความตระหนี่ ความโลภความเห็นแก่ตัว และทําให้ทานบดีนั้นกลายเป็นคนโอบอ้อมอารีตามไปด้วย

                               ทาน-มีผลน่าชื่นใจหรืออานิสงส์ทั้งโลกนี้ โลกหน้าต่อไปอีก แก่ทานบดี ๗ ประการคือ


                               ๑. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมอนุเคราะห์ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย


                               ๒. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมเข้าไปหาทานบดีก่อนคนทั้งหลาย


                               ๓. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมรับทานของทานบดีก่อนของคนทั้งหลาย


                               ๔. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมแสดงธรรมแก่ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย


                               ๕. กิตติศัพท์อันงามของทานบดีย่อมฟุ้งกระจาย


                               ๖. ทานบดีเข้าไปในบริษัทใดๆ ย่อมแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน


                               ๗. ทานบ ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์

 

 ๒. บุญจากการรักษาศีล


                              ศีล-แปลว่า ปกติ สงบเย็น ในทางปฏิบัติ หมายถึง การงดเว้นจากการประพฤติผิดทางกายและวาจา การควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อย งดงามปราศจากความมัวหมองเป็นปกติ รวมแล้ว คือการไม่ทําผิดและไม่พูดผิด

 

                                    ศีล-ระดับต้น คือ ศีล ๕ ของคนทั่วไป

 

                                    ระดับกลาง คือ ศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา และศีล ๑๐ ของสามเณร

 

                                     ระดับสูง คือศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ และศีล ๓๑๑ ของภิกษุณี

 

               ศีล-เมื่อรักษาได้ย่อมเกิดบุญเพราะในทันทีที่หักห้ามใจได้ย่อมตระหนักแก่ใจตนว่าบุคคลและสิ่งของภายนอกไม่สำคัญเท่าความดี ใจจึงได้สติ เกิดกำลังใจ ควบคุมการพูด การทำ ไม่ให้วิปริตผิดปกติธรรมดา ใจก็กลับเข้ามาบรรจบกับธรรมซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในตนเกิดเป็นดวงบุญสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ณศูนย์กลางใจทันทีที่บุญนี้เกิดขึ้น ก็จะทำหน้าที่ฆ่าโทสะกิเลส เหมือนแสงสว่างของดวงอาทิตย์หรือดวงประทีป เมื่อปรากฏขึ้นย่อมฆ่าความมืดให้หมดไปฉะนั้น


                 ศีล-เป็นเหตุให้คนอยู่ร่วมกันเป็นปกติ ไม่เบียดเบียนกันไม่ฆ่ากัน ไม่ลักขโมยของกันและกันส่งผลเป็นความสงบแก่ผู้รักษาและทำหน้าที่ควบคุมพลโลกให้เรียบร้อย จึงเป็นทางมาแห่งความสงบสุข


                 ศีล-มีผลแก่ผู้รักษาโดยตรงคือ ทำให้เป็นคนมีกายและวาจาบริสุทธิ์สะอาด เป็นการตัดเวรตัดภัย ควบคุมกำกับโทสะไว้ไม่ให้มีโอกาสก้าเริบได้


                    ศีล-มีผลน่าชื่นใจ และมีอานิสงส์ต่อไปอีกทั้งโลกนี้และโลกหน้าแก่ผู้รักษาศีล คือ


                    ๑. ย่อมมีโภคทรัพย์มาก

 

                    ๒. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป

 

                    ๓. เข้าไปในบริษัทใดๆ ย่อมแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน

 

                    ๔. ย่อมไม่หลงลืมสติตาย

 

                    ๕. ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์

 

  ๓. บุญจากการเจริญภาวนา


                 ภาวนา-แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มี ให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านผู้รู้กำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อต่างๆ กันไป เช่น การบำเพ็ญกรรมฐานการทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตตภาวนาการบริหารจิต ฯลฯ


                     ภาวนา-ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ


                     ๑. สมถภาวนา การอบรมใจให้สงบ เรียกว่า สมถกรรมฐาน หรือจิตตภาวนา หรือสมาธิภาวนาก็ได้


                   ๒. วิปัสสนาภาวนา การอบรมใจให้เกิดปัญญา เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน หรือ ปัญญาภาวนา ก็ได้เป็นขั้นตอนต่อจากสมาธิของผู้ที่เข้าถึงธรรมกายแล้ว


                   ภาวนา-เมื่ออบรมอย่างจริงจังย่อมเกิดบุญขึ้นอย่างมากมาย เพราะเป็นการอบรมใจให้กลับมาสงบหยุดนิ่ง ณศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่องจริงจัง ใจจึงมีสติกำกับอย่างต่อเนื่องและมีกำลังมากพอที่จะประคับประคองใจให้เข้าถึงเข้าไปอยู่และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมงๆ เป็นวัน ๆ เสมือนน่าไข่แดงคือ ใจสอดเข้าไปไว้ในไข่ขาวคือธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในตน เกิดเป็นดวงบุญสว่างไสวต่อเนื่องกันโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ เช่นเดียวกับไฟฟ้าขั้วบวกกับขั้วลบหากมาบรรจบกันก็เกิดประกายสว่างขึ้นฉะนั้น เนื่องจากใจเข้าไปอยู่กลางดวงธรรมอย่างต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงเป็นวันๆสำหรับผู้เจริญสมถภาวนาและเป็นสัปดาห์เป็นเดือนเป็นปีสำหรับผู้เจริญวิปัสสนาอันเนื่องจากเข้าถึงธรรมกายแล้วบุญอันมหาศาลเหล่านี้เองจะทำหน้าที่กำจัดโมหะกิเลสซึ่งเป็นกิเลสที่ร้ายแรงที่สุดตลอดจนกิเลสต่างๆ ทุกชนิดอย่างไม่ลดละ

 

              ภาวนา-การจะบังเกิดบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำใจให้หยุดนิ่งสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมได้นานเท่าใด หากนิ่งสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวได้ถาวรตลอดไป กิเลสทุกชนิดย่อมถูกกำจัดจนหมดสิ้นไปด้วย ใจผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพานเสวยแต่บรมสุขตลอดไป ท่านผู้นั้นจึงได้ชื่อว่า พระอรหันต์

 

              ภาวนา-จึงไม่ใช่งานของคนแก่ แต่เป็นงานของทุกๆ คนที่ต้องการปัญญา ความพ้นทุกข์ และความสุขสงบอย่างถาวรแท้จริง

 
          การทําบุญทุกชนิดไม่ว่าน้อยหรือใหญ่ ล้วนเป็นการต่อต้านทำลาย กำจัดกิเลสด้วยกันทั้งนั้น เมื่อฝ่ายบาปจัดทัพกิเลสมารุกรานโจมตีใจถึง ๓ ทัพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ชาวโลกจัดกองทัพธรรมขึ้น ๓ ทัพ เพื่อต่อต้าน ทำลายล้างผลาญกิเลสให้สิ้นซากโดยก้าหนดให้กองทัพทานทําลายล้างโลภะกองทัพตีลทำลายล้างโทสะ กองทัพภาวนาทำลายล้างโมหะ โดยมีพื้นที่ในใจของตนเองเป็นสนามรบ

 

การสู้รบระหว่างบุญ-บาป


               บุญที่เราทำอุปมาเหมือนความสว่างที่สามารถฆ่ากิเลส ซึ่งอุปมาเหมือนความมืดที่ปกคลุมจิตใจของคนเรา


               บุญอันเกิดจากการทำทานนั้น อุปมาเหมือนความสว่างจากเทียน


               บุญอันเกิดจากการรักษาศีลนั้น อุปมาเหมือนความสว่างจากหลอดไฟฟ้า


               บุญอันเกิดจากการทำภาวนานั้น อุปมาเหมือนความสว่างจากดวงอาทิตย์


        ดังนั้นผู้ไม่ประมาทจึงต้องหมั่นทำให้แหล่งแห่งความสว่างเหล่านี้โชติช่วงอยู่เสมอ ทั้งต้องคอยระมัดระวังมิให้ความสว่างเหล่านี้สูญสลายไปเพราะหากความสว่างหมดไปเมื่อใดความมืดก็ย้อนกลับเข้าปกคลุมทันทีเมื่อนั้นนั่นคือกิเลสได้โอกาสออกฤทธิ์บงการคนเราให้ทำบาปทำชั่วได้อีก

 

กฏแห่งกรรม


         มนุษย์ทั้งหญิงและชายต่างต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ ไม่มีใครหนีรอดจากวงจรนี้ไปได้ หากใครทำบุญหรือทำกรรมดี ครั้นละโลกย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ คือเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้างครั้นได้เสวยสุขในสวรรค์ตามสมควรแก่กรรมดีแล้ว ก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ในทางตรงข้าม หากประมาทพลาดพลั้งไปทำกรรมชั่วก็ต้องไปเกิดในทุคติภูมิ คือไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรตหรืออสุรกายบ้าง กว่าจะได้โอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็นานแสนนาน 


          สภาพของสัตว์โลกที่ต่างเวียนว่ายตายเกิดให้ต้องเป็นทุกข์อย่างไม่รู้จบ ในสภาพเป็นมนุษย์บ้าง สัตว์ดิรัจฉานบ้าง สัตว์นรกบ้าง เทวดาบ้างพรหมบ้าง ฯลฯ เช่นนี้ จึงไม่ต่างกับนักโทษที่ถูกทรมานอยู่ในคุก คือ โลกโดยที่นักโทษเหล่านั้นไม่เคยทราบเลยว่า ตนล้วนตกอยู่ภายใต้
“กฎแห่งกรรม”

 

            กรรม แปลว่า การกระทำ เป็นคำกลางๆ หมายถึง การกระทำดีก็ได้ หรือการกระทาชั่วก็ได้

 

            กรรมดี คือ การกระทําโดยไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธไม่มีความหลงเป็นเหตุ เรียกว่า กุศลกรรม

 

            กรรมชั่ว คือ การกระทำโดยมีความโลภ มีความโกรธ มีความหลงเป็นเหตุ เรียกว่า อกุศลกรรม


ความหมายของกรรม


                 ๑.กรรม คือ การกระทำที่เกิดมาจากเจตนา (ความตั้งใจ ความจงใจ) ถ้าทำด้วยเจตนาดีปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เป็นกรรมดี ถ้าทำด้วยเจตนาชั่วโดยมีความโลภ ความโกรธ และความหลงเป็นเหตุก็เป็นกรรมชั่ว

 

        ๒.กรรมเป็นการกระทำของคนที่ยังมีกิเลสการกระทำของพระอรหันต์ไม่จัดว่าเป็นกรรมเพราะท่านหมดกิเลสแล้วการคิดการพูดการทําทุกลมหายใจของท่านมีแต่ความบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรแอบแฝงจึงพันไปจากกฎแห่งกรรม

 

                 ๓.กรรม คือ การกระทำที่ยังจะต้องมีการให้ผลต่อไปอีกโดยมีกฎตายตัวชัดเจนว่าใครทำกรรมดีผู้นั้นย่อมได้รับผลดีคือความสุขใครทำกรรมชั่วผู้นั้นย่อมได้รับผลชั่ว คือความทุกข์ในรูปแบบต่างๆ โดยย่อก็คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กฎนี้เป็นกฎคู่โลก และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบในวันตรัสรู้แล้วทรงนำมาเปิดเผยแก่ชาวโลก


เส้นทางในการสร้างกรรม

 

               คนเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย สามารถสร้างกรรมทั้งดีและไม่ดีได้ ๓ ทางด้วยกันคือ


               กรรมทางกาย เรียกว่า กายกรรม


               กรรมทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม

 

                กรรมทางใจ เรียกว่า มโนกรรม

 

ตารางที่ ๑-๑ การสร้างกุศลกรรมและอกุศลกรรมจำแนกตามเส้นทางการสร้างกรรม

 

เส้นทางสร้างกรรม กุศลกรรมบถ
ทางแห่งความดี
อกุศลกรรมบถ
ทางแห่งความชั่ว
กรรมทางกาย
กายกรรม

๑.งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ที่ยังมีชีวิต

๒.งดเว้นจากการลักขโมย ของผู้อื่น
๓.งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๑.การจงใจทำลายชีวิตผู้อื่น

๒.การจงใจลักขโมยของผู้อื่น

๓.การจงใจประพฤติผิดในกาม

กรรมทางวาจา
วจีกรรม

๑. งดเว้นจากการพูดเท็จ 
๒. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด

๓. งดเว้นจากการพูดคำหยาบ 
๔. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๑. การจงใจพูดเท็จ

๒. การจงใจพูดส่อเสียด
๓. การจงใจพูดค่าหยาบ

๔. การจงใจพูดเพ้อเจ้อ

กรรมทางใจ
มโนกรรม

๑.ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของผู้อื่น

๒.ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น

๓.คิดถูกเห็นถูก เป็นสัมมาทิฐิ

๑.คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น

๒.คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น

๓.คิดผิดเห็นผิดเป็มิจฉาทิฐิ



ระดับการให้ผลของกรรม


              กรรมที่ทำแล้วไม่ว่าดีหรือไม่ดีไม่ได้สิ้นสุดที่การกระทำเท่านั้นแต่มีวิบากคือผลเกิดขึ้นกับผู้ทำกรรมนั้นด้วย ผลของกรรมมี ๒ ระดับชั้นด้วยกัน คือ

             ๑. ผลกรรมระดับชั้นนอก จะส่งผลให้ผู้ทำกรรมนั้นได้รับสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ไม่ดีตามมา สิ่งที่ดี เช่น การเกิดในสุคติภูมิ และการได้ลาภ ยศสรรเสริญ สุข ฯลฯ สิ่งที่ไม่ดี เช่นการเกิดในทุคติภูมิ และการเสื่อมลาภเสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ฯลฯ


             ๒. ผลกรรมระดับชั้นใน จะให้ผลเป็นความรู้สึกนึกคิด หากใครทําดี ก็ให้ผลเป็นความสุข ความอิ่มเอิบใจ พร้อมกับความรู้สึกนึกคิดที่ดี ใครทำชั่วก็ให้ผลเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ พร้อมกับความรู้สึกนึกคิดที่ชั่วตามมา ความรู้สึกไม่ว่าดีหรือชั่วที่ทำแต่ละครั้งจะเป็นผลตกค้างอยู่ในใจของผู้นั้น ครั้นผู้นั้นทำบ่อยๆ ก็เกิดความคุ้นเคยแล้วแสดงผลออกมาเป็นนิสัยในที่สุด นิสัยที่ฝังลึกนี้สามารถติดตามไปในภพชาติเบื้องหน้าได้ เรียกว่า สันดาน ซึ่งมีทั้งสันดานดีและเลว

            คนส่วนมากมักสนใจเฉพาะผลกรรมระดับชั้นนอก ทำให้ขาดความระมัดระวังตัวเกี่ยวกับผลกรรมระดับชั้นในซึ่งนับว่าเป็นความประมาทอย่างยิ่ง


ระยะเวลาที่กรรมให้ผล


              กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตามที่บุคคลทำในวาระหนึ่งสำเร็จแล้วจะรอกาลเวลาให้ผลต่อไป กาลเวลาที่ให้ผลของกรรมแต่ละวาระนั้น แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ


                 ๑. ให้ผลในชาตินี้ (ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม) คือ กรรมที่ทำในชาตินี้และจะให้ผลในชาตินี้เท่านั้น หากชาตินี้ไม่มีโอกาสให้ผล ก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป ลักษณะการให้ผลคือ ถ้าเป็นกรรมดีก็จะทำให้ได้รับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ดี ๆ เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ได้โภคทรัพย์บริวาร หน้าตาผิวพรรณผ่องใส หายจากโรค เป็นต้น

                   ถ้าเป็นกรรมชั่ว ก็ทำให้ได้รับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ไม่ดี เช่น เสื่อมจาก ลาภ ยศ ถูกนินทา ได้รับทุกข์ เสื่อมจากโภคทรัพย์ บริวารหน้าตาผิวพรรณเศร้าหมอง เกิดโรคร้าย ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น

 

                   ๒. ให้ผลในชาติหน้า (อุปปัชชเวทนียกรรม) คือ กรรมที่ทำในชาตินี้แต่จะให้ผลในลำดับถัดไปจากชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น หากไม่ได้โอกาสให้ผลก็กลายเป็นอโหสิกรรมไปลักษณะการให้ผลยังแบ่งเป็น ๒ กาล คือ

 

                  ๒.๑ ให้ผลในปฏิสนธิกาล คือ ให้ผลเป็นปฏิสนธิ (พาไปเกิด) ได้แก่ กรรมดีพาไปเกิดในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์ เทวดา พรหม กรรมชั่วก็พาไปเกิดในทุคติภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน

 

                      ๒.๒ ให้ผลในปวัตติกาล คือ ให้ผลหลังเกิดแล้ว ถ้าเป็นกรรมดี ก็จะทำให้ได้รับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ดีๆ เช่น ได้ลาภยศ สรรเสริญ สุข ได้โภคทรัพย์บริวาร หน้าตาผิวพรรณผ่องใสหายจากโรค เป็นต้น

 

                      ถ้าเป็นกรรมชั่ว ก็ทำให้ได้รับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ไม่ดี เช่น เสื่อมจาก ลาภ ยศ ถูกนินทา ได้รับทุกข์ เสื่อมจากโภคทรัพย์ บริวารหน้าตาผิวพรรณเศร้หมอง เกิดโรคร้าย ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น


                           การให้ผลในชาติหน้าถัดไปจากชาตินี้ บางกรรมก็ให้ผลคือพาไปเกิดอย่างเดียว บางกรรมก็ให้ผลหลังเกิดดังกล่าวแล้ว บางกรรมก็ให้ผลทั้ง ๒ กาล หากไม่มีโอกาสให้ผลเพราะถูกกรรมอื่นในชาตินี้ หรือกรรมอื่นในอดีตชาติมาตัดรอน กรรมนี้ก็จะเป็นอโหสิกรรมไป

 

                ๓. ให้ผลในชาติที่สามเป็นต้นไป (อปรูปริยายเวทนียกรรม) คือ กรรมที่ทําในชาตินี้ หรือชาติไหนๆ ที่ผ่านมาทั้งหมด แต่กรรมประเภทนี้จะรอให้ผลแน่นอนในอนาคตเมื่อมีโอกาส เมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏยังมีอยู่ กรรมนั้นจะชื่อว่า เป็นอโหสิกรรมย่อมไม่มี เพราะมีจำนวนนับแต่จะเป็นอโหสิกรรมเฉพาะกรรมที่อ่อนกำลังหรือให้ผลหมดไม่ถ้วนแล้ว หรือถูกตัดขาดด้วยมรรค ส่วนลักษณะการให้ผลแบ่งเป็น ๒ กาลเช่นเดียวกับกรรมที่ให้ผลในชาติหน้า

 

2567_07_15.JPG



ภาพที่ ๑-๒ กาลเวลาที่ให้ผลของกรรมวาระหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๓ ระยะ


หมายเหตุ


          กรรมวาระหนึ่ง ๆ หรืออภิธรรมเรียกว่า วิถีหนึ่ง จะมีเจตนากรรม ๗ ขณะ เช่น เห็นรูปจะเกิดความคิดดีหรือไม่ดีที่จัดว่าเป็นกรรม (ชวนะ) ๗ ขณะ ในกรรม ๗ ขณะนั้นจะให้ผล ๓ ระยะ คือ

- ระยะที่ ๑ ให้ผลในชาติที่ทำ เรียกว่า กรรมทันตาเห็น หากไม่ให้ผลก็เป็นอโหสิกรรม (ดวงที่ ๑)


- ระยะที่ ๒ ให้ผลในชาติที่ ๒ ถัดไปชาติเดียว หากไม่ให้ผลก็เป็นอโหสิกรรมไป (ดวงที่ ๗)

- ระยะที่ ๓ ให้ผลในชาติที่ ๓ จนกว่าจะเข้าสู่นิพพาน จึงหยุดการให้ผล (ดวงที่ ๒-๖)

 

หลักการตัดสินกรรมดีกรรมชั่ว
ตารางที่ ๑-๒ หลักการตัดสินกรรมดี กรรมชั่ว

 

หลักในการตัดสิน กรรมดี กรรมชั่ว
๑. พิจารณาผลที่จะเกิดต่อสังคม

เย็นเขา เย็นเรา

ไม่ร้อนเขา ไม่ร้อนเรา


ร้อนเขา เย็นเรา
เย็นเขา ร้อนเรา
ร้อนเขา ร้อนเรา
๒. พิจารณาที่เบญจศีล และ เบญจธรรม

เมตตากรุณา สัมมาอาชีวะ

สำรวมในกาม ซื่อสัตย์ มีสติ

 

ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

 ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
ดื่มนํ้าเมา

 

๓. พิจารณาที่เหตุ

ผู้ทำกระทำโดยไม่มีความโลภ

ผู้ทำกระทำโดยไม่มีความโกรธ

ผู้ทำกระทำโดยไม่มีความหลง

ผู้ทำกระทำเพราะความโลภ
 

ผู้ทำกระทำเพราะความโกรธ
 

ผู้ทำกระทำเพราะความหลง

๔. พิจารณาที่ผล

ทำสิ่งใดแล้ว ผู้ทำไม่ต้อง

เดือดร้อนใจในภายหลัง

ทําสิ่งใดแล้ว ผู้ทําต้อง
เดือดร้อนใจในภายหลัง

 

๕. พิจารณาที่เส้นทางการทํากรรม

ดีทางกาย ๓ : ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิด ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

ดีทางวาจา ๔ : ไม่พูดเท็จ ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดส่อเสียด

ดีทางใจ ๓ : ไม่คิดโลภ ไม่คิดพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เห็นถูกต้องตามทํานองคลองธรรม

ชั่วทางกาย ๓ : ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

ชั่วทางวาจา ๔ : พูดเท็จ พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด

ชั่วทางใจ ๓ : คิดโลภ ติดพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เห็นผิดเป็นชอบ

 

ลักษณะของครูแบ่งตามกรรม


                พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะคนพาลและบัณฑิต โดยแบ่งตามประเภทของกรรมที่ตนเป็นผู้ทำไว้ ดังแสดงในตารางต่อไปนี้


ตารางที่ ๑-๓ ลักษณะของครูแบ่งตามกรรมที่ครูทำไว้ด้วยตนเอง

 

ลักษณะของครูพาล ลักษณะของครูบัณฑิต

๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่วๆ

- คิดโลภ
- คิดพยาบาท
- คิดเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฐิ


๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี ๆ

- คิดให้ทาน
- คิดรักษาศีล
- คิดเห็นถูก เป็นสัมมาทิฐิ

๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว ๆ
- พูดเท็จ
- พูดส่อเสียด
- พูดค่าหยาบ
- พูดเพ้อเจ้อ

๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี
- ไม่พูดเท็จ
- ไม่พูดส่อเสียด
-ไม่พูดคําหยาบ
- ไม่พูดเพ้อเจ้อ

๓. ชอบทําแต่กรรมชั่ว
- ฆ่าสัตว์
- ลักทรัพย์
- ประพฤติผิดในกาม
-เสพสิ่งเสพติด
- จมอยู่ในอบายมุข

๓. ชอบทําแต่กรรมดี
- ไม่ฆ่าสัตว์ มีแต่เมตตากรุณา
- ไม่ลักทรัพย์ มีแต่ให้ทาน
- ไม่ประพฤติผิดในกาม มีแต่ความสํารวมในกาม
-ไม่เสพสิ่งเสพติด
- เว้นขาดจากอบายมุข


 

                   นอกจากนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ตรัสเตือนไว้ด้วยว่า 

 

ความดี คนดีทําง่าย คนพาลหายาก 

ความชั่ว คนพาลทําง่าย คนดีทำยาก


                    คำถามจึงเกิดตามมาว่า ทำอย่างไรเราจึงจะได้ทั้งครูดี ศิษย์ดีและประชาชนดีให้เต็มบ้าน เต็มเมือง เต็มโลก

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018021849791209 Mins