นิทานอีสป พร้อมคติสอนใจ

เสือกับสิงโต

นิทานอีสป เรื่อง เสือกับสิงโต
ผู้แต่ง : อีสป
 

นิทานอีสป เรื่อง เสือกับสิงโต , เสือกับสิงโต , นิทานอีสป , อีสป , นิทานสอนใจ , นิทานอีสปสอนใจ , นิทาน , aesop fables , aesop , พุทธภาษิต , นิทานสั้น , นิทานสั้นพร้อมข้อคิด , นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า , พุทธพจน์ , นิทานพื้นบ้าน , นิทานเด็ก , นิทานสอนเด็ก , นิทานการ์ตูน , การ์ตูน , การ์ตูนธรรมะ , การ์ตูนสี่สี , นิทานสี่สี , สัตว์น่ารัก , นิทานสัตว์ , การ์ตูนสัตว์ , การ์ตูนไทย , ธรรมะ , ธรรมะออนไลน์ , พุทธประวัติ , การ์ตูนเด็กดี , ศาสนาพุทธ , พระพุทธศาสนา , สื่อธรรมะ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สื่อสีขาว , Tale , cartoon , กัลยาณมิตร , นิทานธรรมะออนไลน์ , การ์ตูนเด็ก , ภาพการ์ตูนสวย , การ์ตูนคุณธรรม , รักการอ่าน , บันทึกรักการอ่าน , อีสป , นิทานอีสป รวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ ข้อคิดสอนใจ , fairy tale , อีสป , อีสบ


        ในฤดูแล้งของป่าแห่งหนึ่งสัตว์ทั้งหลายต่างเดินทางแสวงหาแหล่งน้ำดื่มซึ่งหายากเข้าไปทุกที

        ที่ชายป่าแห่งนั้นมีน้ำพุเล็ก ๆ อยู่บ่อหนึ่งซึ่งมีสิงโตและเสือยืนประจันหน้ากำลังแย่งชิงกันอยู่

        สิงโตคำรามใส่เสือว่า “ข้าพบน้ำพุน้อยนี้ก่อน ข้าต้องได้กินน้ำนี้ก่อน”

        แต่เสือก็ร้องว่า “ข้าต่างหากที่มาพบก่อนเจ้า”

        เมื่อตกลงกันไม่ได้ สิงโตกับเสือก็กระโจนเข้าต่อสู้กันพัลวัน ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนอ้าว ทั้งสองต่อสู้กันจนหมดแรงนอนกลิ้งเกลือกอยู่ด้วยกันในขณะเดียวกันมีฝูงอีแร้งบินวนเวียนไปมาอยู่บนฟ้าเหนือน้ำพุน้อย

        สัตว์ทั้งสองเห็นดังนั้นจึงคิดได้ว่า ควรจะแบ่งกันกินดีกว่าสู้กันจนตายกลายเป็นอาหารให้อีแร้งเหล่านั้น

 

:: นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ::
สองฝ่ายตีกัน ฝ่ายที่สามย่อมได้ผลประโยชน์

 

:: พุทธภาษิต ::
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ
ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล