สุภาษิต คำพังเพย
ความหมายและที่มา
คำสุภาษิตและคำพังเพย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คําจํากัดความไว้ดังนี้ “สุภาษิต น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้วมีความหมายเป็นคติเตือนใจ เช่นรักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่างขวางเรือ”
“พังเพย น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้วโดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้มีความเข้ากับเรื่อง เช่น กระต่ายตื่นตูม”
เมื่อถือตามความหมายข้างต้น ย่อมกล่าวได้ว่าคำสุภาษิตและคำพังเพยเป็นถ้อยคำหรือสำนวนที่นิยมจดจำนำมาพูดมาสอนกันแต่โบราณซึ่งมีอยู่ด้วยกันในทุกชาติทุกภาษาในโลก ถือว่าเป็นอลังการคือเป็นเครื่องประดับของภาษาอย่างหนึ่ง เมื่อนำมาใช้ถูกเรื่องถูกกาลย่อมได้ประโยชน์มาก เพราะค่าหรือสำนวนเหล่านั้นล้วนมีความหมายเป็นเชิงสั่งสอนบ้างให้คติเตือนใจบ้าง ให้แนวคิดสะกิดใจบ้าง หรือไม่ก็เป็นคำกลางๆไม่เชิงสั่งสอนแต่ว่ากินใจหรือเป็นคำเปรียบเทียบทำให้เข้าใจเรื่องชัดเจนขึ้นทั้งคำสุภาษิตและคำพังเพยจึงเป็นคำอมตะ อยู่ยงคงกระพัน รู้และใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง แม้บางคำบางสำนวนจะไม่ชัดเจนนักสำหรับผู้ไม่สันทัดแต่ก็ยอมรับและพอรู้เรื่องเหมือนกันในภาษาไทยนั้นมีคำสุภาษิตและคำพังเพยจำนวนมากปะปนอยู่ทั้งในตำรา ในภาษาเขียน และในภาษาพูด จึงมีผู้เก็บรวบรวมพิมพ์ไว้เป็นรูปเล่มออกจำหน่ายจ่ายแจกแพร่หลายทั่วไป บางเล่มมีคำอธิบายขยายความไว้ด้วย ทำให้สะดวกต่อการทำความเข้าใจคำสุภาษิตและคำพังเพยที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อแยกประเภทตามแหล่งที่มาแล้วได้ ๓ ประเภทคือแนวคิด
(๑) ที่เป็นของไทยเอง
(๒) ที่เป็นของศาสนา
(๓) ที่เป็นของต่างชาติ
ตัวอย่างคำสุภาษิต ที่มีความหมายเชิงสั่งสอน เป็นคติเตือนใจ ให้ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ (ภาษิตไทย) ชื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน (ภาษิตไทย)
- ทำดีได้แต่อย่าเด่นจะเป็นภัย (ภาษิตไทย) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน (พุทธภาษิต)
- ธรรมชาติของทอง แม้อยู่ในโคลนก็มีสีสุกใส (ภาษิตต่างชาติ)
- ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา (ภาษิตจีน)
- สอนให้เขาหาปลากินเป็น ดีกว่าหาปลาให้เขากิน (ภาษิตต่างชาติ)คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร (พุทธภาษิต)
ตัวอย่างคำพังเพย เป็นค่าเปรียบเทียบ ไม่เชิงสั่งสอน แต่กินใจ
อัฐยายขนมยาย ดินพอกหางหมู อดเปรี้ยวไว้กินหวาน กระต่ายตื่นตูม ชักใบให้เรือเสีย หวานอมขมกลืน หญ้าปากคอก นกมีหูหนูมีปีก
คอขาดบาดตาย มะนาวไม่มีน้ำ
คำสุภาษิตคำพังเพยที่แสดงมานี้เป็นเพียงตัวอย่าง ผู้เป็นนักเทศน์นักพูดจึงแสวงหาจากหนังสือที่เก็บรวบรวมคำเหล่านี้ไว้แล้วกำหนดจดจำ นำไปใช้ให้เหมาะสม ย่อมเป็นการดีนักแลประโยชน์ของคำสุภาษิตและคำพังเพยคำสุภาษิตและคำพังเพยไม่ว่าจะเป็นของไทยเอง ของศาสนา หรือของต่างชาติ ล้วนมีประโยชน์ต่อการเทศน์ การพูด การสนทนา การเขียน เมื่อใช้ถูกใช้เป็นแล้วย่อมทำให้บทเทศน์ บทพูด หรือข้อเขียนน่าฟังน่าอ่านมากขึ้น เป็นการเติมเต็มให้แก่บทเทศน์เป็นต้น สำหรับในการเทศน์นั้น คำสุภาษิตและคำพังเพยมีประโยชน์ดังนี้
(๑) ทำให้เนื้อหาการเทศน์มีคุณค่า มีสีสัน และเด่นชัดขึ้นเพราะคำสุภาษิตก็ดี คำพังเพยก็ดี เป็นอลังการของภาษา เช่นเดียวกับ
คำอุปมา คำเปรียบเทียบ) และคำสาธก (ตัวอย่าง)
(๒) ทำให้มองเห็นภาพเป็นรูปธรรมมากขึ้น คือข้อธรรมและคำอธิบายนั้นเมื่อมีคำสุภาษิตหรือคำพังเพยเข้ามาเสริม นอกจากจะแจ่มชัด
ในด้านความหมายแล้ว ยังทำให้ผู้ฟังมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนสามารถนึกคิดตรองตามและเห็นตามด้วยโดยง่าย เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
หรือเป็นเรื่องที่รู้เห็นโดยปกติอยู่แล้ว
(๓) ทำให้บทเทศน์สละสลวย น่าฟัง น่าสนใจมากขึ้น เพราะได้เพิ่มสีสันคือคำสุภาษิตคำพังเพยที่เป็นอลังการเข้าไป เหมือนภาพที่เขียน
ด้วยสีต่างๆ ตามจริง ทำให้เกิดแสงเกิดเงาชัดเจน ย่อมดึงดูดตาและให้ความรู้สึกชื่นชมได้มากกว่าภาพขาวดำธรรมดา
(๔) ทำให้การอธิบายขยายความข้อธรรมง่ายขึ้น โดยอาศัยคำสุภาษิตคำพังเพยเป็นเครื่องมือช่วย บางข้อธรรมสามารถใช้คำสุภาษิต
หรือคำพังเพยมาเป็นคำอธิบายได้ทั้งหมด เช่น อธิบายว่าคนพูดไม่เพราะคือคนที่พูดแบบ“มะนาวไม่มีน้ำ” เพียงเท่านี้ผู้ที่เข้าใจคำพังเพยที่ย่อมมองเห็นภาพของคนพูดไม่เพราะได้ชัดเจนการใช้คำสุภาษิตและคำพังเพยแม้ว่าคำสุภาษิตและคำพังเพยจะเป็นอลังการของภาษา มี
ประโยชน์สําหรับการเทศน์เป็นอย่างมากก็ตาม แต่ถ้าใช้ไม่เป็นหรือใช้ไม่ถูกก็ทำให้เสียได้เหมือนกัน เหมือนเครื่องประดับกายแต่ละอย่างย่อม
เหมาะสําหรับบางคน เหมาะสำหรับแต่งบางเวลา และเหมาะสำหรับงานมิใช่เหมาะเหมือนกันหมดแก่ทุกคน ทุกเวลา และทุกงาน หากประดับถูกบุคคล ถูกเวลา ถูกงาน ก็ดูดีมีค่ามีประโยชน์ ทำให้คนแต่งงดงาม โดดเด่น น่าดูน่าชม หากประดับไม่ถูกบุคคล ไม่ถูกเวลา หรือไม่ถูกกับงานแม้จะเป็นเครื่องประดับชนิดเดียวกันนั้น แทนที่จะทำให้คนประดับงดงามน่าชม กลับทำให้ดูรุงรัง ถูกตำหนิ และหมดความหมายไป การใช้คำสุภาษิตและคำพังเพยในการเทศน์ก็จำต้องใช้ให้ถูกใช้ให้เป็นเช่นกัน มิเช่นนั้นจะกลายเป็นพาค่าเหล่านั้นเข้ารกเข้าพงหรือทำให้จมโคลนไปข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้คำสุภาษิตและคำพังเพย คือ
(๑) จดจำ เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ได้แม่นยำและชัดเจน คือสามารถจดจำคำสุภาษิตและคำพังเพยที่จะเอ่ยถึงได้ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน ไม่ตกหล่นขาดหายไปแม้เพียงสระหรือพยัญชนะตัวเดียวต้องแม่นยำและเข้าใจความหมายของคำเหล่านั้นได้แจ่มแจ้งชัดเจนว่ามีแค่ไหน ตื้นลึกอย่างไร พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์ของคำเหล่านั้นได้ว่ามีอย่างไร หาไม่แล้วจะไม่อาจยกขึ้นมาอ้างได้ หรือยกขึ้นมา
อ้างไม่ถูกไม่ตรงกับเรื่อง หรือยกขึ้นมาอ้างแล้วไม่สามารถอธิบายความหมายของค่าเหล่านั้นตรงตามจริงได้
(๒) เลือกใช้ให้เหมาะสม ตรงประเด็นข้อธรรมที่กำลังอธิบายคือต้องไตร่ตรองเลือกเฟ้นให้ดีก่อนที่จะยกขึ้นมาอ้าง คำที่ยกขึ้นมานั้นต้องรับกันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน เป็นเรื่องเดียวทำนองเดียวกันกับข้อธรรมที่กำลังอธิบาย สามารถขยายความข้อธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจาก
ค่าที่ใช้นั้น
(๓) โน้มธรรมเข้าไปหาคำสุภาษิตหรือคำพังเพย คืออธิบายข้อธรรมไปตามลำดับแล้วโน้มคำอธิบายนั้นไปหาคำสุภาษิตหรือคำพังเพยโดยยกคำเหล่านั้นมารับสมอ้างหรือมาขยายความ เพื่อให้เนื้อความชัดเจนขึ้น
(๔) โน้มคำสุภาษิตหรือคำพังเพยเข้าไปหาธรรม คือยกคำเหล่านั้นขึ้นมาอธิบายขยายความให้เห็นชัดเจนก่อน แล้วสรุปว่าคำนี้ตรงกับข้อธรรมว่าอย่างนี้ แล้วอธิบายข้อธรรมต่อไปในแนวเดียวกันและกลมกลืนกันกับคำสุภาษิตหรือคำพังเพยที่อธิบายไว้ก่อนแล้วคำสุภาษิตและคำพังเพยของไทยมีมาก เป็นเพชรเม็ดงามล้ำค่าหากนำมาใช้ได้ถูกเรื่อง ถูกกาล และถูกงาน ย่อมแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้ใช้เป็นอย่างดีนอกจากคำสุภาษิตและคำพังเพยแล้ว แม้สำนวนโวหารของไทยหรือของต่างชาติ ก็สามารถนํามาใช้ในการเทศน์ได้แต่มีข้อสังเกตที่พึงตระหนักให้มากคือ คำสุภาษิต คำพังเพยสำนวนโวหาร เหล่านี้เป็นอลังการเป็นเครื่องประดับของบทเทศน์ เป็นเครื่องช่วยเพิ่มเติมอรรถรสให้แก่บทเทศน์เท่านั้น มิใช่เป็นคำหลักที่ต้องให้น้ำหนักให้ความสำคัญไปกว่าข้อธรรม ข้อธรรมเท่านั้นที่เป็นหลักซึ่งต้องให้น้ำหนัก ต้องยกขึ้นเป็นแกนในการอธิบาย มิใช่อธิบายคำสุภาษิตคำพังเพย หรือสำนวนโวหารที่ยกขึ้นมาอ้างนั้นจนเด่นชัด กลบข้อธรรมจนข้อธรรมไม่ชัดเจน จะกลายเป็นว่าคำสุภาษิตเป็นต้นที่ยกมาอ้างนั้นเด่นและน่าสนใจกว่าข้อธรรมไป