บทที่ ๘ ปัจจัย ๔ เป็นที่สบาย

วันที่ 10 ตค. พ.ศ.2567

2567_10_10_b.jpg

 

บทที่ ๘

ปัจจัย ๔ เป็นที่สบาย

 

2567_10_10.jpg



ความหมายของปัจจัย ๔ เป็นที่สบายในเสนาสนสูตร

     "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ตรัสถึงคุณสมบัติข้อที่ ๒ ของวัดที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมไว้ในเสนาสนสูตรว่า

     “เมื่อ "ภิกษุ" อยู่ในเสนาสนะนั้นมีจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคืองเลย”

จากพระดำรัสดังกล่าว จึงอาจกล่าวโดยย่อว่า “ปัจจัย ๔ เป็นที่สบาย”

 

2567_10_10_01.jpg



ปัจจัย ๔ คืออะไร

     ปัจจัย ๔ หมายถึง "เครื่องดำรงชีวิต" เป็นสิ่งที่จำเป็น ขาดไม่ได้ ขาดแล้วเป็นอันตรายถึงชีวิต

    ชีวิตของชาวโลกทั่วไปนั้น ถ้าขาดแคลน เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ความเป็นอยู่ก็ลำบาก แต่ถ้ามีมากเกินไป แล้วใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ระมัดระวัง ไม่รู้จักบริหารจัดการให้พอเหมาะพอดีก็อาจเป็นโทษต่อชีวิตได้ เช่นกัน

   สำหรับชีวิต "พระภิกษุ" นั้น "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ให้ฝากเสบียงเลี้ยงชีวิตไว้ที่ศรัทธาของ "ญาติโยม" เพราะ "พระภิกษุ" เป็นผู้ออกจากเรือน มิใช่เป็นผู้ครองเรือนจึงมิได้มีอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเหมือนกับญาติโยม

   ยิ่งกว่านั้น "พระพุทธองค์" ยังทรงฝึกให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ตั้งแต่วันแรกบวชด้วยการฝึกนิสสัย ๔ ทั้งนี้เพื่อล้ม "ทิฏฐิมานะ" ในการฝึกตนและเพื่อฝึกนิสัยทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความดี ดังปรากฏใน "สันตุฏฐิสูตร" ดังนี้

 


"สันตุฏฐิสูตร"


ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔



      "ภิกษุ" ทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ

ปัจจัย ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ

       ๑. บรรดา จีวร "บังสุกุลจีวร" (ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ

       ๒. บรรดา โภชนะ "ปิณฑิยาโลปโภชนะ" (โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้ง) มีค่าน้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ

       ๓. บรรดา เสนาสนะ "รุกขมูลเสนาสนะ" (อยู่อาศัยโคนไม้) มีค่าน้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ

       ๔. บรรดา ยารักษาโรค "ปูติมุตตเภสัช" (ยาดองน้ำมูตรเน่า) มีค่าน้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ


ปัจจัย ๔ อย่างนี้แลมีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ

       "ภิกษุ" ทั้งหลาย เพราะ "ภิกษุ" เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่มีค่าน้อยและหาได้ง่ายนี้เราจึงกล่าวว่า “เป็นองค์ประกอบแห่งความเป็น "สมณะ" อย่างหนึ่ง” ของ "ภิกษุ" นั้น

      จิตของ "ภิกษุ" ผู้สันโดษด้วยปัจจัย ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ย่อมไม่มีความคับแค้น ไม่ติดขัดทั่วทิศ เพราะปรารภจีวร โภชนะ เสนาสนะและยารักษาโรค และธรรมที่เหมาะแก่ความเป็นสมณะ ที่ภิกษุนั้นกล่าวไว้แล้ว
     
         เพราะฉะนั้น ตามหลักการในพระพุทธศาสนานั้นปัจจัย ๔ คือ อุปกรณ์การฝึกนิสัยดีและชั่วให้เกิดขึ้นในตัวมนุษย์

         หากใช้ถูกวิธี ก็ฝึกนิสัยทำความดีอย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพัน หากใช้ผิดวิธี ก็ฝึกนิสัยทำความชั่วอย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันดังปรากฏใน

        หาก "พระภิกษุ" เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของ "ญาติโยม" แม้อยู่ไกลถึงในป่าในเขา ก็ยังมีผู้ศรัทธาติดตามไปทำบุญ แต่หากไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาแล้ว แม้อยู่ใจกลาง "เมืองหลวงย่าน" เศรษฐกิจก็มีสิทธิ์อดตายได้ เช่นกัน

 


ลักษณะการบริโภคปัจจัย ๔

          ในอรรถกถา พระวินัย ติงสกกัณฑวรรณา โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘ ได้กล่าวถึงลักษณะการบริโภคปัจจัย ๔ ไว้ ๔ ประเภท ดังนี้

 

ประเภทการบริโภคปัจจัย ๔

          จริงอยู่ การบริโภคมี ๔ อย่าง คือ

          ๑. ไถยบริโภค (บริโภคอย่างขโมย)

          ๒. อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้)

          ๓. ทายัชชบริโภค (บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก)

          ๔. สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ)


บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น

          "การบริโภคของภิกษุ" ผู้ทุศีลซึ่งนั่งอยู่แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า "ไถยบริโภค"

      "การบริโภค" ไม่พิจารณาของ "ภิกษุ" ผู้มีศีลชื่อว่า "อิณบริโภค" เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลจึงพิจารณา จีวร ทุกขณะที่บริโภคใช้สอย บิณฑบาต พึงพิจารณาทุกๆ คำกลืนเมื่อไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน ยามต้น ยามกลางและยามสุดท้าย หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้นย่อมตั้งอยู่ในฐานะบริโภคหนี้ แม้ "เสนาสนะ" ก็พึงพิจารณาทุกๆ ขณะที่ใช้สอย

         ความมีสติเป็นปัจจัย (๑) ทั้งในขณะรับ (๒) ทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอาบัติแก่ "ภิกษุ" ผู้ทำสติในการรับ ไม่ทำในการบริโภคที่เดียว แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ "ภิกษุ" ผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในเวลาบริโภค

 


พระมหาเถระกับการบริโภคใช้สอยปัจจัย ๔

      มีเรื่องราวการใช้สอยปัจจัย ๔ กล่าวไว้ใน ปปัญจสูทนีอรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร เรื่อง "พระมหาเถระ" ดังนี้



"พระมหาเถระ"



          การใช้ สังฆาฏิ และผ้าจีวร โดยการนุ่งการห่ม การใช้บาตร โดยการรักษาเป็นต้น ชื่อว่า "ธารณะ" ในคำว่า "สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ" นี้ การได้ "อามิส ของ ภิกษุ" ผู้นุ่งและห่มแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต และประโยชน์มีประการดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นแหละโดยนัย มีอาทิว่า "สีตสฺสปฏิฆาตาย" (เพื่อบำบัดความหนาว) ชื่อว่าประโยชน์ในการครอง "ผ้าสังฆาฏิ และ ผ้าจีวร" นั้น

            ผู้ศึกษาควรเข้าใจ "สาตกสัมปชัญญะ" ด้วยสามารถแห่งประโยชน์นั้นก่อน

         ส่วนจีวรเนื้อละเอียด เป็น "สัปปายะ" ของผู้มีปกติร้อน (ขี้ร้อน) และผู้มีกำลังน้อย (แต่) จีวรหยาบหนา เป็น "สัปปายะ" ของผู้มีปกติหนาวมาก (ขี้หนาว) ผิดไปจากนี้ก็ไม่เป็น "สัปปายะ" จีวรเก่าไม่เป็น "สัปปายะ" ของใครๆ เลย เพราะมันทําความกังวลใจให้ท่านโดยให้ความข้องใจ เป็นต้น

 

         แล้วผ้าจีวรผืนใดที่เกิดขึ้น (ได้มา) ด้วยอำนาจมิจฉาชีพ มีการทำนิมิตเป็นต้น และ จีวรใดเมื่อท่านใช้อยู่ "อกุศลธรรม" เจริญขึ้น "กุศลธรรม" เสื่อมลงจีวรนั้นเป็น "อสัปปายะ" แต่จีวรที่ผิดแผกไปจากนี้เป็นสัปปายะ....

      ส่วนบาตรหนัก ไม่เป็นสัปปายะ สำหรับ "ภิกษุ" ผู้มีร่างกายผอมและแรงน้อย และบาตรที่เชื่อม (เหล็ก) เข้ากัน ๔-๕ แผ่น ตะไบไม่เรียบร้อย ไม่เป็นสัปปายะแก่คนใดคนหนึ่งเลย เพราะว่าบาตรที่ล้างยาก ไม่เหมาะ ก็เมื่อล้างบาตรนั่นแหละ

         เธอจะมีความกังวล. ส่วนบาตรที่มีสีเหมือนแก้วมณี เป็นที่ตั้งแห่งความโลภไม่เป็น "สัปปาย๊ะ"

     อีกอย่างหนึ่ง "ภิกษุ" ใดพิจารณาเห็นจีวรเหมือนผ้าพันแผลบาตรเหมือนกระเบื้องใส่ยา และ "ภิกษา" ที่ได้มาในบาตร เหมือนยาในกระเบื้อง "ภิกษุ" นี้จึงทราบเถิดว่า เป็นผู้มีปกติทำความรู้ตัวสูงสุดเป็นปกติด้วย "อสัมโมหสัมปชัญญะ"

        ในการพาด "สังฆาฏิ" อุ้มบาตรและห่มจีวร เหมือนกับชายที่มีความเอ็นดู เห็น "คนอนาถา" นอนอยู่ที่ศาลา สำหรับ "คนอนาถา" มีมือเท้าด้วน มีน้ำเหลืองและเลือดทั้งหมู่หนอนไหลออกจากปากแผล มีแมลงวันหัวเขียวตอมหึ่ง จึงได้หาผ้าพันแผลพร้อมทั้งกระเบื้องใส่ยาไปมอบให้เขาเหล่านั้น

 

       ในจำนวนสิ่งของเหล่านั้น แม้ผ้าที่เนื้อละเอียดตกแก่ลางพวก ที่เนื้อหยาบก็ตกแก่ลางพวก ถึงกะลาใส่ยาที่ทรวดทรงงามก็ตกแก่ลางพวก ที่ทรวดทรงไม่งามก็ตกแก่ลางพวก พวกเขาจะไม่ดีใจหรือเสียใจ ในสิ่งของเหล่านั้น เพราะเขามีความต้องการ ผ้าเพียงแต่ใช้ปิดแผลเท่านั้น และกะลาเพียงแต่ใช้รับยาเท่านั้น



อาหารเป็นที่สบาย

          มีเรื่องอาหารที่เป็นสัปปายะเอื้อต่อการบรรลุธรรม กล่าวใน

         "อรรถกถาขุททกนิกาย" คาถาธรรมบทเรื่อง "ภิกษุ" รูปใดรูปหนึ่ง สรุปความโดยย่อว่า



เรื่อง "ภิกษุ" รูปใดรูปหนึ่ง



        กล่าวคือ ครั้งหนึ่ง ได้มี "ภิกษุ ๖๐ รูป" ได้เดินทางมาถึงบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อ "ตึกคาม" ใกล้เชิงเขาใน "แคว้นโกศล" ลำดับนั้นเจ้าของบ้าน ชื่อ "มาติกะใด" มารดาเจ้าของบ้าน ได้นิมนต์พระท่านรับภัตตาหารที่บ้าน หลังจากสอบถามแล้วทราบความว่า "ภิกษุ" เหล่านั้นต้องการหาสถานที่บำเพ็ญ "สมณะธรรม" จึงได้อาราธนาอยู่ตลอดพรรษา ต่อมานางได้เจริญ "สมณะธรรม" ตามที่ "ภิกษุ" บอกได้ "บรรลุมรรคผล" ก่อน "ภิกษุ" นั้น เมื่อนางได้ออกจากสุขและมรรคผลแล้ว จึงได้ตรวจดู "ทิพยจักษุ" ใคร่ครวญอยู่ว่า

         “เมื่อไรหนอแล "พระผู้เป็นเจ้า" ผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้” แล้วรำพึง (ต่อไป) ว่า 'พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่า "ฌานแลวิปัสสนา" เลย

      "อุปนิสัย" ทาง "พระอรหัต" ของพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ เห็นว่ามีดังนี้แล้วจึงรำพึงต่อไปว่า "เสนาสนะ" เป็นที่สบายจะมีหรือไม่หนอเห็นแม้ "เสนาสนะ" เป็นที่สบายแล้วจึงรำพึงต่อไปอีกว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายเลยหนอถึงแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้วจึงใคร่ครวญอยู่ว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายเลยหนอ

    ก็ได้เห็นว่า "อาหารเป็นที่สบาย ยังไม่มีแก่พวกเธอ" จำเดิมแต่นั้นมาก็จัดแจงข้าวยาคูอันมีอย่างต่างๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรสต่างๆ อันเลิศแล้ว......."

        ต่อมา "ภิกษุ" เหล่านั้น ได้อาหารเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มีอารมณ์เดียว (แน่วแน่) พวกเธอมีจิตแน่วแน่ "เจริญวิปัสสนา" ต่อกาลไม่นานนัก ก็ได้ "บรรลุพระอรหัต" พร้อมด้วย "ปฏิสัมภิทา" ทั้งหลาย

       และคิดว่า น่าขอบคุณ "มหาอุบาสิกา" เป็นที่พึ่งของเรา ถ้าพวกเราไม่ได้อาหารเป็นที่พึ่งของเราแล้วไซร้การแทงตลอด "มรรคและผล" คงจะไม่ได้มีแก่พวกเรา (เป็นแน่) บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้วจักไปสู่สำนักของ "พระศาสดา"



ที่มาของการอนุญาตให้ "พระภิกษุใช้เสนาสนะ"

           มีเรื่องการสร้างวิหาร กล่าวไว้ใน "เสนาขันธกะปฐมภาณวาร วิหารานุชานนะ" ดังนี้



"วิหารานุชานนะ"

ว่าด้วยทรงอนุญาตวิหาร



เรื่อง เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ขออนุญาตสร้างวิหาร

สมัยนั้น "พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า" ประทับอยู่ ณ "พระเวฬุวัน" สถานที่ให้เหยื่อกระแต "เขตกรุงราชคฤห์" ครั้งนั้น "พระผู้มีพระภาค" ยังไม่ได้ทรงบัญญัติ (ยังไม่ทรงอนุญาต) "เสนาสนะแก่ภิกษุ" ทั้งหลาย และ "ภิกษุ" เหล่านั้นอยู่ในที่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง

เวลาเช้าตรู่ ภิกษุเหล่านั้นเดินออกมาจากที่นั้นๆ คือ จากป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ทอดสายตาลงต่ำ มีการก้าวไป การถอยหลัง การมองดู การเหลียวดู การแขน กาเหยียดแขนน่าเลื่อมใสเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย "อิริยาบถ"

ครั้งนั้น เศรษฐีกรุงราชคฤห์ไปสวนแต่เช้าตรู่ ได้แลเห็น "ภิกษุ" เหล่านั้นเดินออกจากที่นั้นๆ คือ จากป่า โคนไม้ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ทอดสายตาลงต่ำ มีการก้าวไป การถอยหลัง การมองดู การเหลียวดู การแขน การเหยียดแขน น่าเลื่อมใส เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย "อิริยาบถ" ครั้นเห็น แล้ว "เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์" นั้นก็มีจิตเลื่อมใส

ลำดับนั้น "เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์" ได้เข้าไปหา "ภิกษุ" เหล่านั้น ครั้นแล้วจึงได้กล่าวกับ "ภิกษุ" ดังนี้ว่า ถ้ากระผมจะให้สร้างวิหารพระคุณเจ้าจะอยู่ในวิหารของกระผมหรือ

"ภิกษุ" ทั้งหลายตอบว่า “คหบดี พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ทรงอนุญาตวิหาร” เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น "พระคุณเจ้า" จงทูลถาม "พระผู้มีพระภาค" แล้วแจ้งให้กระผมทราบ

"ภิกษุ" เหล่านั้นรับคำของ "เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์" แล้วเข้าไปเฝ้า "พระผู้มีพระภาค" ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาท "พระผู้มีพระภาค" นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล "พระผู้มีพระภาค" ดังนี้ว่า “เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ต้องการจะให้สร้างวิหารถวาย ข้า "พระพุทธเจ้า" ทั้งหลายจะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดง "ธรรมีกถา" เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียวปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ”

ต่อมา "ภิกษุ" เหล่านั้นเข้าไปหา "เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์" ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับ "เศรษฐีชาวราชคฤห์" ดังนี้ว่า “ท่านคหบดี "พระผู้มีพระภาค" ทรงอนุญาตวิหารแล้ว บัดนี้ ท่านกําหนดกาลสมควรเถิด”

ลำดับนั้นเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้สร้างวิหาร ๖๐ หลัง โดยใช้เวลาแค่เพียงวันเดียว ครั้นให้สร้างเสร็จแล้วจึงไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

(แล้วกราบทูลนิมนต์ "พระองค์และคณะสงฆ์" ฉันภัตตาหารที่เรือนในวันรุ่งขึ้นเมื่อ "พระผู้มีพระภาค" เสวยเสร็จแล้ว) ได้กราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าต้องการบุญ ต้องการสวรรค์จึงให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังนี้ไว้ ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในวิหารเหล่านี้อย่างไรเล่า พระพุทธเจ้าข้า”

"พระผู้มีพระภาคเจ้า" ตรัสว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงถวายวิหารเหล่านั้น แก่ "สงฆ์" ในทิศทั้ง ๔ ผู้มาแล้วและยังไม่มา”

คาถาอนุโมทนาการถวายวิหาร

ลำดับนั้น "พระผู้มีพระภาค" ทรงอนุโมทนา "เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์" ด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า


“วิหารย่อมป้องกันความหนาวร้อนและสัตว์ร้าย
นอกจากนั้น ยังป้องกันงู ยุงและฝนในคราวหนาวเย็น
นอกจากนั้น ยังป้องกันลมแดดอันร้อนจัดที่เกิดขึ้น
การถวายวิหาร แก่ "สงฆ์" เพื่อ หลีกเร้นอยู่
เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง
"พระพุทธเจ้า" ทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ
เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาด เมื่อเห็น ประโยชน์ ของตน
พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวาย "ภิกษุผู้พหูสูต" ให้อยู่ในที่นี้เถิด

อีกประการหนึ่ง ผู้เป็นบัณฑิตมีจิตเลื่อมใสใน "ภิกษุพหูสูต" ผู้ปฏิบัติตรง จึงถวาย ข้าว น้ำ ผ้า และ "เสนาสนะ" อันควรแก่ท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้น ย่อม "แสดงธรรม" อันเป็นเหตุ "บรรเทาสรรพทุกข์" แก่เขา ซึ่งเมื่อเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มี "อาสวะปรินิพพาน" ได้ในชาตินี้”
ครั้นเมื่อ "พระผู้มีพระภาค" ทรงอนุโมทนา "เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์" ด้วยพระคาถาเหล่านี้เสร็จแล้ว ทรงลุกจาก "อาสนะ" เสด็จกลับ

การจัดที่พักสงฆ์ตามคุณสมบัติ

"พระทัพพมัลลบุตร" ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ดูแล "เสนาสนะ" และจัดการภัตตาหารถวาย "สงฆ์" ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็น "พระอรหันต์อายุ ๗ ขวบ" แต่ก็สามารถจัดการงานได้ดีอย่างไม่มีที่ติ โดยการจัดแบ่งตามคุณลักษณะของ "สงฆ์" ดังปรากฏใน "ปฐมทุฏฐิโทสสกขาบท" ดังนี้

"ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท"

เรื่อง พระทัพพมัลลบุตร

สมัยนั้น "พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า" ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต "เขตกรุงราชคฤห์" ครั้งนั้น "ท่านพระทัพพมัลลบุตร" "บรรลุอรหัตตผล เมื่ออายุ ๗ ขวบ" คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ "พระสาวก" พึงบรรลุ ท่านก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไรๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.035451869169871 Mins