ฉบับที่ 92 มิถุนายน ปี2553

ธุดงค์ธรรมชัย เดินสู่เป้าหมายฟื้นฟูศีลธรรมโลก

เรื่องเด่น

เรื่อง : พระสมศักดิ์ จนฺทสีโล




          น่าปลาบปลื้มปีติ ที่ภาพดี ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมดี ๆ ได้ปรากฏขึ้นในสังคมไทย และทำให้คนไทยหรือแม้จะเป็นคนทั่วโลกที่ได้เห็นภาพนี้ ก็ย่อมพลอยมีจิตยินดี มีจิตอนุโมทนา และอยากจะให้เกิดขึ้นอีก เพราะบัดนี้เรื่องของพระพุทธศาสนาหรือ การสอน ตลอดจนเรื่องการปลูกฝังศีลธรรม จะมีใช่ เรื่องน่าเบื่อหรือเป็นเรื่องซ้ำ ๆ จำเจต่อไปอีกแล้ว ดังเช่น การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็นเรื่องสูงส่งแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ดีงามที่ทั้งผู้บวชและผู้คนทั่วไปสามารถสัมผัสถึงความดีงาม นั้นได้ โดยเฉพาะเรื่องกิจกรรมการเดินธุดงค์ของพระภิกษุสงฆ์ ที่ท่านได้จาริกไปยังที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงทำให้เกิดภาพที่เห็นถึงความประเสริฐที่เรียกว่า "ทัสนานุตริยะ" แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่สังคม ประเทศชาติ ตลอดจนสังคมโลก





ภาพการเดินธุดงค์ของพระภิกษุสงฆ์ที่จาริกไปยังที่ต่าง ๆ นับเป็นภาพ
อันประเสริฐที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาสแก่สังคมโลก

ธุดงค์ องค์แห่งผู้บำเพ็ญเพียร

          แม้ตามความหมาย ธุดงค์ หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส ๑๓ ข้อ ที่นิยมปฏิบัติในเหล่าพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่อาจจะไม่กล่าวถึงการออกเดินจาริกไปในที่ต่าง ๆ โดยตรง แต่โดยวัตรปฏิบัติของนักบวช นอกจากจะ ปฏิบัติดีเพื่อยังประโยชน์ให้แก่ตนแล้ว ย่อมหวังที่จะยังประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การออกเดินบิณฑบาต การปฏิบัติธรรมจาริกออกสั่งสอนโปรดชาวโลก หรือแม้แต่การถือกลดออก เดินจาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ ยึดถือวัตรปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือหลาย ๆ ข้อ ในธุดงควัตร ๑๓ ข้อ มาเป็นวัตรปฏิบัติของตนในช่วงเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ในสังคมไทยมักนิยมเรียกกิจกรรมนี้ว่า "พระเดินธุดงค์" ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ที่ยังความปลาบปลื้มอนุโมทนาแก่ชาวโลกทั้งหลาย ดังเช่นภาพของพระเดินจาริกไปในที่ต่าง ๆ ที่ได้เคย ปรากฏมาแล้วแต่ครั้งสมัยพุทธกาล ที่ผู้คนชาวเมือง ใหญ่น้อย ต่างได้เห็นพระพุทธลีลาแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จดำเนีนหน้า เหล่าพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ออกโปรดสัตว์ตามเมือง ต่าง ๆ และพระองค์ก็ทรงกระทำเช่นนี้ติดต่อกัน ถึง ๔๕ พรรษา หลังจากการตรัสรู้ เพื่อออกเผยแผ่ พระอริยสัทธรรม จนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในที่สุด และในปัจจุบันนี้ เรากำลังมีความหวังว่าบรรยากาศดุจดั่งสมัยพุทธกาลกำลังจะหวนกลับมา อีกครั้ง




การเดินธุดงค์คือวัตรปฏิบัติของนักบวช นอกจากจะปฏิบัติดีเพื่อยัง
ประโยชน์ให้แก่ตนแล้ว ย่อมหวังที่จะยังประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นด้วย

ธุดงค์ธรรมชัย

ก้าวไปสู่ครรลองคลองธรรม

          พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นพระธรรมทายาทจากหลายรุ่นและจากหลายโครงการที่กำลังจัดขึ้นของ วัดพระธรรมกายและวัดต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์อบรมทั่วประเทศ นอกจากท่านจะได้รับการฝึกฝนอบรมและหล่อหลอมให้เข้าถึงความเป็นพระแท้แล้วก็ตาม สิ่งหนึ่งที่พระภิกษุทั้งหลายต่างรอคอยและเฝ้าฝันว่าจะกระทำให้ได้สักครั้งในชีวิตก็คือ "การออกเดินธุดงค์" เพราะไม่เพียงจะเป็นความท้าทายต่อกำลังกายและกำลังใจที่จะออกเดินธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ เท่านั้น ยังเป็นการตอกย้ำให้ซาบซึ้งถึงชีวิตของความเป็นพระ ผู้อยู่ง่าย กินง่าย ฝึกฝนอดทนบำเพ็ญตบะ มุ่งจะอยู่แบบพระ ปฏิบัติแบบพระ และแม้จะสุข ก็ "สุขแบบพระ" และแม้จะรู้ว่า การออกเดินธุดงค์จะต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่เคยพบมาก่อนในชีวิต ทั้งเรื่องความไม่สะดวกสบายในความเป็นอยู่ หรือต้องพบกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เหมือนกับศูนย์ฝึกอบรม แต่ทุกรูปล้วนมีความมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่ท้าทายให้สำเร็จลงอย่างไม่ยอมแพ้หรือท้อถอย

พระธุดงค์มาแล้ว

คือเนื้อนาบุญแก้วของญาติโยม

          ทุกสถานที่ที่พระธุดงค์จาริกไปถึง ล้วนแต่สร้าง ความตื่นตาตื่นใจให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่า หรือแม้แต่พระสงฆ์ที่พำนักอยู่ในวัดต่าง ๆ ตามราย ทางที่เดินผ่าน เช่น บางวัดทางภาคอีสาน ซึ่งเป็นช่วงที่ทางวัดกำลังเตรียมงานบุญผะเหวด (พระเวส) ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของวัด เจ้าอาวาสถึงกับเลื่อนเวลาจัดงานให้เร็วขึ้น เพื่อที่พระธุดงค์จะได้ อยู่เป็นเนื้อนาบุญให้ญาติโยม ท่านบอกว่า การที่มีเนื้อนาบุญมาเยอะขนาดนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก มีพระธุดงค์มาครั้งเดียวเหมือนกับได้นิมนต์พระมาทั่วทั้งอำเภอเลย บรรยากาศงานบุญในปีนี้ของวัดจึงดูคึกคักกว่าทุกปี และมีชาวบ้านมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก





รอล้างเท้าและถวายภัตตาหาร

อลังการงานบุญ

          บางแห่งพอพระธุดงค์เดีนทางไปถึง พระธุดงค์ถึงกับลืมเหนื่อยกันไปเลย ทั้ง ๆ ที่เดินทางมาอย่าง เหน็ดเหนื่อยหายใจกันแทบไม่ทัน เพราะมีญาติโยม มารอรับคับคั่งมากกว่า ๒๐๐ คน เพื่อรอล้างเท้า เช็ด เท้าพระธุดงค์ และหลังเช็ดเท้าก็นิมนต์พระธุดงค์ ไปยังศาลาที่พร้อมพรั่งด้วยภัตตาหารเพลที่เตรียมรอถวาย แต่หลายรูปกลับฉันกันได้น้อย เพราะอิ่มอก อิ่มใจกับศรัทธาญาติโยม บางรูปบอกว่ารู้สึกตาลาย กับภัตตาหารมากมายอลังการจนไม่รู้ว่าจะฉันอะไรดี

          บางแห่งเมื่อพระธุดงค์มาถึง บรรดาเด็กดี V-Star จากโรงเรียนในพื้นที่นั้น ๆ ได้มารอต้อนรับ พระธุดงค์ พอก้าวแรกของพระธุดงค์จรดลงตรงหน้า นักเรียนชายตัวน้อย ๆ ก็ก้มลงกราบอย่างนอบน้อม แล้วบรรจงล้างเท้าท่านด้วยสองมือน้อย ๆ ก้าวต่อไป ก็จะพบเด็กชายประคองผ้าเพื่อเช็ดเท้าท่านอีก และ ก้าวต่อไปก็จะมีดอกดาวเรืองสว่างไสว ที่นักเรียนหญิงตัวน้อยโปรยปรายเต็มทางเดิน นับเป็นภาพที่สร้างความปลาบปลื้มใจ ทำให้พระธรรมทายาท หายเหนื่อยเป็นปลิดที้ง ผู้ใหญ่ใจดีก็ปลื้มใจ เสมือน เป็นสัญญาใจว่าจะช่วยกันฟื้นฟูศีลธรรม และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวตลอดไป








พระธุดงค์ผู้ยิ่งใหญ่

หัวใจนักพัฒนา บูรณะวัดให้รุ่งเรือง

          การเดินทางของพระธุดงค์ได้พบสภาพที่ต่าง ทั้งพื้นที่และต่างรูปแบบ เช่น บางแห่งเป็นวัดที่มีสภาพ ทรุดโทรมเก่าคร่ำคร่า พระธุดงค์ผู้เป็นธรรมทายาท หัวใจนักพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในภารกิจเห็นสภาพวัดแล้ว ฉันภัตตาหารเสร็จก็ช่วยกันล้าง ช่วยกันขัดโบสถ์ เทพื้นปูนห้องน้ำใหม่ และบางแห่งยังได้รับความร่วมมืออย่างดีจากนายก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านมาช่วยกันตั้งแต่บ่ายจนค่ำ ทำให้ชาวบ้านเกิดศรัทธาแห่กันมาฟังธรรม และประพฤติปฏิบัติธรรม ไม่อยากให้พระธุดงค์ไปไหน อยากจะให้ ท่านอยู่ต่อ จนแม้เช้ารุ่งขึ้นก็ช่วยแต่งแต้มสีใหม่ให้อุโบสถและบริเวณโดยรอบ ช่วงระยะเวลาไม่ถึง ๒ วัน โครงการเร่งรัดก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ การเนรมิตวัดใหม่ให้ชาวบ้าน ส่วนทางฝ่ายพระธุดงค์ ท่านก็ปลื้มปีติใจ ที่ได้มาบวชและได้ออกเดินธุดงค์ ไปโปรดญาติโยม พร้อมทั้งได้ใช้ความรู้ความสามารถ ที่มีไปช่วยพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์วัด ได้ทำประโยชน์ ให้เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่า พระธุดงค์ คือ ที่พึ่งของชาวโลก เพราะเดินธุดงค์ไปถึงไหน ความสุขจะติดตามไปยังทิศนั้น







บุญตา..ที่ได้เกิดมา

เห็นพระเดินธุดงค์

          การธุดงค์ครั้งนี้นอกจากจะทำให้วัดวาอารามต่าง ๆ สะอาดสว่างไสวแล้ว ยังได้ปลูกศรัทธาความรักในพระพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นในดวงใจของญาติโยมอีกด้วย เช่น ในตอนเช้าเมื่อพระธุดงค์ออกบิณฑบาตก็สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ชาวบ้าน เพราะภาพพระธุดงค์ที่เดินสายบิณฑบาตบางสายเป็นทางยาวกว่า ๕๐ รูป ด้วยอาการสงบ สง่างาม สะกดทุกดวงใจ ชาวบ้านพากันออกมานั่งพนมมือรอใส่บาตรที่หน้าบ้านอย่างปีติเบิกบานใจ ผู้เฒ่าผู้แก่ บางท่านก็บอกว่า "เป็นบุญตาเหลือเกินที่ได้มาเห็นภาพแบบนี้ เกิดมาชาตินี้คุ้มแล้วที่ได้ใส่บาตรกับ พระดี ๆ เป็นพระแท้แบบนี้ ทุกรูปดูงดงาม น่าเลื่อมใส จริง ๆ" และแทบทุกวันมีชาวบ้านออกมาใส่บาตรกันแทบทุกบ้าน ทุกครัวเรือน จนทำให้บางแห่งมีอาหารตักบาตรมากมาย ต้องใช้รถกระบะถึง ๔ คัน ขนอาหารตักบาตรกลับวัด และที่ทำให้เกีดภาพแห่ง ความประทับใจอย่างสุด ๆ คือ บางวัดพอพระธุดงค์ มาถึง ชาวบ้านต่างก็ชวนกันมาสวดมนต์กันหมดทุกหลังคาเรือน ตื่นตัวกันมากจนผู้ใหญ่บ้านบอก ว่า ตั้งแต่บูรณะวัดนี้มาไม่เคยเห็นชาวบ้านตื่นตัว กับการทำบุญมากขนาดนี้เลย ชวนให้มาสวดมนต์ก็มากัน ๒๐๐ กว่าคน ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ปิดหมู่บ้าน มาเลย ปกติจะติดละครทีวีกัน แต่ตอนนี้กลับมาดู พระธุดงค์แทน





อย่าเพิ่งตาย

ต้องบวชเป็นพระให้ได้เสียก่อน

          แม้จะเป็นเพศชายที่เป็นผู้ได้โอกาสที่จะ บวช แต่ก็ไม่แน่เสมอไปที่จะใช้โอกาสดีเช่นนี้เข้าสู่เพศสมณะได้ เพราะบางคนแม้จะมีความปรารถนา อย่างแรงกล้า แต่ถ้ามรณภัยเข้ามาเยือน ก็ทำให้เสียโอกาสอันดีของชีวิตนี้ไปอย่างน่าเสียดาย ดังเช่น บันทึกของน้องชายคนหนึ่งที่เล่าถึงพี่ชายของตนตอนหนึ่งว่า "ไม่มีใครในครอบครัวเราคาดคิดเลยว่า พี่ชายของผมจะจากไปกะทันหันด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เช่นนี้ ..มันช่างรวดเร็วและช่างรวดร้าวเกีนกว่า จะทำใจ ความโศกเศร้าอาดูรมันจีกกีนความรู้สึกของคนในครอบครัวเราทุกคน มันช่างเป็นช่วงชีวิตที่ประดุจคืนเดือนมืดสนิท ..เหมือนคืนวันที่ขอบฟ้าร้าว แยกผืนดินให้จากกันชั่วนิจนิรันดร์ ..แม้การตาย ของพี่ชายผมจะผ่านไปนานถึง ๒ ปี ๕ เดือนแล้ว แต่ความคิดถึงลูกชายของพ่อและแม่ ก็ไม่ได้ลดน้อยลงเลย ยังคงกึกก้องอึงอลในใจตลอดเวลา แม้อนาคตของพี่ชายผมจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่แม่และพ่อยังมีภาพอดีตของพี่ชายผมที่ถูกรื้อฟื้นในใจภาพแล้วภาพเล่า ไม่ว่า แม่จะดูรูปถ่ายหรือเห็นอะไรของพี่ชาย ก็ทำให้น้ำตาไหลรินออกมาได้ตลอดเวลา ความทุกข์มันสุมอยู่ในอกอย่างสับสนเหมือนคนบ้าที่ไม่กล้าแสดงออก เพราะพี่ชายของผมรักและผูกพันกับแม่มากที่สุด เขาเคยบอกพ่อและแม่บ่อย ๆ เสมอ ๆ ว่าอยากบวชพระให้พ่อกับแม่ เพราะเป็นบุญสูงสุดที่ลูกชายเท่านั้นจะทำให้พ่อกับแม่ได้ พี่ชายผมตายตอนเขาอายุครบบวช คือ ๒๐ ปีพอดี ซึ่งจริง ๆ ถ้าเขาบวชเร็วอีกสักนิด รถพิกอัปแล่นช้า กว่านี้อีกสักหน่อย เขาอาจจะไม่ตายก็ได้ ...สุดท้ายนี้ผมอยากบอกชายแมนแมนทุกคนว่า จงใช้โอกาสแห่งความเป็นชายบวชให้ได้ ก่อนจะไม่มีโอกาสได้ใช้นะครับ"

          จากเรื่องราวและประสบการณ์ของพระเดินธุดงค์นี้ แม้บางเรื่องอาจจะต้องแลกมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยและลำบาก และกว่าจะได้บันทึกเป็นตัวอักษรไว้แต่ละบรรทัดด้วยเนื้อความสั้น ๆ ดังที่กล่าวมานี้ ล้วนแล้วแต่จะต้องเค้นและกลั่นมาจากเหตุการณ์ที่ใช้เวลาที่ยาวนาน โดยเฉพาะเรื่องราวที่สำคัญเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เพราะบางครั้งเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านเลยไป ยากจะเกิดซ้ำรอยเดิม หรือ อาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยก็ได้ แต่หากจะเหลือไว้ก็เป็นเพียงความทรงจำที่ท้าทายให้ลูกผู้ชายตัวจริง ได้ลองมาสัมผัสกับชีวิตของการเป็นพระธุดงค์... เพราะการบวชแม้เพียง ๑ พรรษา ก็สามารถสร้างคุณค่าให้ได้ตลอดทั้งชีวิตทีเดียว...


คำอธิบาย

ธุดงควัตร

          ธุดงควัตร หมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต มี ๑๓ วิธี จัดเป็นข้อสมาทานละเว้นและข้อสมาทานปฏิบัติ คือ

          ๑.ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบคีใช้ สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาที้งแล้ว

          ๒.เตจีวริกังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน ๓ ผืน

          ๓.ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ สมาทานเที่ยวบิณฑบาต เป็นประจำ

          ๔.สปทานจาริกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขา-จาร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต

          ๕.เอกาสนิกังคะ ละเว้นอาสนะที่สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว)

          ๖.ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ ๒ ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทานฉันเฉพาะในบาตร

          ๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทาน เมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม

          ๘.อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล ๕๐๐ ชั่วคันธนู หรือราว ๑ กิโลเมตร

          ๙.รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่น บ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน

          ๑๐.อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือ แม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุงใด ๆ

          ๑๑.โสสานิกังคะ ละเว้นการอยู่ในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า

          ๑๒.ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ ผู้จัดเสนาสนะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น

          ๑๓.เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง อิริยาบถยืน อิริยาบถเดิน เพียง ๓ อิริยาบถ ไม่อยู่ในอิริยาบถนอน

อ้างอีง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรม

เพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๘

 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล