พระพุทธรูป "บามิยัน"

วันที่ 15 มิย. พ.ศ.2558

 

พระพุทธรูป

 

พระพุทธรูปยักษ์ในอัฟกานิสถาน ฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องฉาย 3D 


พระพุทธรูป "บามิยัน" หรือถ้าเรียกแบบไทยๆ ก็คงเป็น "หลวงพ่อโต บามิยัน" เป็นพระพุทธรูปโบราณขนาด
ยักษ์ ในช่องผาของภูเขาในอัฟกานิสถานซึ่งถูกกลุ่มตาลีบันกองกำลังที่เคร่งศาสนาทำลายไปเมื่อครั้งที่เข้ายึดและปกครองประเทศ ด้วยการยิงปืนใส่และใช้รถขุด
ทุบทำลายจนราบเรียบไปเป็น
เวลาถึง 14 ปีแล้ว
 
ล่าสุดได้ถูกทำให้ปรากฎขึ้น
ใหม่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยใช้เทคโนโลยีการฉายภาพ 3 มิติ

ผู้ดำเนินการงานนี้เป็นสองสามีภรรยาชาวจีน ชื่อ Janson Yu และ Liyan Hu พวกเขาได้ใช้การนำเสนอด้วย
เทคโนโลยีเครื่องฉายภาพแบบสามมิติที่มีกำลังสูงมาก ฉายเข้าไปในช่องเขา ณ จุดที่พระพุทธรูปบามิยันเคยตั้งอยู่ ในยามกลางคืน ทำให้ได้ภาพที่ปรากฎออกมา
เหมือนกับพระพุทธรูปองค์เดิมยังคงอยู่ และอยู่ในสภาพใหม่เอี่ยม คือใหม่กว่าก่อนถูกทำลายเสียอีกไม่มีริ้วรอยความเสื่อมของกาลเวลาเลย

เครื่องฉายสามมิติดังกล่าวราคาสูงถึง 120,000 ดอลล่าห์ ซึ่งสามีภรรยาชาวจีนคู่นี้ได้
บริจาคให้ซึ่งพวกเขาเสียใจกับการทำลายดังกล่าวเมื่อปี 2001

 ก่อนการดำเนินการครั้งนี้ พวกเขาได้ขออนุญาตจากยูเนสโกและรัฐบาลอัฟกานิสถานเพื่อทำโครงการนี้

 มีชาวบ้านในท้องถิ่นราว 150 คนมาชม ซึ่งการฉายภาพยามกลางคืนก็
จะมีการเปิดเพลงประกอบไปด้วย ว่าไปก็เป็นลักษณะงานแสดง
แสงสีเสียงเหมือนกับที่บ้านเราทำ เพียงแต่ไม่มีการแสดงละคอน
ของคนและฉากยิงฉากระเบิด
ต่างเข้าไปประกอบนั่นเอง 

พระพุทธรูปแห่งบามียัน เป็นพระพุทธรูปยืนจำนวนสอง
องค์ที่สลักอยู่บนหน้าผาสูงสองพันห้าร้อยเมตรในหุบผาบามียาน ณ จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอน
กลางของประเทศอัฟกานิสถาน อันห่างจากกรุงคาบูลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ
สองร้อยสามสิบกิโลเมตร
 หมู่พระพุทธรูปนี้สถาปนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 ตามศิลปะแบบกรีกโบราณ

หมู่พระพุทธรูปนี้ถูกทำลายด้วยระเบิดไดนาไมต์เมื่อเดือน
มีนาคม พ.ศ. 2544 ตามคำสั่งของนายมุลลอฮ์ มุฮัมมัด อุมัร ประมุขของรัฐบาลตอลิบาน ซึ่งให้เหตุผลว่ากฎหมายอิสลามไม่อนุญาตให้บูชารูปเคารพ
 ในขณะที่นานาประเทศต่างการประณามการกระทำของรัฐบาลตอลิบานอย่างรุนแรง เพราะหมู่พระพุทธรูปนี้มิใช่
สมบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
แต่เป็น "มรดกโลก" อันเป็นสาธารณสมบัติและความภาคภูมิใจของคนทั้งโลก

โดยญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์
ร่วมใจกันสนับสนุนให้มีการ
สถาปนาพระพุทธรูปนี้อีกครั้งหนึ่ง

ปีก่อนหน้านี้ ทางบีบีซีเคยสัมภาษณ์นาย เมียร์ซา ฮุสเซน หนึ่งในผู้ที่ถูกทางกลุ่มตอลีบานบังคับให้ทำลายพระพุทธรูปบามิยัน

 เขากล่าวในตอนหนึ่งว่า "ผมเสียใจทั้งในตอนนั้น เสียใจในตอนนี้ และจะเสียใจร่ำไป" "แต่ผมก็ต่อต้านอะไรไม่ได้ ผมไม่มีทางเลือก เพราะถ้าไม่ทำพวกเขาก็จะฆ่าผม"

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.049178302288055 Mins