ฉบับที่ 57 กรกฏาคม ปี 2550

ความแตกต่างระหว่างอกุศลกรรมบถ และ กุศลกรรมบถ (๒)

พระธรรมเทศนา

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)

 

 

การพูดเท็จ
       การพูดเท็จ หมายถึง การที่บุคคลใดเจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความจริง เมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อเห็นกล่าวว่า
ไม่เห็น นอกจากนี้การพูดเท็จยังรวมไปถึงการทำเท็จให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วย วิธีการดังนี้ คือ
๑. ปด คือ โกหกจัง ๆ
๒. ทนสาบาน คือ การที่ทำผิดแล้วไม่ยอม รับผิด
๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์ คือ การอวดอ้างสรรพคุณเกินความจริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
๔. มารยา คือ การแสร้งทำ โดยใช้เล่ห์กลเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อ
๕. ทำเลส คือ การทำให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง
๖. เสริมความ คือ การกล่าวเรื่องที่มีมูลน้อยให้เป็นเรื่องใหญ่
๗. อำความ คือ การปกปิดเรื่องมากให้เป็นเรื่องเล็กน้อย

การพูดเท็จนี้ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. พูดเท็จด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ
๓. พอใจในการพูดเท็จ
๔. กล่าวสรรเสริญการพูดเท็จ

การพูดส่อเสียด

         การพูดส่อเสียด หมายถึง การที่บุคคลใดนำ ความข้างนี้ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือหมู่โน้น หรือยุยงคนให้แตก
ความสามัคคีหรือส่งเสริมหมู่ชนที่แตกกันแล้วให้ชื่นชอบยินดี ให้เพลิดเพลินในความแตกแยกกันและรวมถึงการกล่าวแต่คำที่
ทำให้แตกแยกกันการพูดส่อเสียดนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. การพูดส่อเสียดด้วยตนเอง
๒. ชักชวนให้ผู้อื่นพูดส่อเสียด
๓. พอใจในการพูดส่อเสียด
๔. กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด

การพูดคำหยาบ

        การพูดคำหยาบ หมายถึง การที่บุคคลใด กล่าววาจาที่หยาบคาย กล้าแข็ง ทำให้ผู้อื่นระคายใจ ข้องใจ เดือดร้อนใจ
ทำให้ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ การพูดคำหยาบมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ

๑. คำด่า คือ คำที่ไม่สุภาพ ที่พูดกดให้ ต่ำลง
๒. ประชด คือ คำที่พูดยกจนลอย
๓. กระทบ คือ คำพูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจ
๔. แดกดัน คือ คำพูดกระแทกกระทั้น
๕. สบถ คือ คำพูดแช่งชักหักกระดูก
๖. คำหยาบโลน คือ คำพูดที่สังคมรังเกียจ
๗. คำอาฆาต คือ คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังหวาดกลัวจะถูกทำร้าย

        การพูดคำหยาบนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. พูดคำหยาบด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๓. พอใจในการพูดคำหยาบ
๔. กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ

 

อกุศลกรรมบถทางวจีกรรม
เช่น การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ

 

 

อกุศลกรรมบถทางมโนกรรม
เช่น การมีความเห็นผิด

 

 

การพูดเพ้อเจ้อ
       การพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง การที่บุคคลใดพูดเหลวไหล พล่อยๆ พูดไม่ถูกกาล พูดไม่จริง พูดไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย พูดไม่มีหลักฐาน อ้างอิง พูดเรื่อยเปื่อยไม่ยอมหยุด ไม่เป็นประโยชน์ในเวลาอันไม่ควร

       การพูดเพ้อเจ้อนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๓. พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ
๔. กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ

การอยากได้ของผู้อื่น

        การอยากได้ของผู้อื่น หมายถึง การที่บุคคลใดเพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นในทางมิชอบ
การอยากได้ของผู้อื่นนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. อยากได้ของของผู้อื่นด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของของผู้อื่น
๓. พอใจในการอยากได้ของของผู้อื่น
๔. กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของของผู้อื่น

การมีจิตคิดปองร้าย

      การมีจิตคิดปองร้าย หมายถึง การที่บุคคลใด มีความชั่วร้ายในใจ คิดให้ผู้อื่นถูกฆ่า ถูกทำลาย ขาดสูญ พินาศ หรืออย่า
มีชีวิตอยู่เลย

การมีจิตคิดปองร้ายนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. มีจิตคิดปองร้ายด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้คิดปองร้าย
๓. พอใจในการคิดปองร้าย
๔. กล่าวสรรเสริญผู้มีจิตคิดปองร้าย

การมีความเห็นผิด

       เป็นผู้มีความเห็นผิด หมายถึง การที่บุคคลใด มีความเห็นวิปริตว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล การ เซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผลผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ นรกสวรรค์ไม่มี พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าผู้ตรัสรู้ได้เองโดยชอบไม่มี

การเป็นผู้มีความเห็นผิดนี้ ครอบคลุมถึงการ กระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้มีความเห็นผิดตาม
๓. พอใจในการเป็นผู้มีความเห็นผิด
๔. กล่าวสรรเสริญผู้มีความเห็นผิด

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล