โฆสกะ (๑๗) ความอาฆาตของเศรษฐี

วันที่ 06 มิย. พ.ศ.2554

 

               พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลใดทำร้ายผู้ที่ไม่ทำร้ายตอบ ย่อมได้รับผล ๑๐ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ

 

๑.   ถึงเวทนาอันหยาบ คือ มีความทุกข์กายมาก
๒.   ความเสื่อม
๓.   ความแตกแห่งสรีระ เช่น ได้รับอุบัติเหตุ
๔.   ความเจ็บไข้อย่างหนัก
๕.   ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
๖.   ความขัดข้องแต่พระราชา
๗.   ความกล่าวตู่อย่างทารุณ (ถูกใส่ความอย่างรุนแรง)
๘.   ความเสื่อมรอบแห่งหมู่ญาติ
๙.   ความย่อยยับแห่งโภคะ, อีกประการหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของผู้นั้น
๑๐. เมื่อตายไป เขาผู้มีปัญญาทรามนั้นย่อมเข้าถึงนรก

 

               ทั้งๆ ที่ป่วยอยู่อย่างนั้น กุศลจิตหรือความคิดได้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นกับเศรษฐีเลย มีแต่คิดจะหาทางฆ่าโฆสกะให้ได้อยู่ตลอดเวลา

 

               (ความโลภไม่ดีเลย ความโกรธไม่ดีเลย เพราะโลภแท้ๆ จึงทำให้มีความโกรธตามมาเผาผลาญใจอยู่ตลอดเวลา นี่ขนาดไม่ได้โลภเพื่อตนเอง แต่ทำไปเพื่อลูก ไม่ว่าจะทำเพื่อใคร แต่ทั้งบุญและบาป ตนเองก็จะต้องเป็นผู้รับผลนั้นๆ)

 

               เวลาผ่านไปๆ กระทั่งโฆสกะเริ่มโตเป็นวัยรุ่น และแล้ว ความคิดชั่วๆ ของเศรษฐีก็ผุดขึ้นมาอีก คราวนี้เศรษฐีเขียนจดหมายถึงคนเก็บส่วยของตนว่า “ไอ้เจ้าเด็กหนุ่มคนนี้เป็นลูกชั่วของเรา จงฆ่ามันแล้วเอาศพหมกหลุมส้วมเสียเลย เมื่อทำงานเสร็จ เราจะให้รางวัลเจ้าอย่างงาม” แล้วเรียกโฆสกะมาบอกว่า “โฆสกะ เอาจดหมายนี่ไปให้คนเก็บส่วยของฉันที” แล้วเอาจดหมายผูกไว้ที่ชายผ้าของโฆสกะ

 

               โฆสกะนั้นไม่รู้หรอกว่า หนังสือเขียนไว้อย่างไร เพราะเศรษฐีไม่ได้รักตน จึงไม่ได้ให้เรียนหนังสือ

โฆสกะถามว่า    “พ่อ บ้านคนเก็บส่วยอยู่ตั้งไกล พ่อให้เขาเตรียมเสบียงให้ผมด้วยนะครับ”
เศรษฐี              “เฮ่ย ไม่ต้องหรอก บ้านเศรษฐีเพื่อนพ่ออยู่ระหว่างทางพอดี เอ็งแวะไปค้างที่นั่นสักคืนหนึ่ง บอกเขาว่าเป็นลูกข้า เดี๋ญวเขาก็จะต้อนรับดูแลเอ็งอย่างดี รีบๆ ไปเถอะ เดี๋ยวจะไปถึงมืดค่ำ” (ที่พูดนี่ไม่ได้ห่วงหรอก แต่อยากให้ไปตายเร็วๆ) โฆสกะก็ไหว้เศรษฐี แล้วออกเดินทาง

 

               (สังคมสมัยก่อน ก็มีข้อดีอยู่อย่างนี้ คือ เมื่อเด็กๆ จะออกจากบ้าน เช่น ไปเรียนหนังสือ จะต้องไหว้พ่อแม่และผู้ใหญ่ในบ้าน กลับมาแล้วก็ไหว้เช่นกัน หรือถ้าตัวเด็กเองอยู่บ้านก็จะไหว้ผู้ใหญ่ตอนท่านออกไปและตอนท่านกลับเข้ามา ถ้าสังคมไทยเป็นอย่างนี้ทุกครัวเรือน เด็กรุ่นต่อๆ ไปก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นทางมาแห่งบุญ และเป็นที่น่ารักสำหรับผู้พบเห็น

 

               พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญขึ้นแก่บุคคลผู้มีการกราบไหว้ มีความอ่อนน้อมอยู่เป็นนิจต่อท่านผู้เจริญ เจริญด้วยวัย คือมีอายุมากกว่า เจริญด้วยคุณ คือมีคุณธรรมความรู้สูงกว่า อย่างนี้เป็นต้น)

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012586883703868 Mins