.....ประมวลเรื่องน่ารู้ น่าสนใจเกี่ยวกับพุทธศาสนา
ด้วยการนำเสนอเนื้อหาค่อนข้างสมัยใหม่ ที่กระชับช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ที่เริ่มต้นจากประวัติและคำสอนพระพุทธศาสนา ในชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย แบ่งออกเป็น ๑๖ แคว้น ๘ อาณาจักรใหญ่ ส่วนอีก ๘ แคว้นเป็น “ สาธารณรัฐ ” กำเนิดวงศ์ศากยะ พระราชประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ จนกระทั่งออกผนวช บรรลุธรรม และเผยแผ่พระธรรมคำสอน และเสด็จปรินิพพาน
คำสอนของพระพุทธองค์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ที่เป็นปรัชญา และเกี่ยวกับศีลธรรม ทรงเปรียบเสมือน “ จิตแพทย์ ” ที่มีความชำนาญ ทรงค้นสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ เมื่อทรงพบแล้ว ก็นำมาเปิดเผยถึงวิธีแก้ความทุกข์นั้น
ความมุ่งหมายในการประกาศธรรม เพื่อกำจัดความทุกข์และสร้างความสุขให้เกิดขึ้น ซึ่งมี ๒ ระดับ คือ
๑ . ระดับโลกิยะ หมายถึง ธรรมสำหรับฆราวาสทั่วไป ซึ่งได้แก่ หลักศีลธรรมและจริยธรรม รวมทั้งข้อธรรม สำหรับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ผู้ที่ต้องการจะอยู่ในโลกอย่างปลอดภัยและสงบสุข ก็ต้องปฏิบัติธรรม ซึ่งมีหัวข้อธรรมมากมาย เช่น ฆราวาสธรรม อิทธิบาท เป็นต้น
๒ . ระดับโลกุตตระ เป็น ธรรมะระดับสูงที่ต้องใช้สติปัญญาและความเพียรเป็นอย่างมากในการปฏิบัติ มุ่งตรงไปยังการบำเพ็ญเพียรเพื่อ “ กำจัดกิเลส ” ซึ่งเป็นรากเหง้าของความทุกข์
“ ธรรมกาย ” หมายถึงหลักธรรมะและคำสอนของพระพุทธองค์ แนวความคิดเกี่ยวกับ “ ตรีกาย ” ถือว่าเป็นกุศโลบายสร้างความหวังและปลอบใจให้แก่ศาสนิก ผู้ซึ่งมีความยึดมั่นในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่ายังทรงพระชนม์อยู่ ถือเป็นวิธีสร้างความหวังโดยตรงให้แก่ชาวโลกผู้ซึ่งยังไม่เข้าถึงธรรม
พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เป็นศาสนาแห่ง “ ภราดรภาพ ” มีความเอื้ออาทรและปรารถนาดีต่อชาวโลก ข้อนี้ทำให้เผยแพร่อย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศอินเดียและในต่างประเทศ อนึ่ง คำสอนในธรรมบท เป็นคำสอนสากล เหมาะและมีคุณค่าแก่มนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา เปิดกว้างเพื่อ “ มนุษยชาติ ” อย่างแท้จริง ธรรมบทจึงได้ชื่อว่า “ วรรณคดีโลก ”
กับสันติภาพโลก ในบรรดาศาสนาที่มีผู้นับถือในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาส่งเสริม “ สันติภาพ ” ทุกรูปแบบ หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นประจักษ์พยานชี้ชัดว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง จากคำสอนเรื่อง ปัญจศีล คือ ศีล ๕ เป็นคำสอนเบื้องต้นแสดงให้เห็นชัดว่า เป็นศาสนารักและ ส่งเสริมสันติภาพ เพื่อความสงบสุขของมนุษยชาติ ที่นอกจากสันติภาพภายนอกแล้ว ยังส่งเสริม “ สันติภาพภายใน ” อีกด้วย คือความสงบใจ ซึ่งเกิดได้โดยการฝึกและอบรมจิตใจ เมื่อบุคคลสงบ สังคม ประเทศ สังคมโลกก็สงบด้วย
สาเหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย แม้เกิดในประเทศอินเดีย เจริญรุ่งเรือง และสุดท้ายก็เสื่อมในประเทศนี้ โดยมีสาเหตุคือ
๑ . เพราะไม่มีองค์กรผู้ประสานงาน
๒ . ความแตกแยกเป็นนิกาย
๓ . ความบกพร่องของพระสงฆ์
๔ . ไม่มีผู้อุปถัมภ์
๕ . วัดถูกทำลาย
๖ . เพราะนักปราชญ์ฮินดู ๒ ท่านที่ช่วยกันเผยแพร่ศาสนาฮินดู และได้รับความนับถือและเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง
๗ . เพราะการบิดเบือนคำสอนในพระพุทธศาสนา การแอบอ้างถึงการอวตารของพระเจ้า
พระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตก ได้แพร่หลายสู่โลกตะวันตกมานานแล้ว ในปัจจุบันก็มีผู้นับถือในประเทศอังกฤษ เยอรมันนี ฝรั่งเศส อเมริกา ความสนใจพระพุทธศาสนาเพิ่มทวีขึ้นทุกปี ปัญหาที่สนใจกันมาก คือหากจะมีศาสนาใด ที่ท้าทายการพิสูจน์ของวิทยาศาสตร์ศาสนานั้นคงจะเป็น “ พระพุทธศาสนา ” ทรงสอนให้ใช้สติปัญญาในการนับถือ ต้องมีปัญญาพิจารณาก่อนจะเชื่อ ไม่มีการบังคับใด ๆ และได้เปิดเสรีให้ใช้สติปัญญา และเหตุผลของตนเอง
กับสังคมไทย จาก “ ขุมทรัพย์อันมีคุณค่า ” ให้แก่สังคมไทยคือ สอนให้ยึดหลักความดี สอนให้มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่กันและกัน สอนให้นับถือผู้มีบุญคุณกับคนไทย ด้วยวิถีชีวิตอิงอาศัยพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง ทั้งในด้านคติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรม พิธีกรรมและประเพณี สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ในด้านสหธรรม – วัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกัน
การมองโลกตามหลักพระพุทธศาสนา มองว่า “ ชีวิตและสรรพสิ่งในโลก ” จะต้องตกอยู่ภายใต้กฎของ “ ไตรภาวะ ” คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลาย การมองตามสภาพที่เป็นจริง ทำให้จิตเข้มแข็ง ไม่ขลาดกลัว กล้าเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ ไม่หวาดกลัวต่อความทุกข์ เพราะการเข้าใจ “ สัจภาพแห่งชีวิต ” ทำให้ตื่นตัว ไม่ประมาท และหลงมัวเมาในชีวิต
ศึกษาเนื้อหาโดยละเอียดได้จาก ร้านจำหน่ายหนังสือทั่วไปขณะนี้
สุ. พูนพิพัฒน์.