ยี่เป็งเป็นประเพณี ประจำปี ซึ่งจัดขึ้น เพื่อฉลองคืนเดือนเพ็ญที่ จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคเหนือของไทย โดยงานจะเริ่มขึ้น ในวันก่อนวันลอยกระทงหนึ่งวัน ใน เดือนพฤศจิกายน คำว่า "ยี่เป็ง" เป็นคำทางเหนือ ซึ่งหมายถึง วันเพ็ญ เดือน 12 ตามปฎิทินพุทธศาสนา
ประเพณี นี้จัดฉลอง เป็นพิธี ทางศาสนา ซึ่งประชาชน ในถิ่นนี้ทั้งหมด จะร่วมทำบุญ และกิจกรรมทางศาสนา อื่นๆด้วย จุดเด่นของงานนี้ ก็อยู่ที่ การปล่อยโคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า ในยามค่ำคืนตามความเชื่อ ที่ว่า โคมเหล่านี้ จะนำโชคร้าย ต่างๆออกไป ประชาชนเชื่อ ว่า ถ้าหากได้ทำโคมแล้วนำ ไปถวายพระ พวกเขาก็จะได้รับความฉลาด เป็นสิ่งตอบแทน เพราะกล่าวกันว่า เปลวไฟในโคม เป็นสัญลักษณ์ ของความรู้ และ แสงสว่างที่ ได้รับจากโคม จะนำพวกเขา ไปในทางที่ถูกต้อง ของการดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกัน คำว่า "โคมลอย" นี้เป็น ภาษาไทย ซึ่งหมายถึง โคมไฟ ที่ลอยได้ โดยมี รูปคล้ายบัลลูน ขนาดใหญ่ทำด้วยโครงไม้ไผ่เบาๆ แล้วคลุมด้วย กระดาษสา บัลลูนนี้ลอยได้โดยอาศัย อากาศร้อน โดยการจุดคบเพลิง ผูกติดไว้ในบัลลูน ในช่วง มีพิธีนี้ ทั้งวันทั้ง คืน ชาวบ้าน และ พระสงฆ์จะช่วยกัน ทำโคม ขะมักเขม้น นอกจาก บริเวณโรงแรมใหญ่ๆแล้ว บริเวณวัด ก็จัด เป็นสถานที่เหมาะสำหรับ การปล่อยโคม อีกด้วย กิจกรรมนี้ ได้รับ ความนิยมมากเสียจนกระทั่งว่า ในช่วงสำคัญ ของงาน การฝึกบิน ของกองทัพอากาศไทย ต้องหยุดระงับไว้ชั่วคราว จนกว่า โคมเหล่านี้ จะลอยไปหมดแล้ว ในขณะที่ สนามบิน ก็ได้ รับคำเตือน ให้เพิ่ม ความระมัดระวัง อย่างมากที่สุด เพราะโคมที่ กำลังลอย อาจเป็นอันตราย ต่อใบพัด ของเครื่องยนต์ไอพ่นได้
เพื่อร่วมฉลอง โอกาสอันเป็นมงคลนี้ บริษัท และ ต่างคนต่าง ก็ทำบุญ โดยการออกค่าใช้จ่าย ในการทำบัลลูน เพื่อขับไล่โชคร้าย ออกไป และ ให้โชคดีเข้ามาแทนที่ ถ้าหาก บัลลูนของ พวกเขาขึ้นไป ได้สูง และ ลอยไปได้ไกลมาก นี้ ก็ แสดงว่า เขาจะประสบความเจริญรุ่งเรือง กล่าวกันว่า บัลลูนที่ใช้ความร้อนชนิดนี้ สามารถลอยขึ้น ได้สูงถึง 1,250 เมตร และ ลอยไปไกลได้ ถึงแม้กระทั่ง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของภาคใต้ เหตุการณ์ที่น่าชม มากที่สุด จัดขึ้นที่ บริเวณประตูท่าแพ ซึ่งนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และ ชาวต่างประเทศ สามารถ ชมพุ่มต่างๆ การเดินขบวน และ นางงาม ยี่เป็ง ได้ด้วย ทันที ที่พลบค่ำ คนชม จะได้ ตื่นเต้น กับการได้เห็น โคมลอยที่ดูติดกัน เป็น สายยาวค่อ ยๆ ลอยขึ้น ไปสู่ท้องฟ้า อันเวิงว้าง เหมือนหนึ่ง จะกระตุ้นจิตใจ ของ ผู้ที่ร่วมงาน ให้ลอยสูงขึ้น ไป บนสวรรค์ไม่มีผิด นี้เป็นการนำ มาซึ่ง ความรื่นเริง และความสุข แก่ผู้ที่ ได้ทำบุญ เพราะว่าโชคร้ายต่างๆ ของพวกเขา ได้ถูกลอย ไปพร้อมๆ กับโคมหมดแล้ว
เทศกาลยี่เป็ง เป็นเทศกาลใหญ่ เรียกการลอยกระทงว่า ลอยโขมด หรือ ลอยไฟ คำว่า “ยี่เป็ง” หมายถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ในระยะหลังมีคำว่าลอยสะเปา ซึ่งหมายถึงการลอยสำเภา อันเป็นการลอยกระทงขนาดใหญ่ในงานประกวดกระทง การบูชาในพิธีลอยกระทงมี 2 อย่างคือ การลอยกระทงและการตามประทีป แต่ละบ้านจะตกแต่งบ้านด้วยโคมไฟหลากสี เรียกว่า “กมผัด” หมายถึงโคมที่หมุนไปมาได้มีการจุด “ผางพะตี้บ” ในบ้านและรอบๆบ้าน มีการจุดโคมลอยในเวลากลางวันและโคมไฟในเวลาค่ำคืน แล้วปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นการบูชาพระจุฬามณี บนสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีการจุดดอกไม้ไฟชนิดต่างๆจากที่ตามประเพณีของชาวล้านนาเชื่อว่าในคืนวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือน 12 ) เป็นคืนที่พระจันทร์สว่างไสวและมีขนาดใหญ่กว่าทุก ๆ เดือน เดือนเพ็ญเป็นเดือนที่มีน้ำอุมดสมบูรณ์เปี่ยมตลิ่ง เป็นโอกาสอันดีที่จะบูชาองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการจุดประทีปบูชาทั้งบนท้องฟ้าบนพื้นดินและน้ำ
การถวายดวงประทีปเป็นพุทธบูชา เป็นบุญพิเศษที่กระทำได้ยาก หากบุคคลใดได้ถวายดวงประทีปแม้เพียงดวงเดียว ด้วยใจที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย จะไม่มีทุคติเป็นที่ไปเลย มีแต่มนุษยโลกและเทวโลกเป็นที่ไปเท่านั้น เพราะบุญกุศลที่ทำถูกเนื้อนาบุญย่อมมีอานิสงส์มากมายมหาศาลกว่าจะนับจะประมาณได้ และในปีนี้สถานที่หนึ่งคือทาง ธุดงคสถานล้านนา จ. เชียงใหม่ ก็ได้กำหนดให้มีการจัดงาน ”ยี่เป็งสันทราย ถวายเป็นพุทธบูชา”ขึ้นในวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 โดยร่วมสืบสานวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของชาวล้านนา เริ่มงานกันตั้งแต่ในภาคบ่ายจรดภาคค่ำ ร่วมกันทอดกฐินล้านนา ร่วมบูชาพระรัตนตรัยด้วยประทีปจุดบูชารัตนเจดีย์ โคมธรรมจุดบูชาบนท้องฟ้า และจุดประทีปบูชาบนพื้นน้ำด้วยกระทงดอกไม้ที่สวยงามถวายเป็นพุทธบูชา
“ท้องฟ้าสว่างด้วยแสงจันทร์
ลานธรรมสว่างด้วยแสงไฟ
ดวงใจสว่างด้วยแสงแห่งธรรม”
ดุสิตา
ได้รับอนุญาตจาก : ธนพล จาดใจดี. (1994). เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ห.จ.ก. ไทยเจริญการพิมพ์.