.....เปรียบเทียบความผิดและวิธีลงโทษตามพระพุทธบัญญัติกับยกร่างกฎ มส. โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
.....ประเด็นสำคัญที่มีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ยกร่างกฎ มส. ว่าด้วยความผิดและวิธีลงโทษทางการปกครอง โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ ความผิดและวิธีการลงโทษ
.....เพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้งในประเด็นที่มีการทักท้วง จึงได้นำความผิดและ วิธีการลงโทษตามพระธรรมวินัย และความผิดและวิธีลงโทษ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้ยกร่าง มาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างตามตารางนี้
.....ความผิด วิธีการลงโทษ โดยพระพุทธบัญญัติ ความผิด วิธีการลงโทษ โดย สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
โทษสถานหนักแก้ไขไม่ได้ เรียกชื่อ อาบัติหนักว่า ปาราชิก มี ๔ ประการ คือ
๑.)เสพเมถุน มีเพศสัมพันธ์กันสตรี
๒.)ลักทรัพย์
๓.)ฆ่ามนุษย์
๔.)อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
ต้องสละสมณเพศ
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนา
(ก) ละเมิดพระวินัยอันเป็นโลกวัชชะ
(ข) บิดเบือนหรือกล่าวตู่ หรือตีความพระธรรมวินัยตามความคิดเห็นของตน โดย ไม่ยึดพระธรรมวินัย
(ค) ประพฤติอื่นใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนา
(๒) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การปกครองคณะสงฆ์
(ก) ฝ่าฝืน พรบ.คณะสงฆ์ กฏกระทรวง
กฏมหาเถรสมาคม
(ข) ฝ่าฝืนพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
(ค) ประพฤติอื่นใดที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่การบริหารงานของคณะสงฆ์
๑.ให้สละสมณเพศ
๒. ตำหนิโทษ
๓. ภาคทัณฑ์
๔. ว่ากล่าวตักเตือน
.....พระเจ้าสังกัดที่พระภิกษุสามเณรพักอาศัย หรือพระเจ้าของเขตที่เกิดเหตุกระทำความผิด มีอำนาจพิจารณาตัดสินให้พระภิกษุ สามเณร สละสมณเพศได้ทุกกรณีของความผิด (เว้นแต่กรณีพระภิกษุ สามเณรผู้กระทำผิดไม่ยอมสละสมณเพศ เพราะความผิดไม่ชัดแจ้ง ให้คณะสงฆ์ ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป พิจารณาตัดสิน)
๒.โทษสถานหนัก แก้ไขได้ เรียกชื่อ อาบัติสังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ เช่น ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายหญิง พูดเกี้ยวหญิง เป็นต้น ต้องอยู่ปริวาส กรรมเป็นการจำกัดเขตประจานความผิดของตนต่อสงฆ์เท่าจำนวนวันที่ปกปิดอาบัติ
๓.โทษเบาที่แก้ไขได้ เรียกชื่อ อาบัติว่า ปาจิตตีย์ แปลว่า ทำกุศลให้ตกร่วง , ทุกกฏแปลว่า ทำไม่ดี , ทุพภาษิต แปลว่า พูดไม่ดี แสดงอาบัติต่อหน้าสงฆ์ คณะหรือบุคคล
๔.ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ ต้องอาบัติแล้วไม่ทำคืน มีทิฏฐิบาปก็ไม่สละทิฏฐิบาป ลงอุกเขปนียกรรม คือ สวดประกาศยกออกจากหมู่
๕.ภิกษุชอบหาเรื่องก่อการทะเลาะวิวาท ลงตัชชนียกรรม คือ สวดประกาศลงโทษเป็นการตำหนิภิกษุ
๖.ภิกษุต้องอาบัติมาก คลุกคลีกับชาวบ้านในลักษณะที่ไม่สมควร ลงนิยสกรรม คือ ถอดยศหรือตัดสิทธิ
๗.ภิกษุประจบคฤหัสถ์ (ยอมตัวให้เขาใช้) ลงปัพพาชนียกรรม คือ การไล่ออกจากวัด
๘.ภิกษุด่า บริภาษคฤหัสถ์ ลงปฏิสารยณีกรรม คือ การให้ไปขอโทษคฤหัสถ์
.....จะเห็นว่ากรอบความผิด และระดับวิธีการลงโทษที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัตินั้น มีระดับความหนักเบาที่แบ่งแยกชัดเจน ว่าความผิดขนาดไหน ขอบเขตการลงโทษแค่ไหน ผู้วินิจฉัยลงโทษต้องอ้างอิงพระธรรมวินัย ไม่สามารถใช้อคติ (ความลำเอียง)ไปข่มขู่ รังแก ผู้กระทำความผิดเกินขอบเขตได้ แต่กรอบความผิดและระดับวิธีการลงโทษที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติยกร่างนั้น ผู้วินิจฉัยจะลงโทษผู้กระทำความผิดระดับไหนก็ได้
.....เห็นความแตกต่างแล้วก็ยิ่งซาบซึ้งและบูชาในพระปัญญา พระบริสุทธิ์ และพระมหากรุณาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปักหลักให้พระพุทธศาสนายืนยาวถึง ๒,๕๐๐ กว่าปี โดยเอาพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ ไม่ได้เอาตัวบุคคลเป็นใหญ่
ประเด็นสำคัญ
๑.ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุ-สามเณรนอกลู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยจับสึกแม้แต่เพียงรูปเดียว (ถ้าไม่ต้องอาบัติปาราชิก) มีแต่จับศึกษา เปลี่ยนจากจับสึก มาเป็นจับสอน
๒. โทษสละสมณเพศของพระภิกษุก็เหมือนกับโทษประหารชีวิตในทางโลก ขอบเขตความผิดที่ต้องสละสมณเพศ ตามพระพุทธบัญญัติมี ๔ ประการ แต่ตามร่างกฎ มส. ยกร่างโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ไม่จำกัดขอบเขต ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของพระเจ้าสังกัด ที่พระภิกษุสามเณรพักอาศัย หรือพระเจ้าของเขตที่เกิดการกระทำความผิด ถ้าเปรียบกฎหมายทางโลก ก็เหมือนกับความผิดที่ต้องโทษทุกระดับ ตั้งแต่การตักเตือน หักคะแนน ปรับหรือจำคุกให้สามารถประหารชีวิตได้ ตามแต่การพิจารณาวินิจฉัยของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประชาชนพักอาศัย หรือวินิจฉัยของผู้ปกครองเขตที่ประชาชนกระทำความผิด
......ถ้าพระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ จะทรงยกย่องหรือตำหนิสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ผู้ยกร่างกฎมหาเถรฯ) หนอ
รัตตัญญู