อัจฉริยะ ไอน์สไตน์ ผู้มีแนวคิดสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา
เหตุใด...?
เรื่องราวต่างๆ “ที่เกิดจากทฤษฎีสัมพันธภาพ” จึงมีความคิดสอดคล้องคล้ายคลึงกับ “เรื่องราวต่างๆในพระพุทธศาสนา” อย่างน่าประหลาดใจยิ่ง ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังจากสมัยพุทธกาลถึงสองพันกว่าปีเลยทีเดียว
บังเอิญหรือ !??
ถ้าหากเราศึกษาชีวประวัติของไอน์สไตน์แล้ว คำตอบที่รับก็คือ”ไม่น่าจะใช่!” อย่างน้อยก็ต้องได้รับ “ผลสะท้อนจากพระพุทธศาสนาอยู่บ้างอย่างแน่นอน!”
แต่ก่อนที่เราจะคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบ: -
ถึงส่วนต่างๆที่สอดคล้องต้องกันนั้น เราควรจะทราบก่อนว่า “นักวิทยาศาสตร์ในยุคไอน์สไตน์และยุคก่อนหน้านั้นของนิวตัน” มีความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันอย่างไร ซึ่งถ้าหากจะกล่าวโดยสรุปแล้วคำตอบก็คือ “นักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันนี้ ล้วนแต่ต้องอาศัยทฤษฎีหรือกฏเกณฑ์ต่างๆ ในยุคดังกล่าว” เป็นหลักในการศึกษาค้นคว้าและทดลองสิ่งต่างๆ กันทั้งสิ้น!
ทุกวันนี้...
นักวิทยาศาสตร์ล้วนกำลังอาศัยกฎเกณฑ์และทฤษฎีเก่าๆ “เพื่อที่จะสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ มาอำนวยความสะดวกเท่านั้นเอง” ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ยุคก่อนๆจึงนับได้ว่า “เป็นปรมาจารย์ของนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว” โดยเฉพาะ “ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าใด ก็ยิ่งโตวันโตคืนไม่หยุดยั้ง”
แต่เราจะทราบหรือไม่ว่า...
กฎหรือทฤษฎีเก่าๆ ที่เรากำลังใช้อยู่ทุกวันนี้ “โดยเฉพาะทฤษฎีที่สำคัญๆนั้นล้วนแต่มีที่มาแบบแปลกๆไม่เป็นไปตามกระบวนการวิทยาศาสตร์แทบทั้งสิ้น” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แนวคิดของนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะยุคก่อนๆ” ล้วนแต่อิงความศรัทธาในศาสนา...ตัวอย่างเช่น
ไอแซก นิวตัน (ISAAC NEWTON)
... นอกจากจะได้ค้นพบ “กฏแรงดึงดูดโน้มถ่วงใต้ต้นแอปเปิล” ด้วยวิธีการที่แปลกประหลาด นอกเหนือกฏเกณฑ์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้ว “ก็ยังมีแนวความคิดที่อิงกับความเชื่อความศรัทธาที่พิสูจน์ไม่ได้อยู่เสมอ”เช่นเขากล่าวว่า “ระบบที่งดงามเป็นสมดุลที่สุด คือ ระบบสุริยะดวงอาทิตย์หรือแม้แต่ดาวหางที่มาเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ ที่งดงามสมดุลก็เพราะทั้งหมดล้วนเป็นกระบวนการภายใต้การครอบงำของจิตปัญญาอันยิ่งใหญ่ของพระผู้ทรงอำนาจ”!??
ไอแซก นิวตัน :-
เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ปฏิวัติความคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก่อนไอน์สไตน์จะเกิดนานกว่าสองร้อยปี (ค.ศ.1666 เป็นปีทองของนิวตัน, ค.ศ.1905 เป็นปีทองของไอน์สไตน์) ทว่า “นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะผู้นี้กลับมามีแนวคิดที่อิงกับศาสนา!” น่าแปลกใจมั๊ย!??
แต่เราจะรู้สึกแปลกใจยิ่งไปกว่านั้นอีก :-
ถ้าหากทราบว่าแนวความคิดของไอน์สไตน์ ผู้ปฏิวัติความคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 นี้ “อิงกับคำสอนของ...พระสัมมาสัมพุทธเจ้า !”
ชีวประวัติที่น่าสนใจบางส่วนของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ค.ศ.1896
ขณะที่ไอน์สไตน์อายุได้ 17 ปี เขาได้ละทิ้งสัญชาติเยอรมัน และสอบเข้าศึกษาต่อยังสถาบันเทคโนโลยีในซูริก ไอน์สไตน์ได้ใช่เวลาส่วนใหญ่ “ในการอ่านหนังสืออย่างเอาจริงเอาจัง” ในช่วงระยะเวลานี้หลายคนรู้สึกว่า “นี่เป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดในประวัติศาสตร์ สำหรับการมีชีวิตของนักวิทยาศาสตร์”
ในยุคช่วงต่อไปจะไม่มีอะไรให้ค้นพบอีกแล้ว!
กฎเกณฑ์ต่างๆ...
ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นจริงๆ “ในยุคของนิวตันกำลังถูกสงสัย” ไปสู่ความไม่แน่ใจที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่า “ฟิสิกส์เก่าๆ นั้นยังไม่เพียงพอจะอธิบายถึงความเป็นจริงที่สลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นในโลกฟิสิกส์” แต่ทว่า จะต้องค้นคว้าด้วยวิธีการใดเล่าจึงจะได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ !??
ทุกๆคนกำลังอยู่บนทางตันจะต้องหาทางออกที่มิใช่วิทยาศาสตร์กายภาพ !
ความคิดนี้ :-
ได้รับการสนองรับอย่างเต็มที่ จากบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ มากมายในซูริค “ซึ่งมองโลกจากมุมมองแบบมิใช่วิทยาศาสตร์กายภาพ” ดังเช่น
... ทร็อตสกี (รัฐบุรุษและนักประวัติชาวรัสเซีย ค.ศ. 1879-1940)
... เลนิน (ผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1970-1924)
... โรซ่า ลักเซมเบิร์ก (ผู้นำสังคมนิยมเยอรมัน ค.ศ.1870-1919)
... กลุ่มลัทธิอนาคต (FUTURISM กลุ่มผู้เชื่อคำพยากรณ์)
... กลุ่มลัทธิดาดา (DADAISM สำนักทางศิลปะกรรมและวรรณคดีในต้นศตวรรตที่ 20)
... เจมส? จอยส์ (นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ)
เป็นต้น
ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งหลายเหล่านี้ :-
จะมาชุมนุมกันบ่อยๆที่ร้านคาเฟ่ในซูริค ซึ่งยุคสมัยนั้น “ซูริคเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวาใจกลางเมืองยุโรปโดยมักจะยิยมการสังคมสังสรรค์กันในคาเฟ่!”
ไอน์สไตน์ก็เช่นเดียวกัน...
เมื่อมีเวลาว่างจากการอ่านหนังสือและการค้นคว้า “เขามักจะมาพบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดกันที่คาเฟ่เมโทโพล”
(หมายเหตุ: เป็นไปได้อย่างยิ่งที่ไอน์สไตน์ “ได้เริ่มต้นการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาในช่วงนี้” เนื่องจาก “พบกับทางตันไม่สามารถค้นพบสิ่งใหม่และได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสังคมรอบข้าง” ซึ่งมองโลกจากมุมมองแบบ “มิใช่วิทยาศาสตร์กายภาพที่อืฝแต่วัตถุ” เช่นเดียวกันกับพิคาสโซ่, วิทเก็นไตน์ และแม้กระทั้งฟรอยด์ บุคคลชั้นนำในยุคของเขา)
ปี ค.ศ. 1900
... ไอน์สไตน์ได้จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีและเริ่มหางานทำ
ปี ค.ศ. 1905
...ไอน์สไตน์ได้เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเสร็จสมบูรณ์ และจัดพิมพ์รายงานวิทยาศาสตร์หลายฉบับ
“รวมทั้งทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ 2 ฉบับและฉบับหนึ่งคือที่มาสัมการ E =MC2”!
การค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพนี้เอง...
เป็นสิ่งบอกเหตุบางประการปรากฏชัดขึ้นมา บ่งชี้ให้เข้าใจได้ว่า “มีเรื่องพื้นฐานเบื้องต้นบางอย่างในวิชาฟิสิกส์แบบเดิมยุคของนิวตันที่ผิดพลาดไป” โดยเฉพาะในหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องของ “สสาร...แรง..เวลา...และพลังงาน” โฉมหน้าแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก “เป็นการปฏิวัติความคิดทางวิทยาศาสตร์ครั้งที่สำคัณที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว”!
โยเฉพาะอย่างยิ่ง...
ในเรื่องของ “กรอบแห่งขอบเขตและเวลา ซึ่งนิวตันได้เคยตั้งเป็นกฏสากลไว้นั้น” ยังไม่ถูกต้อง สำหรับไอน์สไตน์แล้วกรอบแห่งขอบเขตและเวลา ตามกฏสากลของนิวตันนั้นเป็นเพียงสิ่งที่เรียกว่า “กรอบสัมพัทธ์...มิใช่เรียกว่า...กรอบสัมบูรณ์” กล่าวคือ การตกหล่นของแอปเปิลลงสู่พื้นโลกนั้น “แท้ที่จริงแล้วมันเป็นแค่เพียงการตกหล่นภายในกรอบสัมพัทธ์ของโลกเท่านั้น”
แต่ในกรอบของจักรวาล...
อาจจะไม่เกิดความแตกต่างเลย “ระหว่างผลแอปเปิลบนต้นกับที่หล่นลงบนพื้นโลก” ซึ้งตรงนี้เป็นอะไรที่จริงลึกซึ้งลงไป “ยิ่งกว่ากฏเกณฑ์เรื่องแรงโน้มถ่วงสากลและกรอบของมันตามที่นิวตันเคยกล่าวไว้” ทฤษฎีสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ ได้กล่าวถึง “กรอบสัมบูรณ์ไว้โดยให้ความเร็วของแสง...เป็นสิ่งที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นที่สุดแห่งกรอบอ้างอิงของจักรวาล” จากกรอบอ้างอิงอันไกลโพ้น “จึงถือเป็นกรอบสัมบูรณ์”!
ในเวลาต่อมา...
ก็ได้มีการนำหลักการและกรอบอ้างอิงนี้ ไปใช้ในวิชาที่ว่าด้วย “จักรวาลสเกล” (COSMOLGY) จากสิ่งที่ครอบคลุมจักรวาล ไอน์สไตน์ยังได้ให้คำตอบที่อธิบายที่ทำให้เราเข้าถึงสิ่งที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า “ทฤษฎีอะตอม” (ATOMICTHEORY) และจากปรากฏการณ์ไฟฟ้าอันเนื่องจากแสงหรือ “โฟโตอิเล็กทริก เอฟเฟ็กต์” (PHOTOELECTRIC EFFECT) ที่ไอน์สไตน์ได้ให้คำอธิบายค่อนข้างชัดเจน “ได้เปิดศักราชของทฤษฎีวอนตัม...และทำให้นักฟิสิกส์ยุคใหม่ได้รู้จักอิเล็กตรอนมากขึ้น” แล้วได้นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องรับโทรทัศน์, เตาไมโคเวฟ, สัญญาณเรดาร์, ระบบเลเซอร์และไมโครชิป อื่นๆ
ทฤษฎีสัมพัทภาพและควอนตัม!
เมื่อรวมกันแล้วจะสามารถกล่าวได้ว่า “เป็นทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง” (THEORY OF EVERYTHING) ซึ่งสามารถที่จะอธิบาย “การถือกำเนิดของจักรวาล” และสัมพันธ์ไปถึง “ทฤษฎี
บิกแบง” (BIG BANG THEORY) ที่สำคัญยิ่งทางดาราศาสตร์อีกด้วย “สัมพันธภาพและควอนตัม”!
เป็นคำที่นักิวทยาศาสตร์ในแขนง “ฟิสิกส์ยุคใหม่หรือโมเดอร์นฟิสิกส์” จะต้องรู้จัก เพราะทุกๆ คนล้วนกำลังดำเนินรอยตาม “บิดาแห่งพฟิสิกส์ยุคใหม่คือไอน์สไตน์ผู้นี้ในทุกๆเรื่อง”
รวมแม้กระทั่ง...
แนวคิดที่แนบแน่นไปกับศาสนามาโดยตลอด!
ซึ่งไอน์สไตน์ :-
ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ผลงานวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย คือ ความเชื่อมั่นศรัทธา” ดังคำกล่าวของเขาที่ว่า... “นักวิทยาศาสตร์ที่จริงจังมุ่งมั่นทุกคนจะต้องมีแรงดลใจที่ได้จากความเชื่อมั่น และความศรัทธาในศาสนา”!... (QUOTED BY GERHSRD STAGUHN : GOD ‘S LAUGHTER, 1992)
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง...
ในช่วงระยะหลังมานี้นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ระดับแนวหน้าของโลกทั้งหลาย “ต่างก็หันมาค้นคว้าเรื่องจิตอย่างจริงจัง” ตามแนวความคิดของไอน์สไตน์ที่เชื่อว่า...
“จักรวาลมีขึ้นและดำรงอยู่ได้ก็เพราะว่า มีชีวิตและมีจิตของมนุษย์ร่วมอยู่ในจักรวาลร่วม (PARTICIPATORY UNIVERSE) อย่างแท้จริง! เช่นเดียวกันกับนีลส์ บอห์ร (NIELS BOHR) นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังชาวเดนมาร์กที่ก็เชื่อว่า “ถ้าไม่มีมนุษย์...ไม่มีจิต...จักรวาลก็มีขึ้นมาไม่ได้!”
(ปริศนาจักรวาล โดย น.พ. ประสาน ต่างใจ)