อภิญญา 6

วันที่ 31 พค. พ.ศ.2557

 

อภิญญา 6

           เป็นความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา 6 ประการ โดยเฉพาะประการที่ 6 จะไม่มีปรากฏ
อยู่ในลัทธิอื่น นอกจากพระพุทธศาสนา อภิญญา 6 ประการ เป็นความรู้ที่เกิดจากพลังใจที่สูงส่ง ที่เป็น
ผลพลอยได้จากการทำสมาธิในระดับสูง ท่านเปรียบเสมือน "การซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วได้ของแถมเพิ่มมาอีก2" ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นจากการพันาคุณภาพจิตใจของมนุษย์ให้บริสุทธิ์ยิ่งๆขึ้นไปอภิญญา3 ทั้ง 6 ประการนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้หลายแห่ง แต่ในที่นี้จะได้นำเอาเนื้อหาในส่วนที่พระพุทธองค์ตรัสให้แนวทางแก่พระวัจฉะ ถึงผลของการทำสมาธิที่จะเจริญตามลำดับขั้นของความบริสุทธิ์ของใจดังต่อไปนี้คือ


          ประการที่ 1 เมื่อใจบริสุทธิ์ถึงขั้นหนึ่ง จะบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปก็ได้ ไปไม่ติดขัดดุจไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้


          ประการที่ 2 จะฟังเสียงทั้ง องคือเสียงทิพย์และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยหูทิพย์
อันบริสุทธิ์ ที่เกินกว่าหูของมนุษย์จะฟังได้


          ประการที่ 3 จะกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วย คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ
รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่
รู้ว่าจิตหดหู่หรือจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นใหญ่ รู้ว่าจิตเป็นใหญ่ หรือจิตไม่ใหญ่ รู้ว่าจิตไม่เป็นใหญ่จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น


           ประการที่ 4 จะระลึกชาติก่อนได้มาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง องชาติบ้างสามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้างสิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง ี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
1สามัญญผลสูตร, ทีฆนิกาย ีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 ข้อ 131134 หน้า 326328.
2 พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว), พระแท้, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร  บริษัท ศิริวันาอินเตอร์พริ้นท์จำกัด (มหาชน), 2545), หน้า 210.
3 มหาวัจฉโคตตสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณา ก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 261266 หน้า 464466.
บทที่ 6 ปรสะโยชน์ของสมาธิในพระพุทธศาสนา  79  
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายๆ กัปบ้าง ในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีอายุเพียงเท่านั้น ตายจากชาตินั้นแล้ว ได้ไปเกิดในชาติโน้นแม้ในชาตินั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร(ตระกูล)อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นได้รับสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีอายุเท่านั้น จุติจากชาตินั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้

          ประการที่ 5 จะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังตาย กำลังเกิด อยู่ใน ภาพที่เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์ที่บริสุทธิ์ ล่วงดวงตาของมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ ประพฤติชั่วทั้งทางกาย วาจาและใจ ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกส่วนสัตว์เหล่านี้ประพฤติดีทั้งทางกายวาจาและใจ ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตาย เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ประการที่ 6 จะหมดกิเล ด้วยปัญญาของตนเอง ดังนั้นเราจะเห็นถึงอานุภาพของใจที่มีพลังย่อมกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้มาก ซึ่งการที่เราแค่เพียงเริ่มทำสมาธิ เราก็สามารถสัมผั ได้ถึงการเริ่มต้นไปสู่ความรุ่งเรืองของชีวิต เราจึงไม่ควรละเลยที่จะทำสมาธิทุกๆ วัน เพื่อให้ชีวิตของเราเข้าถึงความ สมบูรณ์เหมือนดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่ท่านได้เข้าถึงกันมาแล้ว

จากหนังสือ DOU

วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0075365503629049 Mins