ฉบับที่ 81 กรกฎาคม ปี2552

เป้าหมายการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกาย

พระธรรมเทศนา

 

  

 


 

 คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์

       เรื่องที่ ๒ เมื่อหลวงพ่อมองภาพรวมของทั้งโลกทั้งประเทศแล้วว่า มีคนในระดับบน ๔ กลุ่มคนในระดับล่าง ๓ กลุ่ม ก็มาพบว่ายังไม่พอ จึงต้องมาเขียนมาเทศน์ เรื่องทิศ ๖ อีกหลายปี แล้วกลายมาเป็นหนัง คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ๒ เล่มโต ๆ

            เอามาใช้สำหรับให้คุณครูสอบ จากนั้นจึงเอาคัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์มา รูปเป็นชาร์ตแผ่นโต ๆ ไปติดไว้ติดที่บ้านและที่โรงเรียน ให้คุณครูได้เอาคัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ที่เอามาสอบแล้วนั้น ทบทวนอีกครั้ง แล้วมาจ้ำจี้จ้ำไช ให้เด็กปฏิบัติตามนั้นให้ได้

       เพราะแม้เราจะมองทั้งประเทศออก แต่ถ้ามองทิศ ๖ ของตัวเองไม่ออก จะแก้ไขสังคม ชุมชนที่ตัวเองอยู่ไม่ได้ แม้แต่การปลูกฝังศีลธรรมของเยาวชนทั้งประเทศก็จะทำไม่ได้ ถ้าทำไม่สำเร็จบั้นปลายชีวิตของเราก็อย่าหวังว่าจะอยู่เป็นสุข เพราะลูกหลานก็จะทำหน้าที่ประจำทิศ ๖ ของตัวเองไม่ถูก

 


         แต่ถ้าเราเข้าใจทิศ ๖ แล้วปฏิบัติตามทิศ ๖ได้เป็นอย่างดีแล้ว เราจะสร้างสังคมผู้ใหญ่ขึ้นมาโดยเฉพาะพ่อ แม่ ครู และพระ หรือบ้าน วัดโรงเรียน ที่เป็นมาตรฐานขึ้นมา แล้วจะทำให้ลูกหลานของเราซึ่งโตขึ้นมาในภายหน้า มีผู้ใหญ่เป็นต้นแบบศีลธรรมให้เขาดู แล้วเขาจะปฏิบัติตามนั้นเพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่ได้อ่านคัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์๒ เล่ม ช่วยไปอ่านด้วย

ภาคผนวกคัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์

            การปฏิรูปมนุษย์หมายถึงอะไร
            การปฏิรูปสิ่งใดก็ตาม ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่ดีให้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นโทษให้เป็นคุณ การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ล้าสมัยให้เป็นสิ่งที่ทันสมัย ที่สำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่
ผิดให้ถูกต้อง เหมาะ ดีงาม ดังนั้นสาระสำคัญของการปฏิรูปมนุษย์จึงอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ผิด
หรือไม่ดีของมนุษย์ให้ถูกต้องเหมาะไม่ดีงาม

การปฏิรูปมนุษย์มีความหมายที่สรุปลงตัวได้ ๒ นัย คือ

            ๑ การปฏิรูปมนุษย์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงมิจฉาทิฐิของผู้ใหญ่หรือเยาวชนที่เจริญเติบโตแล้วให้เป็นสัมมาทิฐิ
            ๒ การปฏิรูปมนุษย์ หมายถึง การปลูกังสัมมาทิฐิลงไปในจิตใจเด็ก ๆ นับตั้งแต่ยังเป็นทารก
เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวรแล้ว มิจฉาทิฐิก็จะไม่สามารถแทรกแซงได้ เขาจึงตั้งอยู่ในความดีได้ตลอดไป

            สัมมาทิฐิหมายถึงอะไร

ความหมายที่ สมบูรณ์ของสัมมาทิฐิในระดับโลกิยะ คือ ความเข้าใจถูกเกี่ยวกับโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ที่สำคัญมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
            ๑ การทำทานมีผลดี ควรทำ
            ๒ การสงเคราะห์ทั้งสาธารณสงเคราะห์ และบุคคลสงเคราะห์ เป็นสิ่งที่ดี ควรทำ
            ๓ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นสิ่งดี ควรทำ
            ๔ ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่ว เป็นสิ่งที่บุคคลทำแล้วมีจริง เป็นจริง นั่นคือ กฎแห่งกรรมเป็นจริง ต้องเชื่อ
            ๕ โลกนี้มีคุณ คือ เป็น ถานที่แห่งเดียวเท่านั้นในภพ ๓ ที่เปดโอกาสให้ทุกชีวิตได้ ร้างบุญบารมีตลอดจนทำพระนิพพานให้แจ้ง
            ๖ โลกหน้ามี หมายความว่าสรรพสัตว์ทั้งปวง ถ้ายังไม่สามารถทำอาสวกิเล ให้หมดสิ้นไปจากใจ ก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิด ทนทุกข์ทรมานอยู่ในสังสารวัฏเรื่อยไปโดยไม่มีจุดจบ
            ๗ มารดามีคุณต่อบุตรทุกคนสุดที่จะพรรณนาที่สำคัญก็คือการเป็นต้นบุญต้นแบบร่างกายมนุษย์ให้แก่บุตร ถ้าบุตรได้รูปแบบกายที่ไม่ใช่มนุษย์ย่อมหมดโอกาสั่งสมบุญบารมี
            ๘ บิดามีคุณเช่นเดียวกับมารดา คือการเป็นต้นแบบร่างกายมนุษย์ ถ้าไม่มีบิดาแล้วไซร้ การถือกำเนิดของบุตรย่อมมีขึ้นไม่ได้
            ๙ สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้น หรือโอปปาติกะมีจริงทั้งนี้ย่อมมีนัยว่า นรกสวรรค์มีจริง ทุกคนอย่าได้ตั้งอยู่ในความประมาท แล้วทำกรรมชั่วเป็นอันขาด
            ๑๐ มณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบชนิดที่ทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม มีจริงสัมมาทิฐิข้อนี้ย่อมให้นัยว่า
            ๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง
            ๒) พระอรหันต์สาวกผู้รู้แจ้งโลกนี้ โลกหน้ามีจริง
            ๓)พระสงฆ์ผู้ประพติปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย จนสามารถทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าแล้ววอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งตามยังมีอยู่ในปัจจุบัน
            บุคคลที่มีความเห็นถูกตามสัมมาทิฐิ ๑๐ประการนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีความ "เข้าใจ"สัมมาทิฐิ

๑๐ ประการเท่านั้น แต่ถ้ายังไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริงและยังไม่ได้ศึกษาธรรมะหมวดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัมมาทิฐิ ๑๐ ประการ แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยถึงขั้นที่เรียกได้ว่ามีสัมมาทิฐิ"เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวร" ก็ยังไม่ชื่อว่า "สัมมาทิฐิ
บุคคล" ต่อเมื่อได้ปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยในชีวิตประจำวันเท่านั้น ซึ่งจะสังเกตได้จากการ

 

 

           ทำทานเป็นกิจวัตร การรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์และการขวนขวายพากเพียรทำสมาธิภาวนาอยู่เป็นนิจ โดย รูปก็คือเป็นผู้ที่ตั้งใจสั่ง มบุญกุศลอยู่เสมอโดยไม่ทำบาปอกุศลใด ๆ เลย จึงจะชื่อว่า "สัมมาทิฐิบุคคล"
             ทั้งนี้เพราะสัมมาทิฐิในระดับเพียง "เข้าใจ"แต่ยัง "ไม่เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง" นั้น ย่อมแปรเปลี่ยนไปเป็น "มิจฉาทิฐิ" ได้โดยง่าย

             มิจฉาทิฐิ หมายถึงอะไร

           มิจฉาทิฐิ คือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เป็นความเข้าใจผิด ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจถูกคือสัมมาทิฐิ ๑๐ประการ มิจฉาทิฐิก็มีอยู่ ๑๐ ประการเหมือนกันซึ่งตรงกันข้ามกับสัมมาทิฐิ

         บุคคลที่มีความเห็นผิดแม้ไม่ครบ ๑๐ ประการย่อมชื่อว่าเป็น "มิจฉาทิฐิบุคคล" เพราะเขาพร้อมที่จะทำกรรมชั่วหรือบาปอยู่เสมอ โดยไม่มีความคิดที่จะสั่งสมบุญกุศลเลย

             ทำไมจึงต้องมีการปฏิรูปมนุษย์

             สาเหตุที่ต้องมีการปฏิรูปมนุษย์ หรือสาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนมิจฉาทิฐิในใจของผู้คนให้เป็นสัมมาทิฐินั้น มีเหตุผลสำคัญอย่างน้อย ๔ ประการคือ
             ๑ ผู้คนโดยทั่วไปในสังคมปัจจุบันมีภูมิคุ้มกันจิตใจบกพร่อง หรือขาดสัมมาทิฐิ
             ๒ สัมมาทิฐิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปลูกังอบรมอย่างจริงจัง
             ๓ มิจฉาทิฐิทำให้ผู้คนตกอยู่ในความมืดบอด
             ๔ สัมมาทิฐิทำให้ผู้คนอยู่ในความสว่าง

             ธรรมะอะไรที่เป็นพื้นฐานก่อให้เกิดคุณสมบัติของคนดี

             ธรรมะที่เป็นพื้นฐานรากเหง้าซึ่งก่อให้เกิดคุณสมบัติคนดีที่โลกต้องการ คือสัมมาทิฐิ ทั้งนี้เพราะสัมมาทิฐิ คือความเห็นถูกต้องเกี่ยวกับโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลมีความเห็นถูกย่อมจะคิดถูก พูดถูก ทำถูก เลือกประกอบอาชีพถูกและทำทุกสิ่งทุกอย่างถูกต้องเป็นขบวนการตามมาเนื่องจากสัมมาทิฐิกำกับอยู่หัวขบวนโดยตลอด ดังนั้น สัมมาทิฐิจึงเป็นแหล่งกำเนิดคุณสมบัติของคนดีมากมายหลายประการ

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล