พระพุทธพจน์กับการตีความ

วันที่ 23 กค. พ.ศ.2567

พระพุทธพจน์กับการตีความ
           670723_b101.jpg

                   ดังกล่าวมาแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างแน่นอน ดังตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น บางข้อธรรมทรงแสดงตรงๆ เพียงอัสสาทะ บางข้อธรรมแสดงเพียงนิสสรณะ บางข้อธรรมแสดงอัสสาทะ อุปายะ และอาณัตติ บางข้อธรรมมิได้บ่งความชัดเจนว่านับเข้าในอัสสาทะ อาทีนวะ หรือนิสสรณะ แต่มิได้หมายความว่าพระพุทธพจน์บกพร่องหรือขาดความสมบูรณ์เพราะมีเทสนาหาระไม่ครบทั้ง ๖ ประการหรือไม่อาจจัดเข้าในเทสนาหาระได้หาเป็นเช่นนั้นไม่

 

                   โดยที่แท้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโดยคำนึงถึงจริตอุปนิสัยของผู้ที่ทรงประสงค์จะโปรดเป็นที่ตั้ง ใครมีจริตอุปนิสัยอย่างใดก็ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับจริตอุปนินัยของผู้นั้นโดยตรงยกตัวอย่างเช่น คน ๓ กลุ่ม คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู และเนยยะ ซึ่งมีลักษณะอุปนิสัยและจริตแตกต่างกัน ย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ต่างกัน ด้วยการฟังธรรมที่ยากง่าย ตื้นลึกต่างกัน คือ

 

๑. อุคฆฏิตัญญู กลุ่มผู้บรรลุธรรมได้เร็วด้วยการฟังเพียงอุเทศหรือหัวข้อ ย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังธรรมประเภท นิสสรณะ
 

๒. วิปจิตัญญู กลุ่มผู้บรรลุธรรมได้ช้าด้วยการฟังนิเทศคือ ต้องอธิบายขยายความเพิ่มเติมพอสังเขป ย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังธรรมประเภทอาทีนวะและนิสสรณะ

 

๓.เนยยะ กลุ่มผู้บรรลุธรรมได้ช้า ซึ่งอาจบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังปฏินิเทศคือคำอธิบายขยายความโดยพิสดาร และต้องประกอบด้วยกัลยาณมิตรคอยแนะนำและโยนิโสมนสิการปัญญาพิจารณารายละเอียดเบื้องต้นควบคู่กันไป ธรรมที่เหมาะแก่เหล่าเนยยะคือธรรมประเภทอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ

 

                 ส่วนบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มปทปรมะนั้น ท่านมิได้กล่าวถึงไว้โดยให้เหตุผลว่าเป็นบุคคลที่ไม่อาจบรรลุธรรมได้ด้วยประการดังกล่าวมาข้างต้น จึงพออนุมานได้ว่าเทศนาธรรมของพระพุทธเจ้านั้นส่วนใหญ่จะแสดงถึงเนื้อหาสาระหรือประเด็น สำคัญอย่างน้อย ๓ ประการคือ อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ ที่ทรงแสดงแก่เนยยบุคคลเป็นพื้น ส่วนผละ อุปายะ และอาณัตติ นั้นแม้จะมิได้แสดงไว้ชัดเจนในบางเทศนา แต่ก็ให้ถือว่าทรงแสดงไว้โดยอ้อม หรือในเทศนาที่แสดงผละ อุปายะ หรืออาณัตติ ไว้โดยตรง ก็ให้ถือว่าทรงแสดงเทศนาหาระที่เหลือไว้โดยอ้อม เมื่ออนุมานดังนี้ย่อมได้เทศนาหาระครอบคลุมทั้ง ๖ ประการ

 

                 แม้เทศนาหาระบางส่วนจะไม่ชัดเจนนัก แต่หากผู้มีความสามารถชี้ให้เห็นได้แม้เพียงเล็กน้อยก็นับว่าสามารถในการตีความพระพุทธพจน์แล้วมีตัวอย่างพระพุทธพจน์ที่ประกอบด้วยอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะครบทั้งสามประการ คือ อนุปุพพิกถา กับ อริยสัจ ดังนี้ คือ ในส่วนของอนุปุพพิกถา ทานกถากับสีลกถาจัดเป็นอุปายะคือ อุบายวิธีที่ทำให้ได้ผละ สัคคกถาจัดเป็นผละคือผลที่เกิดจากการให้ทานและรักษาศีล กามาที่นวกถาจัดเป็นอาทีนวะคือโทษที่เกิดจากกาม เนกขัมมานิสังสกถาจัดเป็นนิสสรณะคือผล สำหรับในส่วนของอริยสัจ ทุกข์จัดเป็นอาทีนวะและเป็นผละ สมุทัยจัดเป็นอัสสาทะคือ ภาวะที่เป็นเหตุให้เกิดอาทีนวะ นิโรธจัดเป็นนิสสรณะ มรรคจัดเป็นอุปายะและเป็นอาณัตติโดยอ้อม

 

                 ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ตีความพระพุทธพจน์จะพึงศึกษาเรียนรู้ทั้งหลักธรรมและหลักแห่งการตีความตามเทสนาหาระ ๖ ประการนี้ หากต้องการที่จะตีความด้วยการอธิบายขยายประเด็นพระพุทธพจน์เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุธรรม ก็จำต้องเน้นหนักไปใน ๓ แนวคือ อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ แต่หากไม่มุ่งตีความไปเพื่อการนั้น หากแต่มุ่งไปเพื่อสติปัญญาความฉลาดรู้พระพุทธพจน์โดยภาพรวม หรือเพื่อความแตกฉานในพระพุทธพจน์ในแง่มุมต่างๆก็จำต้องตีความให้ครอบคลุมครบทั้ง ๖ ประการแห่งเทศนาหารวิธี ทั้งนี้เพื่อให้สามารถมองเห็นพระพุทธพจน์ในทุกๆ เพียงแค่มุมใดมุมหนึ่งแล้วด่วนสรุปว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ในแง่ลบอย่างเดียวหรือมองในแง่บวกอย่างเดียว ทำให้เข้าในผิดพลาดด้าน มิใช่มองโดยมองคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องครบองค์รวมได้จะกลายเป็นเหมือนคนตาบอดคลำช้างไป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.029235084851583 Mins